คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
วุฒา ภิรมย์ภักดี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
วุฒา ภิรมย์ภักดี เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลภิรมย์ภักดี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
วุฒาเป็นบุตรคนที่สองของนาย วิทย์ ภิรมย์ภักดี กับ คุณหญิงสำเนียง ภิรมย์ภักดี (ปัทมจินดา) โดยนายวิทย์เป็นบุตรชายของพระประเวศวนขันธ์ (ปลื้ม เศรษฐบุตร) กับ เพ็ญ เศรษฐบุตร แต่เนื่องจากพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ผู้เป็นพี่ชาย กับคุณหญิงละม้าย เศรษฐบุตร ไม่สามารถมีบุตรได้ จึงได้ขอลูกแฝดของพระประเวศวนขันธ์ มา 1 คน ตั้งแต่อายุ 2 เดือน มาเป็นบุตรของพระยาภิรมย์ภักดี กับคุณหญิงละม้ายโดยถูกต้องตามกฎหมาย และตั้งชื่อว่า วิทย์ เศรษฐบุตร ต่อมามีน้องชายชื่อ ประจวบ เศรษฐบุตร กับ จำนงค์ เศรษฐบุตร (หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีการยกเลิกใช้บรรดาศักดิ์ พระยาภิรมย์ภักดี จึงขอใช้บรรดาศักดิ์ของท่านเองเป็นนามสกุล ภิรมย์ภักดี)
ส่วนทางด้านมารดาของวุฒา คือ คุณหญิงสำเนียง ภิรมย์ภักดี (ปัทมจินดา) เป็นบุตรสาวคนโตของศาสตราจารย์ หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) และ บุษย์ ปัทมจินดา
วุฒา ภิรมย์ภักดี มีพี่น้องดังนี้
- ท่านผู้หญิง สุวรี เทพาคำ (ภิรมย์ภักดี) สมรส กับ พลเอกนายแพทย์ อัศวิน เทพาคำ
- วุฒา ภิรมย์ภักดี สมรส กับ คุณหญิงอรนุช ภิรมย์ภักดี (ศุกระจันทร์) (ถึงแก่กรรม)
- วาปี ภิรมย์ภักดี สมรส กับ ท่านผู้หญิงเหมือนจิต ภิรมย์ภักดี (ประวิตร)
วุฒา นับเป็นหลานชายคนแรกในทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลภิรมย์ภักดี ผู้ผลิตเบียร์ไทยรายแรกของประเทศไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และได้ไปศึกษาต่อที่ Skerry's College ที่เมือง เอดินเบอระห์ สหราชอาณาจักร และจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมอุตสาหกรรม จาก Ingenieurschule Bohne Hoheren Technische Lehranstalt (หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Munich University of Applied Sciences) เมืองมิวนิค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
Remove ads
การทำงาน
วุฒานับเป็นทายาทรุ่นที่ 3 คนแรกที่เข้ามาสานต่อกิจการของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัดในปี 2505 ดูแลทางด้านเครื่องจักรและโรงงานซึ่งเป็นหัวใจหลักของการผลิต ตั้งแต่ยุคที่เป็นเครื่องติดฉลากกึ่งอัตโนมัติ การขยายกำลังการผลิต พัฒนาด้านเทคโนโลยี จนเป็นโรงงานที่ทันสมัยถึง 9 โรงงานในปัจจุบัน วุฒาพาโรงงานผลิตของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผ่านพ้นวิกฤติสำคัญต่าง ๆ ในช่วงวิกฤติฟองสบู่ น้ำท่วมใหญ่ หรือการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทตลอดระยะเวลาเกือบ 60 ปี จนขยายเติบโตเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ
Remove ads
ครอบครัว
วุฒา สมรสกับ คุณหญิงอรนุช ภิรมย์ภักดี (ถึงแก่กรรม)(เป็นบุตรสาวคนโตของ พลอากาศตรีน้อย กับ อรุณี ศุกระจันทร์) มีบุตรธิดา ดังนี้[1]
- วุฒินันต์ ภิรมย์ภักดี
- ณัฐวรรณ ทีปสุวรรณ (ภิรมย์ภักดี)
- ธนะวุฒิ ภิรมย์ภักดี
- วรวุฒิ ภิรมย์ภักดี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2549 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2542 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)
- พ.ศ. 2528 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads