วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2536 เป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประธานาธิบดีรัสเซียและรัฐสภารัสเซียซึ่งระงับด้วยการใช้กำลังทหาร ความสัมพันธ์ระหว่างประธานาธิบดีและรัฐสภาเสื่อมลงเป็นเวลาหนึ่งแล้ว วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญดังกล่าวถึงจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 เมื่อประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินมุ่งยุบสภานิติบัญญัติของประเทศรัสเซีย (คือ สภาประชาชนและสภาโซเวียตสูงสุด) แม้ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ เยลต์ซินใช้ผลการลงประชามติเมื่อเดือนเมษายน 2536 เพื่อหนุนความชอบธรรมของตน รัฐสภาสนองโดยประกาศให้คำวินิจฉัยของประธานาธิบดีไม่มีผลและเป็นโมฆะ ฟ้องให้ขับเยลต์ซินจากตำแหน่ง และประกาศให้รองประธานาธิบดีอะเล็กซันดร์ รุตสคอยรักษาราชการในตำแหน่งประธานาธิบดี
วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สภาพความเสียหายของอาคารทำเนียบขาว หลังจากถูกรถถังระดมยิง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ประธานาธิบดีรัสเซีย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม |
สภาโซเวียตสูงสุดรัสเซีย สภาประชาชนแห่งรัสเซีย รองประธานาธิบดีรัสเซีย ผู้สนับสนุนสภาโซเวียตสูงสุดและอะเล็กซันดร์ รุตสคอย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
|
สถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อย่างเข้าเดือนตุลาคม วันที่ 3 ตุลาคม ผู้เดินขบวนนำแถวตำรวจรอบรัฐสภาออก และยึดสำนักงานนายกเทศมนตรีและพยายามล้อมศูนย์โทรทัศน์ออสตันคีโนด้วยการกระตุ้นจากแกนนำ กองทัพ ซึ่งทีแรกประกาศตนเป็นกลาง ปฏิบัติตามคำสั่งของเยลต์ซินล้อมอาคารสภาโซเวียตสูงสุดในเช้าวันที่ 4 ตุลาคมและจับกุมผู้นำการต่อต้าน
ความขัดแย้งนานสิบวันนี้กลายเป็นเหตุการณ์การต่อสู้บนท้องถนนเดี่ยวครั้งนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์กรุงมอสโกนับแต่การปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 ตามการประเมินของรัฐบาล มีผู้เสียชีวิต 187 คน และได้รับบาดเจ็บ 437 คน ส่วนการประเมินจากแหล่งนอกภาครัฐกำหนดยอดผู้เสียชีวิตไว้สูงถึง 2,000 คน
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.