Loading AI tools
อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บอริส นีโคลาเยวิช เยลต์ซิน (รัสเซีย: Бори́с Никола́евич Е́льцин, อักษรโรมัน: Boris Nikolayevich Yeltsin, อังกฤษ: Boris Yeltsin, 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 23 เมษายน พ.ศ. 2550) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2534 ถึง 2542
บอริส เยลต์ซิน | |
---|---|
Борис Ельцин | |
เยลต์ซินในช่วงปี ค.ศ. 1991-1994 | |
ประธานาธิบดีรัสเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 (8 ปี 174 วัน) | |
รองประธานาธิบดี | อะเล็กซันดร์ รุตสคอย |
ก่อนหน้า | มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต) |
ถัดไป | วลาดิมีร์ ปูติน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1931 สเวียร์ดลอฟส์ก, สหภาพโซเวียต |
เสียชีวิต | 23 เมษายน ค.ศ. 2007 ปี) มอสโก, รัสเซีย | (76
ศาสนา | ออร์โธดอกซ์รัสเซีย |
คู่สมรส | ไนนา เยลต์ซิน |
ลายมือชื่อ | |
เดิมเป็นผู้สนับสนุนมิคาอิล กอร์บาชอฟ เยลต์ซินเกิดขึ้นภายใต้การปฏิรูปเปเรสตรอยกาเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการเมืองที่ทรงพลังที่สุดของกอร์บาชอฟ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เขาได้รับเลือกเป็นประธานสภาโซเวียตสูงสุดรัสเซีย วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2534 เขาได้รับเลือกด้วยเสียงประชาชนเป็นประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียซึ่งเป็นตำแหน่งที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ ขณะนั้นเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญของสหภาพโซเวียต เขาได้รับคะแนนเสียง 57% ชนะผู้เข้าชิงตำแหน่งอีกห้าคน และเป็นผู้นำที่ได้รับเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตยคนที่สองของรัสเซียในประวัติศาสตร์ หลังมิคาอิล กอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่งและสหภาพโซเวียตยุบลงครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เยลต์ซินยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐสืบทอดของสหภาพโซเวียต เยลต์ซินได้รับเลือกใหม่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ในการเลือกตั้งรอบสอง เยลต์ซินชนะเกนนาดิ ซูกานอฟจากพรรคคอมมิวนิสต์ที่ฟื้นฟูใหม่โดยมีคะแนนห่างกันอยู่ 13% อย่างไรก็ดี เยลต์ซินสูญเสียความนิยมในระยะแรกไปหลังเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจและการเมืองต่อเนื่องในรัสเซียช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990
เขาสัญญาจะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบสั่งการของรัสเซียเป็นเศรษฐกิจตลาดเสรี และนำการเยียวยาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลัน การเปิดเสรีราคาและโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปปฏิบัติ เนื่องจากวิธีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ความมั่งคั่งของชาติปริมาณมากจึงตกอยู่ในมือของผู้มีอำนาจกลุ่มเล็ก[1] สมัยเยลต์ซินส่วนใหญ่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง เงินเฟ้อ การล่มสลายทางเศรษฐกิจและปัญหาเศรษฐกิจและสังคมขนานใหญ่อย่างกว้างขวางซึ่งกระทบต่อรัสเซียและอดีตรัฐสหภาพโซเวียต ภายในไม่กี่ปีแรกหลังเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้สนับสนุนเยลต์ซินจำนวนมากได้เปลี่ยนมาต่อต้านเขา และรองประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ รุสต์คอย ประณามการปฏิรูปว่าเป็น "พันธุฆาตทางเศรษฐกิจ"[2]
การเผชิญหน้าที่ดำเนินไปกับสภาโซเวียตสูงสุดลงเอยด้วยวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย ตุลาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งเยลต์ซินสั่งยุบรัฐสภาอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งขณะนั้นพยายามถอดเยลต์ซินออกจากตำแหน่ง ฝ่ายทหารท้ายที่สุดเข้าฝ่ายกับเยลต์ซินและปิดล้อมและยิงปืนใหญ่ถล่มทำเนียบขาวรัสเซีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 187 คน จากนั้น เยลต์ซินฉีกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิม ห้ามการต่อต้านทางการเมืองชั่วคราว และยิ่งดำเนินการทดลองทางเศรษฐกิจลึกลงไปอีก แล้วเขาก็ริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประธานาธิบดีมีอำนาจเพิ่มขึ้น และได้รับความเห็นชอบในการลงประชามติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ด้วยเสียงเห็นชอบ 58.5%
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เยลต์ซินประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างน่าประหลาดใจ ทิ้งตำแหน่งประธานาธิบดีไว้ในมือของผู้สืบทอดที่เขาวางตัว คือ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น วลาดีมีร์ ปูติน เยลต์ซินออกจากตำแหน่งโดยได้รับความนิยมน้อยมากในหมู่ประชากรรัสเซีย[3] บ้างประเมินว่า อัตราการเห็นชอบกับเขาเมื่อออกจากตำแหน่งนั้นต่ำเพียง 2%[4]
บอริสต์ เยลต์ซิน ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2550 เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว ในวัย 76 ปี[5]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.