วอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แช (ตุรกี: Fenerbahçe Kadın Voleybol Takımı; อังกฤษ: Fenerbahçe Women's Volleyball) เป็นสโมสรวอลเลย์บอลหญิงของเฟแนร์บาห์แชสปอร์คูลือบือ ซึ่งเป็นสโมสรกีฬาที่สำคัญในอิสตันบูล ประเทศตุรกี สนามเหย้าของทีมคือหอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค เฟแนร์บาห์แชชนะการแข่งขันวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์โลก 2010 รวมถึงชนะการแข่งขันซีอีวีแชมเปียส์ลีกใน ค.ศ. 2012
ชื่อเต็ม | เฟแนร์บาห์แชสปอร์คูลือบือ (Fenerbahçe Spor Kulübü) | ||
---|---|---|---|
ชื่อสั้น | FB | ||
ฉายา | Sarı Melekler (นางฟ้าสีเหลือง) Fener | ||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1928 (ปิดลงเนื่องจากไม่มีคู่แข่งขัน) ค.ศ. 1954 | ||
สนาม | หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค (ความจุ: 7,000) | ||
ประธาน | อาลี ค็อก | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มาร์โก เฟโนกลิโอ | ||
หัวหน้าทีม | เอดา แอร์แดม | ||
ลีก | ซุลตันลาร์ลีกี ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก | ||
2023–24 | ชนะเลิศ | ||
เว็บไซต์ | โฮมเพจสโมสร | ||
เครื่องแบบ | |||
| |||
แชมเปียนชิป | |||
1 ชิงแชมป์สโมสรโลก 1 ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก 1 ซีอีวีคัพ 7 ซุลตันลาร์ลีกี 4 เตอร์กิชคัพ 5 เตอร์กิชซูเปอร์คัพ |
สังกัดเฟแนร์บาห์แชที่ดำเนินงาน | ||
---|---|---|
ฟุตบอล | บาสเกตบอลชาย | บาสเกตบอลหญิง |
วอลเลย์บอลชาย | วอลเลย์บอลหญิง | กรีฑา |
มวยสากล | เทเบิลเทนนิส | ว่ายน้ำ |
เรือพาย | เรือใบ | สโมสร |
ชื่อทีมในอดีต
ฤดูกาล | ชื่อ |
---|---|
ค.ศ. 1928, 1954–2007 | เฟแนร์บาห์แช |
ค.ศ. 2007–2011 | เฟแนร์บาห์แช อากีบาเดม |
ค.ศ. 2011–2012 | เฟแนร์บาห์แช ยูนิเวอร์แซล |
ค.ศ. 2012–2014 | เฟแนร์บาห์แช |
ค.ศ. 2014–2016 | เฟแนร์บาห์แช กรุนดิก |
ค.ศ. 2016–2018 | เฟแนร์บาห์แช |
ค.ศ. 2018–2024 | เฟเนร์บาห์แช โอเปต |
ค.ศ. 2024– | เฟแนร์บาห์แช เมดีคานา |
ประวัติ
สโมสรวอลเลย์บอลหญิงของเฟแนร์บาห์แชได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1928 โดยซาบีฮา รูฟัท งือไรย์มาน ผู้ซึ่งเป็นหญิงสาวที่เล่นให้แก่ทีมวอลเลย์บอลชายของสโมสร และเป็นผู้ก่อตั้งหญิงคนแรกในประเทศตุรกี อย่างไรก็ตาม สาขานี้ได้ปิดลงเนื่องจากไม่มีคู่แข่งขันใน ค.ศ. 1954 และยุคใหม่ได้เริ่มขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากโรงเรียนมัธยมยุวชนหญิงชามลีจา โดยเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1958 และเหล่าหญิงสาวชนะการแข่งขันของตุรกีถึงแปดรายการ ใน ค.ศ. 1977 สาขานี้ก็ได้ปิดลงอีกครั้งจนถึง ค.ศ. 1989 เนื่องด้วยอยู่ในช่วงขาดแคลนเงินทุน ใน ค.ศ. 1993 ทีมได้รับการเลื่อนตำแหน่งจากลีกสูงสุดของอิสตันบูล สู่ลีกรองของตุรกี และในปีต่อมา ทีมนี้ก็ได้เข้าแข่งขันในลีกสูงสุดของตุรกี อย่างไรก็ตาม ทีมนี้ได้รับการผลักไสสู่ลีกสองของตุรกีในฤดูกาล 1995-96 [ต้องการอ้างอิง]
เฟแนร์บาห์แชกลับคืนสู่ลีกสูงสุดของตุรกีในฤดูกาล 2002-03 และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศในฤดูกาล 2006-07 ทีมชุดใหญ่ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเฟแนร์บาห์แชอากีบาเดม เนื่องจากสัญญาการให้การสนับสนุนจากอากีบาเดมเฮลธ์แคร์กรุ๊ปตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ถึง 2011 [ต้องการอ้างอิง] ทีมนางฟ้าสีเหลืองนี้ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศต่อจากทีมเอสซาชีบาแชสปอร์คูลือบือในฤดูกาล 2007-08 ด้วย ทีมนี้ยังชนะการแข่งรายการที่เก้าของตุรกีในประวัติศาสตร์ของทีมในฤดูกาล 2008-09 หลังจากชนะคู่แข่งอย่างเอสซาชีบาแชสปอร์คูลือบือ (ด้วยผลการแข่ง 3-2, 0-3, 3-1, 3-1) ซึ่งเป็นรายการแรกที่ชนะของลีกรูปแบบปัจจุบันที่เริ่มขึ้นในฤดูกาล 1984-85 [ต้องการอ้างอิง]
ทีมวอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แชได้แสดงฝีมือในฤดูกาล 2009-10 ในฐานะทีมนางฟ้าสีเหลืองซึ่งจบรอบแรกของตุรกีลีกโดยไม่เป็นฝ่ายแพ้ใน 22 แมตช์ (สถิติอัตราส่วนที่ 66:2) และเข้าสู่รอบสี่ทีมสุดท้ายโดยไม่เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมใดในรอบแบ่งสายของการแข่งซีอีวีวีเมนส์แชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2009–10 หลังจากนั้นก็เป็นฝ่ายชนะทีมแอร์เซกานของถิ่นเจ้าภาพในการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นทั้งห้าเซต แต่แล้วก็มาเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมวอลเลย์แบร์กาโมของการแข่งขันห้าเซตในรอบชิงชนะเลิศ แม้ว่าทีมของพวกเธอจะเป็นฝ่ายชนะขึ้นมาในสองเซตก็ตาม ด้วยผลการแข่ง 22-25, 21-25, 25-22, 25-20, 9-15 สมาชิกทีมซึ่งได้แก่ อีคาเตรีนา กาโมวา ได้รับรางวัลทำคะแนนยอดเยี่ยม และนาตาชา ออสโมโครวิช ได้รับรางวัลเสิร์ฟยอดเยี่ยมจากการแข่งขันครั้งดังกล่าว[ต้องการอ้างอิง]
ดาราหลักของทีมวอลเลย์บอลหญิงเฟแนร์บาห์แช ได้ขึ้นมาอยู่ตำแหน่งบนสุดของโลกเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ หัลงจากเป็นฝ่ายชนะทีมตัวเต็งจากอเมริกาใต้อย่างโซลีส์โอซาสกูที่ 3-0 เซต (ด้วยผลการแข่ง 25-23, 25-22, 25-17) และกลายมาเป็นทีมแรกในรอบ 16 ปีที่ชนะการแข่งวอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์โลก 2010 [1] โดยสมาชิกทีมซึ่งได้แก่ คาตาซีนา สโควรอนสกา ได้รับรางวัลเอ็มวีพีและรางวัลทำคะแนนยอดเยี่ยม รวมถึงเอดา แอร์แดม ที่ได้รับรางวัลเสิร์ฟยอดเยี่ยม
ใน ค.ศ. 2011 เฟแนร์บาห์แชสปอร์คูลือบือได้จัดการแข่งแชมเปียนส์ลีกไฟนอลโฟร์ที่หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค ณ อิสตันบูล อย่างไรก็ตาม ในรอบรองชนะเลิศ ทีมนางฟ้าสีเหลืองได้เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมวาคีฟบังค์บูเนสซีโกรทาทูร์กเทเลคอมของตุรกีในห้าเซตที่สะท้านหัวใจ (ด้วยผลการแข่ง 25-19, 21-25, 25-21, 19-25, 11-15) และสูญเสียโอกาสการเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์วอลเลย์บอลของตุรกีในการชนะรายการแชมเปียนส์ลีก ทีมนางฟ้าสีเหลืองได้อันดับสามหลังจากเป็นฝ่ายชนะทีมสกาโวลีนีเปซาโรในสี่เซต (ด้วยผลการแข่ง 14-25, 25-21, 25-21, 25-21) ซึ่งมาจากฝีมือของดาวเด่นจากท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ เซดา โทคัตลิโอลู, แนซ อายเดเมียร์ และเอดา แอร์แดม
ใน ค.ศ. 2012 สโมสรนี้ได้ชนะการแข่งรายการซีอีวีวอลเลย์บอลแชมเปียนส์ลีกซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบากูในวันที่ 24–25 มีนาคม ค.ศ. 2012 โดยเป็นฝ่ายชนะทีมแอร์เซกานจากประเทศฝรั่งเศสในรอบชิงชนะเลิศในสามเซตรวด (ด้วยผลการแข่ง 25-14, 25-22 และ 25-20) ซึ่งคิม ยอน-คยอง ได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่ารวมถึงรางวัลทำคะแนนยอดเยี่ยม และแนซ อายเดเมียร์ ได้รับรางวัลมือเซตยอดเยี่ยม[2]
สมาชิกทีมปัจจุบัน
ฤดูกาล 2024–2025[3]
ทีม 2024–2025 | |||||
---|---|---|---|---|---|
No. | รายชื่อผู้เล่น | ตำแหน่ง | ส่วนสูง (ม.) | น้ำหนัก (กก.) | วันเกิด |
1 | จีเซม ออร์เก | ตัวรับอิสระ | 1.70 | 59 | 26 เมษายน ค.ศ. 1993 |
3 | มักดาเลนา สตีเซียก | ตัวตีตรงข้าม | 2.03 | 85 | 3 ธันวาคม ค.ศ. 2000 |
5 | ออซเล็ม กูเวน | ตัวรับอิสระ | 1.65 | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | |
8 | อัสลึ กาลัซ | ตัวบล็อกกลาง | 1.85 | 73 | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1995 |
9 | เมลีฮา ดีเกน | ตัวตีด้านนอก | 1.87 | 73 | 17 กันยายน ค.ศ. 1993 |
10 | อารีนา เฟโดรอฟเซวา | ตัวตีด้านนอก | 1.90 | 69 | 19 มกราคม ค.ศ. 2004 |
11 | ฮริสตีนา วุชโกวา | ตัวบล็อกกลาง | 1.90 | 77 | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 |
12 | อานา คริสตีนา เดอ โซซา | ตัวตีด้านนอก | 1.93 | 79 | 7 เมษายน ค.ศ. 2004 |
14 | เอดา แอร์แดม ดึนดาร์ (C) | ตัวบล็อกกลาง | 1.88 | 74 | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1987 |
15 | อาเรเลีย คาราซอย | ตัวเซต | 1.81 | 73 | 14 ธันวาคม ค.ศ. 1996 |
16 | เอลิตซา วาซิเลวา-อตานาซีเยวิช | ตัวตีด้านนอก | 1.90 | 73 | 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 |
17 | โบยานา เดอชา | ตัวเซต | 1.85 | 72 | 29 มีนาคม ค.ศ. 1988 |
18 | ดิจเล นูร์ บาร์บัต | ตัวบล็อกกลาง | 1.91 | 81 | 15 กันยายน ค.ศ. 1992 |
41 | ลีซา ซาโฟรโนวา | ตัวตีด้านนอก | 1.90 | 69 | 17 มกราคม ค.ศ. 2006 |
44 | เมลิสซา วาร์กัส | ตัวตีตรงข้าม | 1.94 | 76 | 16 ตุลาคม ค.ศ. 1999 |
เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคและการบริหารจัดการ
เกียรติประวัติ
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
วอลเลย์บอลหญิง | ||
วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรโลก | ||
โดฮา 2010 | ทีม | |
โดฮา 2012 | ทีม | |
อังการา 2021 | ทีม | |
ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก | ||
ลีก 2009-10 | ทีม | |
ลีก 2010-11 | ทีม | |
ลีก 2011-12 | ทีม | |
ลีก 2015-16 | ทีม | |
ลีก 2018-19 | ทีม | |
ลีก 2021-22 | ทีม | |
ลีก 2022-23 | ทีม | |
ลีก 2023-24 | ทีม | |
ซีอีวีคัพ | ||
ถ้วย 2008-09 | ทีม | |
ถ้วย 2012-13 | ทีม | |
ถ้วย 2013-14 | ทีม | |
ชิงแชมป์ตุรกี | ||
ชิงแชมป์ 1956 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1957 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1958 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1959 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1960 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1961 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1962 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1968 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1969 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1972 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1973 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1974 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1975 | ทีม | |
ชิงแชมป์ 1977 | ทีม | |
ลีกตุรกี | ||
ลีก 2006-07 | ทีม | |
ลีก 2007-08 | ทีม | |
ลีก 2008-09 | ทีม | |
ลีก 2009-10 | ทีม | |
ลีก 2010-11 | ทีม | |
ลีก 2011-12 | ทีม | |
ลีก 2012-13 | ทีม | |
ลีก 2013-14 | ทีม | |
ลีก 2014-15 | ทีม | |
ลีก 2015-16 | ทีม | |
ลีก 2016-17 | ทีม | |
ลีก 2017-18 | ทีม | |
ลีก 2018-19 | ทีม | |
ลีก 2020-21 | ทีม | |
ลีก 2021-22 | ทีม | |
ลีก 2022-23 | ทีม | |
ลีก 2023-24 | ทีม | |
ตุรกีคัพ | ||
ถ้วย 2008-09 | ทีม | |
ถ้วย 2009-10 | ทีม | |
ถ้วย 2013-14 | ทีม | |
ถ้วย 2014-15 | ทีม | |
ถ้วย 2016-17 | ทีม | |
ถ้วย 2018-19 | ทีม | |
ถ้วย 2021-22 | ทีม | |
ถ้วย 2022-23 | ทีม | |
ถ้วย 2023-24 | ทีม | |
ตุรกีซูเปอร์คัพ | ||
ถ้วย 2009 | ทีม | |
ถ้วย 2010 | ทีม | |
ถ้วย 2011 | ทีม | |
ถ้วย 2014 | ทีม | |
ถ้วย 2015 | ทีม | |
ถ้วย 2017 | ทีม | |
ถ้วย 2022 | ทีม | |
ถ้วย 2023 | ทีม | |
ถ้วย 2024 | ทีม |
ความสำเร็จระดับสากล
- วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรโลก:
- แชมป์ (1 สมัย): ค.ศ. 2010
- อันดับ 3 (2 สมัย): ค.ศ. 2012, 2021
- ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก:
- ซีอีวีคัพ:
ความสำเร็จในระดับประเทศ
เกียรติยศแห่งฤดูกาล 2009-10 [4]
ชิงแชมป์ตุรกี
- เตอร์กิชวิมินส์วอลเลย์บอลลีก:
- วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์ตุรกี:
การแข่งขันอื่น
- เตอร์กิชคัพ:
- เตอร์กิชซูเปอร์คัพ:
- ลีกอิสตันบูล:
กัปตันทีม
รายชื่อกัปตันทีมชุดใหญ่สมัยที่ผ่านมา
ฤดูกาล | ชื่อ |
---|---|
ค.ศ. 2005–2006 | เซดา โทคัตลิโอลู |
ค.ศ. 2006–2008 | อูซแลม อูซเชลิค |
ค.ศ. 2008–2011 | ชีเด็ม จาน ราสนา |
ค.ศ. 2011–2014 | เซดา โทคัตลิโอลู |
ค.ศ. 2014– | เอดา แอร์แดม ดึนดาร์ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน
รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่สมัยที่ผ่านมา
ฤดูกาล | ชื่อ |
---|---|
ค.ศ. 2005–2008 | อาดนัน คิสทาค |
ค.ศ. 2008–2009 | อูเซยี อูซดูรัค |
ค.ศ. 2009–2010 | ยัน เด บรันดท์ |
ค.ศ. 2010–2012 | โชเซ โฮแบร์โต กีมารีส์ |
ค.ศ. 2012–2013 | ชามิล เสิสซ์ |
ค.ศ. 2013–2017 | มาร์เชลโล อับบอนดันซา |
ค.ศ. 2017–2018 | ยัน เด บรันดท์ |
ค.ศ. 2018 | ซาลีห์ เออร์โดกัน ตาวาชี |
ค.ศ. 2018–2023 | โซแรน เตอร์ซิช |
ค.ศ. 2023–2024 | สเตฟาโน ลาวารินี |
ค.ศ. 2024– | มาร์โก เฟโนกลิโอ |
สนามเหย้า
รายการสนามเหย้าทีมชุดใหญ่ที่ได้ลงแข่งในสมัยที่ผ่านมา
# | สนามเหย้า | ฤดูกาล |
---|---|---|
1 | หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค | ค.ศ. 2004–2007 |
2 | หอกีฬายาแฟรา – หอกีฬาฟาลุน อาลากัช1 | ค.ศ. 2007–2008 |
3 | หอกีฬาครบรอบ 50 ปี | ค.ศ. 2008–2010 |
4 | หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค | ค.ศ. 2010–2015 |
5 | อูลเคอร์ สปอร์ต อารีน่า | ค.ศ. 2015–2017 |
6 | หอกีฬาโบร์ฮาน เฟเลค | ค.ศ. 2017– |
1 เฉพาะการแข่งซีอีวีแชมเปียนส์ลีก.
อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง
ผู้เล่นในประเทศ
|
ผู้เล่นชาวยุโรป
|
ผู้เล่นที่ไม่ใช่ชาวยุโรป
|
ผู้ให้การอุปถัมภ์และผลิตชุด
1 สปอนเซอร์หลัก |
|
ดูเพิ่ม
- ดูเพิ่ม ทีมวอลเลย์บอลชายเฟแนร์บาห์แช
- ดูเพิ่ม วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติตุรกี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.