Loading AI tools
เป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง ศิลปินชาวไทยผู้มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรยศ ศุขสายชล เป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง ศิลปินชาวไทยผู้มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายไทย (ซอ) ในแนวทางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีผลงานการประพันธ์และเรียบเรียงเพลงสำหรับบรรเลงเดี่ยวและรวมวง และมีผลงานการค้นคว้าเรียบเรียงทฤษฎีเสียงดนตรีไทย และพัฒนาต่อยอดขิมไทยที่สามารถบรรเลงได้ทั้งอนุรักษ์และร่วมสมัย เคยร่วมแสดงดนตรีไทยทั้งระดับชาติและนานาชาติ มีผลงานการบันทึกเสียงเพลงไทยแนวอนุรักษ์และร่วมสมัยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
วรยศ ศุขสายชล | |
---|---|
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 บ้านคลองบางขุนศรี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | จงกล ศุขสายชล |
อาชีพ | นักดนตรี ครูดนตรี นักประพันธ์เพลง |
มีชื่อเสียงจาก | การบรรเลงเครื่องสายไทย (ซอ) การเรียบเรียงเพลงสำหรับเครื่องสาย |
ผลงานเด่น | ทฤษฎี 17 เสียง |
คู่สมรส | กิตติมา ศุขสายชล |
บิดามารดา |
|
รางวัล | ชนะเลิศ การประกวดเครื่องสายไทย ระดับประชาชน พ.ศ. 2530 |
เกียรติยศ | ศิลปินอาวุโสคึกฤทธิ์ มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 พ.ศ. 2546 |
วรยศ ศุขสายชล เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 มีชื่อเดิมว่า จงกล เป็นบุตรคนที่ 7 ของ เขียน ศุขสายชล กับ สระสม ศุขสายชล มีพี่น้อง 7 คน คือ ประสงค์, ไพเราะ, ลิขิต, อารีย์, พินิจ, ชาญ และ ไพลิน[1] ครอบครัวเป็นตระกูลนักดนตรีในย่านคลองบางขุนศรี เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร[2]
วรยศ ศุขสายชล เริ่มเข้าศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบางเสาธง ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดปราสาท และสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านดนตรี เมื่อออายุประมาณ 12 - 13 ปี เริ่มเรียนฆ้องวงใหญ่กับบิดา ซึ่งเป็นทหารในสังกัดกองดุริยางค์ทหารเรือ และเป็นศิษย์ของจางวางทั่ว พาทยโกศล แห่งสำนักดนตรีพาทยโกศล จากนั้นฝึกหัดเครื่องดนตรีอื่นในวงปี่พาทย์ จนสามารถบรรเลงออกงานกับคณะปี่พาทย์ของครอบครัวได้ ขณะเดียวกันได้ฝึกหัดขลุ่ยและขิมกับบิดา และฝึกหัดขับร้องกับมารดา จนเมื่ออายุ 17 ปี ได้เริ่มฝึกหัดซอด้วงกับบิดาอย่างจริงจัง เพราะมีความชื่นชอบซอด้วงเป็นพิเศษ เมื่อบิดาเห็นว่ามีความสามารถ จึงพาไปฝากเป็นศิษย์กับ จิตร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ต่อมาบิดาได้พาไปฝากเป็นศิษย์ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)[3] โดยฝึกหัดตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูง และได้ฝึกหัดทั้งซอด้วง ซออู้ และซอสามสาย ครบทั้ง 3 ซอ ภายหลังได้เรียนเพลงชุดของวงเครื่องสายปี่ชวาจาก เทียบ คงลายทอง รวมถึงได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการประยุกต์ทำนองปี่สำหรับปรับใช้กับซอ[4] อีกทั้งยังได้รับถ่ายทอดทำนองร้องเพลงทยอยเดี่ยวจาก อุษา สุคันธมาลัย อีกด้วย[5]
วรยศ ศุขสายชล เริ่มเข้ารับราชการที่กองดุริยางค์ทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. 2506[6] ในตำแหน่งกำลังพลนักดนตรี (ซอด้วง) และเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการเครื่องสายไทยอย่างเต็มตัวเมื่ออายุ 21 ปี โดยได้เข้าร่วมการประกวดเดี่ยวซอด้วงและขลุ่ยเพียงออ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม เมื่อ พ.ศ. 2509 ได้รับรางวัลชนะเลิศซอด้วง และรางวัลรองชนะเลิศขลุ่ยเพียงออ[4] จนถึง พ.ศ. 2517 ได้ลาออกจากราชการมาบรรจุเป็นพนักงานประจำวงดนตรีไทยโรงงานสุราบางยี่ขัน จนถึง พ.ศ. 2528 ได้ผันตัวมาเป็นนักดนตรีอิสระ ขณะเดียวกันได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนเครื่องสายในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา,[7] วิทยาลัยครูสวนสุนันทา,[8] มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,[9] คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,[8] วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,[10] ชมรมดนตรีไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,[8] ชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[4]
เมื่อ พ.ศ. 2530 ได้รวบรวมสมาชิก ได้แก่ ปี๊บ คงลายทอง, สุธารณ์ บัวทั่ง, ธีระ ภู่มณี, พจนีย์ รุ่งเรือง, วิทยา หนูจ้อย, และ อารีย์ (ธัญทิพย์) คงลายทอง ก่อตั้งคณะ "วัยหวาน"[4] เข้าร่วมการประกวดวงเครื่องสายไทย ระดับประชาชน ในรายการประกวดเฉลิมพระเกียรติพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ จัดโดย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศ รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[11]
วรยศ ศุขสายชล เคยได้รับเชิญจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมงานการแสดงดนตรีระดับชาติที่สำคัญ เช่น
ในด้านการอนุรักษ์เพลงไทย มีผลงานการบันทึกเสียงร่วมกับคณะดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายคณะ เช่น ดุริยประณีต, ดุริยพันธุ์, บัวทั่ง, เสริมมิตรบรรเลง[10] ฯลฯ รวมถึงมีผลงานการบันทึกเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุหลายแห่ง เช่น สถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ ฯลฯ ปรากฏผลงานการบันทึกเสียงในฐานข้อมูลห้องสมุดระดับชาติ เช่น ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร หอสมุดแห่งชาติ, หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,[15] [16] ห้องสมุดดนตรีไทยสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล,[17] [18] ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ[19] ฯลฯ ในด้านดนตรีไทยร่วมสมัย ได้ร่วมงานบันทึกเสียงกับวงฟองน้ำ ของ บรูซ แกสตัส และ บุญยงค์ เกตุคง และร่วมงานกับวงกังสดาล ของ เทวัญ ทรัพย์แสนยากร[20]
วรยศ ศุขสายชล ได้รับเชิญจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีไทยที่สำคัญระดับชาติหลายรายการ เช่น
นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษแก่หน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักการสังคีต กรมศิลปากร, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ฯลฯ
วรยศ ศุขสายชล มีงานค้นคว้าที่สำคัญคือ ทฤษฎีเสียง โดยอธิบายระบบเสียงในดนตรีไทยผ่านการวิเคราะห์จากเสียงขับร้อง ซึ่งแบ่งระดับเสียงใน 1 ช่วงเสียงออกเป็น 17 เสียงย่อย (Microtone) ต่างจากทฤษฎีดนตรีไทยดั้งเดิมที่แบ่งระดับเสียงเป็น 7 เสียง และต่างจากทฤษฎีดนตรีตะวันตกที่แบ่งระดับเสียงเป็น 12 เสียง ได้ตั้งชื่อทฤษฎีว่า "วรยศ" ตามชื่อผู้ค้นคว้า หรือเรียกกันทั่วไปว่าทฤษฎี "17 เสียง"[28] แล้วเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อว่า "ทฤษฎีเสียงดนตรีไทย" ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2541[29]
วรยศ ศุขสายชล ได้ทำการค้นคว้าพัฒนาต่อยอดขิมและซอ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านคุณภาพเสียงและวิธีการบรรเลง โดยขิมได้ปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุและปรับขยายสัดส่วนเครื่องดนตรี เพื่อให้ได้ช่วงเสียงที่กว้างมากยิ่งขึ้น สามารถบรรเลงได้ 4 ช่วงเสียง (Octave) และคิดกลวิธีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งการบรรเลงดนตรีไทยแนวอนุรักษ์และแนวร่วมสมัย ขิมที่พัฒนาใหม่นี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ขิมตักกศิลา" หรือเรียกอีกชื่อว่า "ขิมใหญ่"[30] ส่วนซอ ได้ปรับขยายสัดส่วนเครื่องดนตรี เพื่อให้ได้ช่วงเสียงที่กว้างมากยิ่งขึ้นและมีเสียงที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนการใช้สายโลหะแทนการใช้สายไหม เพื่อให้ได้เสียงที่คมชัดและใส
นอกจากนี้ วรยศ ศุขสายชล ยังมีผลงานการเรียบเรียงบทความลงเผยแพร่ในวารสารถนนดนตรี ได้แก่เรื่อง "อยากจำเพลงเก่ง ๆ ได้จังเลย"[31] และ "คดีโน้ตเพลง"[32]
วรยศ ศุขสายชล มีผลงานการประพันธ์เพลง ได้แก่ ตะเลงรัญจวน เถา,[33] พม่าแปลง เถา, โหมโรงนิลุบล, โหมโรงชมสมุทร (เที่ยวกลับ),[30] เทพประนมกร (ทางเปลี่ยน),[34] แขกมอญบางช้าง (ทางเปลี่ยน)[5] เชิดจีน ตัว 4 (ทางเปลี่ยน), จีนซัวเถา[35] และ ท่อนนำตับจูล่ง มีผลงานการเรียบเรียงเพลง ได้แก่ ชุดระบำแขก,[36] ชุดลำตัดดนตรี, ชุดพม่าเห่, เวสสุกรรม (5 จังหวะ), วิลันดาโอด (ประสานเสียง), อาลีบาบา, พม่าคะเมีย, แขกเชิญเจ้า, คางคกปากสระ (แจ๊ส) และ ซัมเซ มีผลงานการเรียบเรียงเพลงต่างชาติสำหรับเครื่องดนตรีไทย ได้แก่ อาหรับราตรี, สิงโต (Dance of Golden Snake : 金蛇狂舞), ส่าน ตอว์ เฉ่น์ (San Taw Chain : စံတော်ချိန်) มีผลงานการปรับทางเพลงสำหรับวงเครื่องสายหลายเพลง เช่น โหมโรงเชิดนอก, ทยอยใน, บุหลัน,[37] แขกโอด,[30] ทยอยเขมร, บาทสกุณี[38] ฯลฯ รวมถึงมีผลงานการเรียบเรียงทางเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายหลายเพลง เช่น เดี่ยวซอด้วง นกขมิ้น, ม้าย่อง, พญาโศก, พญาครวญ, แขกมอญ, เชิดนอก, กราวใน, ทยอยเดี่ยว เดี่ยวซออู้ พญาครวญ, สารถี, ทะแย, ต่อยรูป, กราวใน เดี่ยวซอสามสาย เชิดนอก, หกบท เดี่ยวขิม มโนราห์บูชายัญ เดี่ยวจะเข้ 2 ตัว กราวใน ฯลฯ[4]
โดยผลงานที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือ
วรยศ ศุขสายชล มีผลงานการบันทึกเสียงดนตรีที่สำคัญ ได้แก่
อัลบั้มเดี่ยวและอัลบั้มที่ควบคุมการบรรเลงด้วยตนเอง
อัลบั้มที่มีส่วนร่วมในการบันทึกเสียง
วรยศ ศุขสายชล จัดการแสดงดนตรีในรูปแบบคอนเสิร์ตหลายครั้งทั้งในไทยและต่างประเทศ ดังนี้
วัน เดือน ปี | ชื่อการแสดง | รายการ | สถานที่จัดแสดง | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
3 พฤษภาคม 2539 | วงวัยหวาน | จุฬาวาทิต ครั้งที่ 62 | เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | รายการของศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | [45] |
6 มีนาคม 2541 | คณะศิษย์ศุขสายชล | จุฬาวาทิต ครั้งที่ 75 | เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | รายการของศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | [46] |
7 มกราคม 2554 | ครูวรยศ ศุขสายชล | จุฬาวาทิต ครั้งที่ 162 | เรือนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | รายการของสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | [30] |
15 มิถุนายน 2562 | สุนทรียภาพในดนตรีไทย | Siam Music Festival | ศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป (สยามพารากอน) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | รายการของศูนย์ศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล | [47] |
4 มิถุนายน 2565 | An Evening of Thai Classical Music | An Evening of Thai Classical Music | Seekers Church, Washington, D.C., USA | [48] | |
5 มิถุนายน 2565 | Thai Classical Music Concert | A Journey through Thailand | Motor House, Baltimore, USA | [49] | |
2565 | Thai Classical Music Concert | Strawberry Festival | Sandy Spring Museum, MD, USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | [50] |
2 กรกฎาคม 2566 | Thai Music and Dance | Sawasdee DC Thai festival เนื่องในการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-อเมริกา ครบ 190 ปี | National Mall in Washington, D.C., USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[51] |
6 กันยายน 2566 | Thai Music and Dance | Thai Delight : a sweet Journey through a Dessert Making | Royal Thai Ambassador’ Resident, Washington, D.C., USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[52] |
24 กันยายน 2566 | Thai Music and Dance | Maryland Flok Festival | Downtown Salisbury, MD, USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | |
1 ตุลาคม 2566 | Thai Music and Dance | World Culture Festival | National mall, Washington. D.C., USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | |
23 เมษายน 2566 | Thai Music and Dance | การแสดงละครเด็กเรื่องพระสุธน-มโนราห์ | Wolf Trap National Park for the Performing Arts, VA, USA | จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company | |
3 พฤษภาคม 2567 | Thai Music and Dance | Asia North Festival | The Parlor Art Center, Baltimore, USA | รายการของ The Asian Arts & Culture Center at Towson University
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[53] |
4 พฤษภาคม 2567 | Thai Music and Dance | Thai Open House 2024 | Royal Thai Embassy, Washington, D.C., USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[54] |
23 พฤษภาคม 2567 | Thai music and Dance | The Somapa Thai Dance Company and Orchestra in Concert | Library of Congress, USA | รายการของ Library of Congress
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[55] [56] |
18 ตุลาคม 2567 | Thai Music and Dance | Meridian Pre-Ball Dinner | Royal Thai Embassy, Washington, D.C., USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[57] |
3 ธันวาคม 2567 | Thai Music and Dance | งานเลี้ยงรับรองในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 | Salamander Washington DC, USA | รายการของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
จัดแสดงในนาม Somapa Thai Dance Company |
[58] |
วรยศ ศุขสายชล ถ่ายทอดการบรรเลงเครื่องสายไทยทั้งในระบบการศึกษาและแบบตามอัธยาศัย โดยเริ่มถ่ายทอดตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบัน มีศิษย์ที่เป็นศิลปิน ครูอาจารย์ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ กฤษฏาธาร จันทะโก, กันต์ อัศวเสนา, โดม สว่างอารมณ์, ธีระ แถบสิงห์, ธีระ ภู่มณี,[41] [59] นัฐชา โพธิ์ศรี, นิติธร หิรัญหาญกล้า,[60] พชร ธารีเพียร, เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี,[61] วรพล มาสแสงสว่าง, วันชัย เอื้อจิตรเมศ,[9] วีรศิลป์ ห่วงประเสริฐ, สุธีรา นาควัชระ, สุรพงษ์ บ้านไกรทอง, สุวรรณี ชูเสน, อำนาจ บุญอนนท์ ฯลฯ และเคยเข้าถวายการแนะนำกลวิธีการสีซอแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[62]
ภายหลังเมื่อ พ.ศ. 2542 ได้ก่อตั้งโรงเรียนดนตรี "ตักกศิลา" เพื่อสอนและให้ความรู้ด้านดนตรีไทยแก่เยาวชนและบุคคลผู้สนใจทั่วไป
ความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประจักษ์ เช่น
วรยศ ศุขสายชล ได้รับการกล่าวถึงและนำผลงานไปเผยแพร่ทั้งในรูปแบบบทความ รายการวิทยุ แถบบันทึกเสียง รวมถึงการจัดคอนเสิร์ตเพื่อยกย่องเชิดชู ดังนี้
วรยศ ศุขสายชล สมรสครั้งแรกกับ มะลิ ฟักเขียว มีบุตร 3 คน คือ อุบล ศุขสายชล (ชาย), กมลรัตน์ ศุขสายชล (หญิง) และ วัชระ ศุขสายชล (ชาย)[71] ต่อมาสมรสกับ สุธารณ์ บัวทั่ง ปัจจุบันสมรสกับ กิตติมา ศุขสายชล
ลำดับสาแหรกของ วรยศ ศุขสายชล เป็นดังนี้[3] [72] [73]
ลำดับสาแหรกของวรยศ ศุขสายชล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.