Loading AI tools
บทความรายชื่อวิกิมีเดีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม เป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศบรูไน และยังเป็นหัวหน้ารัฐบาลในฐานะนายกรัฐมนตรีบรูไน[1] โดยทรงเป็นสุลต่านพระองค์แรกพระองค์เดียวตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1984 แต่ราชวงศ์บรูไนนั้นมีอายุยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14[2] โดยพระอิสรริยยศอย่างเป็นทางการคือ สุลต่านยังดีเปอร์ตวนแห่งบรูไนดารุสซาลาม[1]
สุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม | |
---|---|
Sultan dan Yang Di-Pertuan Negara Brunei Darussalam | |
อยู่ในราชสมบัติ | |
ฮัสซานัล โบลเกียห์ ตั้งแต่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1967 | |
รายละเอียด | |
รัชทายาท | มกุฎราชกุมาร อัลมุฮ์ตาดี บิลละฮ์ |
กษัตริย์องค์แรก | สุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์ |
สถาปนาเมื่อ | 1368 |
ที่ประทับ | อิซตานานูรุลอีมัน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน |
ลำดับ | พระบรมสาทิสลักษณ์ | พระนาม | เริ่มต้น | สิ้นสุด | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | มูฮัมมัด ชะฮ์ / อาวัง อาลัก เบอตาตาร์ | 1363[3] หรือ 1368 | 1402 | สถาปนารัฐสุลต่าน[3] | |
2 | อับดุล มาจิด ฮัซซัน / มหาราชากรรณะ | 1402 | 1408 | สวรรคตที่หนานจิง ประเทศจีน | |
3 | อะฮ์มัด / อาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ | 1408 | 1425 | ||
4 | ชะรีฟ อะลี / สุลต่านบาร์กัต (สุลต่านผู้ได้รับพร) | 1425 | 1432 | เดิมปกครองเป็นชะรีฟแห่งมักกะฮ์ในรัฐสุลต่านมัมลูก และไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตกับผู้ครองราชย์ก่อนหน้า แต่ได้รับเลือกเป็นพระชามาดาของอดีตสุลต่าน (อะฮ์มัด) และทรงรอบรู้ในศาสนาอิสลาม | |
5 | ซูไลมัน | 1432 | 1485 | พระราชโอรสของสุลต่านชะรีฟ อะลี พระองค์สละราชสมบัติเพื่อให้โบลเกียห์ พระราชโอรส ขึ้นเป็นสุลต่าน | |
6 | โบลเกียห์ / นาโคดารากัม (กัปตันผู้ขับร้อง) | 1485 | 1524 | พระราชโอรสของสุลต่านซูไลมัน และเป็นสุลต่านองค์แรกที่ใช้ปืนใหญ่ลำกล้อง | |
7 | อับดุล กาฮาร์ | 1524 | 1530 | พระราชโอรสของสุลต่านโบลเกียห์ | |
8 | ไซฟุล รีจัล | 1533 | 1581 | พระราชนัดดาและพระราชโอรสบุตธรรมของสุลต่านอับดุล กาฮาร์ เกิดสงครามกัสติยาระหว่างบรูไนกับสเปน | |
9 | ชะฮ์ เบอรูไน | 1581 | 1582 | พระราชโอรสองค์โตของสุลต่านไซฟุล รีจัล | |
10 | มูฮัมมัด ฮาซัน | 1582 | 1598 | พระอนุชาในสุลต่านชะฮ์ เบอรูไน | |
11 | อับดุล จาลีลุล อักบาร์ | 1598 | 1659 | สุลต่านที่ครองราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์บรูไน | |
12 | อับดุล จาลีลุล จับบาร์ | 1659 | 1660 | ||
13 | มูฮัมมัด อาลี | 1660 | 1661 | ถูกประหารชีวิตด้วยการบีบปลอกคอเหล็กโดยอับดุล ฮักกุล มูบิน ผู้ครองราชย์องค์ถัดไป นำไปสู่สงครามกลางเมืองบรูไน | |
14 | อับดุล ฮักกุล มูบิน | 1660 | 1673 | เริ่มต้นสงครามกลางเมืองบรูไนด้วยการปลงพระชนม์สุลต่านมูฮัมมัด อาลี และภายหลังถูกปลงพระชนม์โดยมูฮ์ยิดดิน ผู้ครองราชย์องค์ถัดไป | |
15 | มุฮ์ยิดดิน | 1673 | 1690 | พระราชโอรสในสุลต่านอับดุล จาลีลุล จับบาร์ผู้แก้แค้นการสวรรคตของสุลต่านมูฮัมมัด อาลี พระสัสสุระ ด้วยการปลงพระชนม์สุลต่านอับดุล ฮากิม มูบิน ทำให้สงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง พระองค์นำดินปืนจากรัฐสุลต่านจัมบีในช่วงสงครามกลางเมือง | |
16 | นัซรุดดิน | 1690 | 1710 | ||
17 | ฮูซิน กามาลุดดิน | 1710 | 1730 | ครั้งแรก พระองค์ขึ้นครองราชย์ครั้งที่สองใน ค.ศ. 1737 ถึง 1740 | |
18 | มูฮัมมัด อาลาอุดดิน | 1730 | 1737 | ทรงสั่งให้ดาตู อิหม่าม ยาอ์กุบให้เขียน ซัลซีละฮ์ราจา-ราจาเบอรูไน หรือพระราชวงศ์ของสุลต่านบรูไน | |
(17) | ฮูซิน กามาลุดดิน | 1737 | 1740 | ครั้งที่สอง | |
19 | โอมาร์ อาลี ไซฟุดดินที่ 1 | 1740 | 1778 | ||
20 | มูฮัมมัด ตาจุดดิน | 1778 | 1807 | ทรงสั่งให้คาติบ อับดุล ชาติฟสลัก บาตูตาร์ซีละฮ์ หรือแผ่นศิลาจารึก | |
21 | มูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 1 | 1804 | 1804 | ||
22 | มูฮัมมัด กันซุล อาลัม | 1807 | 1826 | ||
23 | มูฮัมมัด อาลัม | 1826 | 1828 | พระองค์เรียกตัวพระองค์เป็นสุลต่านบรูไน ในรัชสมัยนี้ บรูไนถือครองดินแดนจากตันจงดาตูในรัฐซาราวักถึงกีมานิซในรัฐซาบะฮ์ แม้จะถูกมองว่าเป็นประเทศที่อ่อนแอและต้องได้รับการคุ้มครองมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้ บทความนี้จะเปิดเผยสถานการณ์จริงของจักรวรรดิบรูไนก่อนล่มสลายอย่างเลวร้ายหลังจากการสู้รบในช่วงสั้นๆ ชาวบรูไนส่วนใหญ่เกลียดชังพระองค์เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ และพระองค์ไม่เคารพขนบธรรมเนียมราชสำนักบรูไน ซึ่งจุดชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองครั้งที่สองระหว่างพระองค์กับเปองีรัน มูดา โอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน ผู้ครองราชย์ต่อจากพระองค์ | |
24 | โอมาร์ อาลี ไซฟุดดินที่ 2 | 1828 | 1852 | เจมส์ บรูกเดินทางมาและมีการลงนามสนธิสัญญาลาบวนใน ค.ศ. 1846 | |
25 | อับดุล โมมิน | 1852 | 29 พฤษภาคม 1885 | ลงนามสนธิสัญญาแห่งมิตรภาพและพาณิชย์ใน ค.ศ. 1847 ที่ทำให้ชาลส์ บรูกผนวกดินแดนต่อ และมีการประกาศ อามานัต ใน ค.ศ. 1885 | |
26 | ฮาชิม จาลีลุล อาลัม อากามัดดิน | 29 พฤษภาคม 1885 | 10 พฤษภาคม 1906 | ยังคงเสียดินแดนต่อแม้จะมีการทำ อามานัต และการลงนามข้อตกลงรัฐในอารักขากับรัฐบาลบริติชใน ค.ศ. 1888 การเข้ามาและรายงานของมัลคอล์ม แมคอาเธอร์ทำให้พระองค์ลงนามข้อตกลงเพิ่มเติม ค.ศ. 1905–1906 | |
27 | มูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2 | 10 พฤษภาคม 1906 | 11 กันยายน 1924 | พระองค์เป็นสุลต่านบรูไนองค์แรกที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ จากนั้น พระองค์นำกฎหมายอิสลามเข้ามาใช้ในรัฐสุลต่านเมื่อ ค.ศ. 1912 ตามมาด้วย พระราชบัญญัติการสมรสและการหย่าร้าง ใน ค.ศ. 1913 เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ เสด็จมายังรัฐสุลต่านในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1922 ในปีเดียวกัน พระองค์เป็นสุลต่านองค์แรกที่เสด็จประพาสสิงคโปร์ ในช่วงเกือบท้ายรัชสมัยมีการย้ายอิซตานากัมปงอาเยอร์ไปยังอิซตานามัจลิซ การแพร่ระบาดของมาลาเรียทำให้พระองค์และสมาชิก 3 พระองค์สวรรคต | |
28 | อะฮ์มัด ตาจุดดิน | 11 กันยายน 1924 | 4 มิถุนายน 1950 | มีการค้นพบน้ำมันในช่วงต้นรัชสมัยเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1929 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเติงกู ไรฮานีในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1934 ในรัชสมัยนี้ พระองค์พบการครอบครองบรูไนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 ถึง 1945 ทรงฉลองรัชดาภิเษกในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1949 พระองค์ประชวรที่แรฟเฟิลส์โฮเท็ลและสวรรคตที่โรงแรมสิงคโปร์เจเนอรัลในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1950 | |
29 | โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 | 4 มิถุนายน 1950 | 5 ตุลาคม 1967 | บรูไนพบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายใต้การปกครอง 17 ปี พระองค์พัฒนาปรัชญาเมอลายูอิซลัมเบอราจา (Melayu Islam Beraja, MIB) ที่นำหน้าที่เป็นอุดมการณ์นำทางชาติ พระองค์ยังทรงริเริ่มการปฏิรูปการศึกษา ศาสนา สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ประชาชนของพระองค์ในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยของรัฐ พระองค์ทรงทอดพระเนตรการร่างและการลงนามรัฐธรรมนูญบรูไนใน ค.ศ. 1959 พระองค์ยังได้เห็นความตึงเครียดที่เกิดจากการรวมตัวสหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งนำไปสู่การกบฏบรูไนค.ศ. 1962 จากนั้นใน ค.ศ. 1967 พระองค์สละราชสมบัติแก่ฮัซซานัล โบลเกียห์ พระราชโอรสองค์โต | |
30 | ฮัซซานัล โบลเกียห์ | 5 ตุลาคม 1967 | ยังครองราชย์ | นับตั้งแต่บรูไนเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1984 พระองค์ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและสุลต่านบรูไนตั้งแต่ ค.ศ. 1967 ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่พระองค์ในโลกที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ขึ้นครองราชย์หลังพระราชบิดาสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1967 ตามการจัดอันดับบางส่วนจัดให้พระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก พระองค์ยังเป็นประมุขแห่งรัฐที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุด มีการฉลองพิธีกาญจนาภิเษกในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2017 |
บันทึกประวัติศาสตร์ช่วงต้นของสุลต่านบรูไนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์บรูไนในช่วงแรกมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะทำให้ประวัติศาสตร์ "แผลงเป็นอิสลาม" โดยที่ "ประวัติศาสตร์ทางการ" ไม่ตรงกับแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่สามารถตรวจสอบได้ [4] บาตูตาร์ซีละฮ์ บันทึกลำดับวงศ์ตระกูลของกษัตริย์แห่งบรูไน ยังไม่มีการเขียนจนกระทั่ง ค.ศ. 1807 ดังนั้น การตีความประวัติศาสตร์จำนวนมากจึงต้องพึ่งข้อมูลจีนก่อนหน้าและตำนาน ดูเหมืิอนว่ารัฐสุลต่านบรูไนช่วงแรกพึ่งพาแรงสนับสนุนจากจีน[3][5][6] และบางที สุลต่านช่วงแรกอาจมีต้นกำเนิดจากจีน[3] นอกจากนี้ สุลต่านยุคแรกอาจนับถือศาสนาฮินดูหรือพุทธ โดยที่พระนามในช่วงแรกบ่งชี้ถึงต้นตอเหล่านี้[4]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.