คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ราชวงศ์มหิธรปุระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

ราชวงศ์มหิธรปุระ (ขอม: រាជត្រកូលមហិធរៈបុរៈ ; เรียจฺตระกูลมอหิดเทียปูเรี๊ยะ อักษรโรมัน: "Mahidharapura Daynasty", House of Mahidharapura, Mahidra pura) นักวิชาการบางส่วนเรียกว่า "ราชสกุลมหิธรปุระ" เพราะเชื่อว่ากษัตริย์ที่ลงท้ายพระนาม "วรมัน" อาจมีต้นวงศ์มาจากที่เดียวกัน ราชวงศ์มหิธรปุระสถาปนาโดย พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6[1] เมื่อปี ค.ศ.1080 และเชื่อว่ามีปฐมราชตระกูลคือ พระเจ้าภววรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรเจนละ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เป็นขุนนางปกครองเมืองพิมาย (ปัจจุบันคืออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) เชื้อสายราชวงศ์เมืองมหิธรปุระ[2] เป็นต้นวงศ์ของกษัตริย์อีกหลายพระองค์มีถิ่นฐานอยู่แถบลุ่มแม่น้ำมูล บริเวณปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง และบริเวณเมืองละโว้ โดยส่วนใหญ่แล้วราชวงศ์มหิธรปุระมีฐานอำนาจตั้งแต่เทือกเขาพนมดงรักขึ้นไปทางเหนือ

ข้อมูลเบื้องต้น พระราชอิสริยยศ, ปกครอง ...
Remove ads

ราชวงศ์มหิธรปุระมีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรพระนคร จำนวน 11 พระองค์ กษัตริย์พระองค์แรกคือพระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 กษัตริย์องค์สุดท้ายคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 นักวิชาการหลายฝ่ายมีข้อสันนิฐานว่า องค์ต้นราชวงศ์จริง ๆ อาจเป็นชาวอินเดียมากกว่าคนท้องถิ่น เนื่องจากกษัตริย์มีพระนามลงท้าย "วรมัน" ซึ่งตรงกับรายพระนามกษัตริย์ในอินเดียหลายพระองค์ และเคยมีชื่อราชวงศ์วรมัน (Varman dynasty) ปกครองในอินเดียช่วงเวลาเดียวกับ สมัยคุปตะและหลังคุปตะ ทั้งในอินเดียเหนือและอินเดียใต้

เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนที่ราบสูงอีสานนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งศาสนาได้มีระบบชนชั้นวรรณะค่อนข้างชัดเจน คนธรรมดาไม่น่าจะสถาปณาตนเองขึ้นมามีชนชั้นสูงได้ รวมถึงข้อความในจารึกเมืองพระนครมีคำภาษาสันสกฤตผสมอยู่เป็นจำนวนมาก บางจารึกเป็นภาษาสันสกฤตทั้งหน้า ส่วนในจารึกปราสาทสด๊กก๊อกธมได้บันทึกไว้ว่า ดินแดนในแถบที่ราบสูงล้วนเป็นที่อยู่ของบรรดาพราหมณ์และนักบวช และตรงกับค่านิยมการสร้างปราสาทในอีสานใต้ที่ล้วนสร้างถวายองค์เทพฮินดู ชนชั้นปกครองอาจเป็นชาวอินเดียโบราณมากกว่าชาวพื้นเมือง

Remove ads
สรุป
มุมมอง

จารึกพนมรุ้ง 7

บทความบางส่วนในในศิลาจารึกหลักที่ 7 ของปราสาทพนมรุ้ง ได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของราชวงศ์มหิธรปุระไว้ว่า

(บทเริ่มต้นสรรเสริญพระอิศวร) มีพระราชานามว่า "หิรัณยวรมัน" พระองค์มีอำนาจในดินแดนแถบนี้ (อีสานใต้) จนทำให้ดินแดนเจริญรุ่งเรือง พระองค์ตั้งถิ่นฐานอย่างมั่นคงที่เมืองกษิตีนทราคราม (สันนิฐานว่าอยู่ด้านล่างบริเวณเชิงเขาพนมรุ้ง) บรรพบุรุษของพระองค์สืบลงมาจากพระอาทิตย์และพระลักษมี บัวของสกุลวงศ์ของพระองค์สถิติอยู่ที่นั่น จากพระนางหิรัณยลักษมี พระราชา (หิรัณยวรมัน) ได้ให้กำเนิดพระเจาศรีชัยวรมเทพ ดังดวงจันทร์อันกระจางอยู่ในท้องฟ้า จากท่านผู้นี้ (พระนางหิรัณยลักษมี) และพระราชา (หิรัณยวรมัน) ผู้ชํานะโลก ได้ก่อกำเนิดพระราชาอันประเสรฐในบรรดาพระราชาทั้งหลาย คือ ศรีธรณินทรวรมัน และศรียุพราช (ชัยวรมันที่ 6) โอรสองค์พี่และองค์น้องของพระเจ้าศรีชัยวรมัน (ตามลำดับ)

พระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ นัดดาผู้มหัศจรรย์และน่าเคารพแห่งพระเจาหิรัณยวรมัน ได้ก่อกำเนิดพระราชาผู้ประเสรฐคือ ศรีสูรยวรมัน (สุริยวรมันที่ 2) จากธิดาของธิดาแห่งหิรัณยลักษมี

(ต่อ) ภูปตินทรลักษมี ถือกำเนิดมาในราชสกุลวงศ์ นางได้รับความนับถือจากบุคคลทั้งหลายว่าเป็นอวตาร (ภวานี) เป็นผู้ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะแห่งพระบิดา คือ พระเจ้าศรีสูรยวรมัน (สุริยวรมันที่ 2) นางได้ให้กําเนิดแก่ นเรนทราทิตย์ ผู้คลองแคล่วและเปรียบเสมือนดวงจันทร์สําหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่... (เล่าประวัติการสู้รบยาวหลายบท) และจบด้วยนามผู้จารึกพนมรุ้ง 7 คือ หิรัณยะ ผู้เป็นบุตรของนเรททราทิตย์แห่งพนมรุ้ง

Remove ads

แผนผังราชวงศ์มหิธรปุระ จากจารึกพนมรุ้ง 7

  • กษัตริย์ปกครองเมืองพระนคร
  • รัชทายาท
  • เจ้าชาย
พระอาทิตย์
(ศรีสุริยะวงศ์)
 
พระนางลักษมี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าหิรัณยวรมัน
แห่งกษิตีนทราคราม
 
พระนางหิรัณยลักษมี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(2)
พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1
(1)
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6
(สิ้นพระชนม์)
ศรียุวราช (ยุพราช)
เจ้าหญิงขอม (1)
 

เจ้าชายขอม (1)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้ากษิเตนทราทิตย์
หลานของหิรัณยวรมัน
 
เจ้าหญิงขอม (2)
(นเรนทรลักษมี)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ราชินีขอม
 
(3)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เจ้าชายขอม (2)
 
เจ้าหญิงภูปตีนทรลักษมี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นเรนทราทิตย์
ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง
 
เจ้าหญิงขอม (3)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หิรัณยะ
ผู้สร้างศิลาจารึกพนมรุ้ง 7
Remove ads

รายพระนามกษัตริย์แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ที่ปกครองอาณาจักรพระนคร

สรุป
มุมมอง
ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, รายพระนามกษัตริย์ ...

นอกจากนี้ยังมีเชื้อพระวงศ์อื่น ๆ ที่ถูกอ้างสิทธิ์ เช่น

  • กษิเตนทราทิตย์ พระราชบิดาของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2
  • นเรนทราทิตย์ ผู้มีอำนาจอยู่ในเมืองพนมรุ้ง และผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads