Remove ads
อดีตรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ที่เริ่มออกอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2539 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระเบิดเถิดเทิง เป็นอดีตรายการซิตคอมควบคู่กับเกมโชว์ ซึ่งผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกทุกวันอาทิตย์ โดยในระยะแรกมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ อีก 3 เดือนต่อมาได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอมคู่กับเกมโชว์ รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2539 มีการเปลี่ยนรูปแบบรายการหลายครั้ง ปัจจุบันยุติออกอากาศแล้ว
ระเบิดเถิดเทิง | |
---|---|
สัญลักษณ์รายการ ระเบิดเถิดเทิง | |
ประเภท | ซิตคอม (เดิมเป็นวาไรตี้โชว์ และ ซิตคอมคู่กับเกมโชว์) |
กำกับโดย | สุดเขต เพชราบรรพ์ (2541-2546) ศิรโรจ บุญไชย (2546-2552) กฤษณะ จิตรเนาวรัตน์ (2561-2564) |
พิธีกร | มยุรา เศวตศิลา (2539 - 2544) สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ (2544 - 2552) |
แสดงนำ | เท่ง เถิดเทิง (2539 - 2564) โหน่ง ชะชะช่า (2541 - 2564) |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) |
สถานที่ถ่ายทำ | สตูดิโอกรุงเทพฯ (2539 - 2549) เวิร์คพอยท์สตูดิโอ (2549 - 2564) |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (2539 - 2557) ช่องเวิร์คพอยท์ (2558 - 2564) |
ออกอากาศ | 7 มกราคม พ.ศ. 2539 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (25 ปี) |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง ระเบิดเที่ยงแถวตรง ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ เถิดเทิงม่วนคักฮักหลาย |
ในระยะเริ่มแรก ระเบิดเถิดเทิงมีรูปแบบเป็นรายการวาไรตี้ ซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 7 มกราคม - 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 มีพิธีกรหลักคือ ตั๊ก - มยุรา เศวตศิลา และ หนู คลองเตย (ภายหลัง ได้เพิ่ม หม่ำ จ๊กมก และ กิ๊ก - เกียรติ กิจเจริญ เป็นพิธีกรหลักด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงพิธีกรประจำช่วง ฮาระเบิด) มีช่วงต่าง ๆ ดังนี้
เป็นการแสดงตลกของคณะตลก ซึ่งมีคณะตลกหลักเป็นคณะของหม่ำ ที่นอกจากจะเล่นตลกในช่วงนี้แล้ว ยังมีหน้าที่เป็นพิธีกรประจำช่วงด้วย
เป็นการแสดงดนตรีของวงดนตรี หรือเป็นการแสดงจากดาราซึ่งเป็นระเบิดรับเชิญในสัปดาห์นั้น ช่วงแรกนี้ มีธงชัย ประสงค์สันติ และวงสามโทน เป็นพิธีกรประจำช่วง
เป็นช่วงการสัมภาษณ์แขกรับเชิญที่ร่วมเล่นละครในแต่ละสัปดาห์ พร้อมกับตอบจดหมายจากทางบ้าน โดยจะปรากฏหลังจากละครได้เล่นจบตอนลง
รายการระเบิดเถิดเทิงออกอากาศได้เพียงระยะเวลา 3 เดือน ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอม ควบคู่ไปกับเกมโชว์ในช่วงท้ายรายการ ซึ่งถือเป็นรูปแบบของระเบิดเถิดเทิงในยุคนี้และต่อ ๆ มา โดยพิธีกรหลักเหลือเพียงตั๊กคนเดียว แต่หนูและหม่ำได้เปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็นผู้เล่นละครซิตคอม และร่วมเล่นเกมโชว์ด้วย (ทว่าตั๊กก็ได้ร่วมเล่นละครซิตคอมด้วยในบทสมทบ) ซึ่งเริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2539 จนถึงระเบิดเถิดเทิงในยุคต่อ ๆ มา
สำหรับช่วงซิตคอมนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนของคนในซอยเถิดเทิง ชุมชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่มีเท่งกับโหน่งเป็นนักเลงคุมซอย (ยุคแรกมีทุ้ย, ทึ้ง และเท่ง เป็นนักเลงคุมซอย) และตัวละครต่าง ๆ เช่น เจ๊หม่ำ, อาโกว, คุณนายสะอาด, พ่อมหา, ตุ่ม และนักแสดงคนอื่น ๆ ที่เข้ามาร่วมแสดงในภายหลังอีก โดยทุกสัปดาห์จะมีเนื้อหาของแต่ละตอนที่ไม่ซ้ำกัน คือแบบตอนเดียวจบ (ยกเว้นบางตอน ที่อาจมีระยะเวลาออกอากาศมากกว่า 1 เทป และในช่วงหลังของระเบิดเถิดเทิง จะมีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน)
รูปแบบของรายการนั้น ในช่วงแรก (ส่วนใหญ่ของรายการ) จะเป็นซิตคอม จากนั้นจะมีการคุยกับดารารับเชิญสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เช่น งานในวงการ งานอดิเรก โชว์ความสามารถพิเศษ เรื่องราววัยเด็ก เป็นต้น หลังจากนั้นจะเข้าสู่เกมหลักของรายการ คือ ถอดสลักระเบิด โดยแขกรับเชิญจะเลือกแผ่นป้ายซึ่งเมื่อเปิดออกมาจะมีใบหน้าของผู้ที่ต้องเข้าไปถอดสลัก 1 อัน โดยสลักระเบิดจะมีเป็นหมายเลข 1-5 และจะมีสลักอันเดียวเท่านั้นที่ดึงออกมาแล้วจะถูกระเบิดแป้ง ในช่วงแรกนั้นจะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนทั้งหมด 16 แผ่นป้ายด้วยกัน ด้านหลังแผ่นป้ายจะประกอบด้วยใบหน้าของแขกรับเชิญ 9 แผ่นป้าย และของพิธีกรคือ กิ๊ก หม่ำ หนู คนละ 3 แผ่นป้าย แต่ในเวลาต่อมาได้มีการคิดเกมใหม่เพิ่มเข้าไปคือ วางระเบิด ซึ่งจะมีก่อนการถอดสลักจะมีการเลือกแผ่นป้ายให้พิธีกรแต่ละคนและดารารับเชิญโดยจำนวนลูกระเบิดในแผ่นป้ายที่ได้รับจะเป็นจำนวนแผ่นป้ายในช่วงถอดสลักนั่นเอง ในภายหลังยังมีการเพิ่มกติกา เช่น ถ้ากรณีป้ายที่เปิดมีเครื่องหมาย (+) ก็จะต้องเลือกแผ่นป้ายเพิ่มทำให้อาจมีคนเข้าไปถอดสลักพร้อมกันมากกว่า 1 คน และหลังจากนั้นก็มีการเพิ่มใบหน้าของตั๊ก มยุรา และชาวซอยเป็นจำนวนคนละ 1 แผ่นป้ายเข้าไปด้วย
ตั้งแต่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นละครซิตคอมอย่างเดียว ช่วงเกมระเบิดและเกมตู้ระเบิดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ฉลองครบรอบ 12 ปี ของรายการระเบิดเถิดเทิงด้วยความพิเศษ คือ มี 12 นางเอกมาร่วมแสดงในแต่ละตอน เริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2552 และสิ้นสุดในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยในแต่ละตอนจะมี 1 นางเอก มาร่วมรายการ แต่ยกเว้นตอน ท้องสองสองท้อง เพียงตอนเดียว ที่มีถึง 2 นางเอก[1] และตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ได้เพิ่มเป็น 12 พระเอกหนุ่มสุดฮ็อต สิ้นสุดถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2552
วันที่ | ชื่อตอน | ดารารับเชิญ |
---|---|---|
1 กุมภาพันธ์ 2552 | 2 เพชฌฆาตดาวไถ (ไถดาว) | มาช่า วัฒนพานิช อดิเรก วัฏลีลา |
8 กุมภาพันธ์ 2552 | นายแบบแสบทะลุไส้ | ซอนย่า คูลิ่ง อรนภา กฤษฎี |
15 กุมภาพันธ์ 2552 | หนี้นี้ต้องชำระ | นัท มีเรีย ตูมตาม เชิญยิ้ม |
22 กุมภาพันธ์ 2552 | นางฟ้าชุดขาวกับชาวดิน | น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ ณัฐนี สิทธิสมาน |
1 มีนาคม 2552 | หวานมันส์ พันธุ์เถิดเทิง | จินตหรา สุขพัฒน์ รอน บรรจงสร้าง |
8 มีนาคม 2552 | คู่ซี้ ดีเจซ่า | ณัฐฐาวีรนุช ทองมี ประกาศิต โบสุวรรณ ภูมิใจ ตั้งสง่า |
15 มีนาคม 2552 | ท้องสอง สองท้อง | ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ อภิญญา สกุลเจริญสุข |
22 มีนาคม 2552 | ต้มยำช็อคโกแล็ต | ญานิน วิสมิตะนันทน์ |
29 มีนาคม 2552 | ปล้น ปล๊น ปล้น | บงกช คงมาลัย |
5 เมษายน 2552 | คฤหาสน์ คฤโหด | อเล็กซานดร้า ธิดาวัลย์ บุญช่วย เดือนเต็ม สาลิตุล |
12 เมษายน 2552 | หาดทราย สายลม และสามเรา | เวโรนิก้า โหงว มอริส เค |
19 เมษายน 2552 | เจ๊หม่ำรีเทิร์น | หม่ำ จ๊กมก สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ หยอง ลูกหยี ตูมตาม เชิญยิ้ม ศิวดล จันทเสวี |
26 เมษายน 2552 | ฝันให้ไกล ไปให้ถึง | ชยธร เศรษฐจินดา |
3 พฤษภาคม 2552 | ดามหัวใจ | ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม |
10 พฤษภาคม 2552 | ใส่ความ....ความใส่ | ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
17 พฤษภาคม 2552 | แผนต้มตุ๋น | เปรม บุษราคัมวงศ์ อาภาพร นครสวรรค์ |
24 พฤษภาคม 2552 | หนังสั้นแต่เบื้องหลังยาว | วิทวัส สิงห์ลำพอง |
31 พฤษภาคม 2552 | แผนล้มช้าง | ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ |
7 มิถุนายน 2552 | มันมาจากไหน | รังสิต ศิรนานนท์ |
14 มิถุนายน 2552 | นักสืบ นักซุ่ม | เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ |
21 มิถุนายน 2552 | ฟลุ๊คจริง ๆ | เกริกพล มัสยวาณิช |
28 มิถุนายน 2552 | รูปเจ้าปัญหา | ดาวิเด โดริโก้ |
5 กรกฎาคม 2552 | ลิเก แก้บน | ชินวุฒิ อินทรคูสิน อินทิรา เกตุวรสุนทร ยาว อยุธยา |
12 กรกฎาคม 2552 | กตติดผี | ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม |
เป็นรายการพิเศษของระเบิดเถิดเทิง ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 โดยจะเสนอเรื่องราวในตอนพิเศษที่เพิ่มเติมจากเรื่องราวปกติ หรือ เสนอภาพเหตุการณ์ที่น่าสนใจของตอนที่ออกอากาศไปแล้วนำมาเสนออีกครั้ง และตัดช่วงเกมส์ออก
ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2552 เป็นตอนพิเศษที่จะพูดถึงเบื้องหลังความฮาของรายการ ระเบิดเถิดเทิง
ออกอากาศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นตอนพิเศษที่จะรวบรวมปรากฏการณ์ความฮาที่มีมาตลอด 15 ปีของรายการระเบิดเถิดเทิง
เป็นรายการพิเศษที่จะนำรายการระเบิดเถิดเทิง ช่วงซิทคอม ในยุคอดีตมาออกอากาศซ้ำโดยจะนำเทปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงยุค Spin-Offs (ยกเว้นตอนพิเศษ) ปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศแล้ว
ระเบิดเถิดเทิง นั้นมีการเปลี่ยนชื่อทั้งหมด 9 ชื่อ และมี 9 ภาค เปลี่ยนรูปสัญลักษณ์รายการมาหลายครั้ง ส่วนมากจะคงคำว่า ระเบิด หรือ เถิดเทิง หรือ ระเบิดเถิดเทิง ไว้เสมอ โดยแต่ละชื่อมีดังต่อไปนี้
ชื่อรายการ | ช่วงระหว่าง | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ระเบิดเถิดเทิง | 7 มกราคม 2539 - 27 กันยายน 2552 | 13 ปี 8 เดือน 20 วัน | |
ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 | 4 ตุลาคม 2552 - 1 สิงหาคม 2553 | 9 เดือน 28 วัน | |
ระเบิดเถิดเทิงลั่นทุ่ง | 8 สิงหาคม 2553 - 1 กรกฎาคม 2555 | 1 ปี 10 เดือน 23 วัน | |
ระเบิดเที่ยงแถวตรง | 8 กรกฎาคม 2555 - 25 มกราคม 2558 | 2 ปี 6 เดือน 17 วัน | |
ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง | 1 กุมภาพันธ์ 2558 - 31 มกราคม 2559 | 1 ปี | |
ระเบิดเถิดเทิงแดนซ์เซอร์ทะลวงไส้ | 7 กุมภาพันธ์ 2559 - 26 กุมภาพันธ์ 2560 | 1 ปี 19 วัน | |
ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก | 5 มีนาคม 2560 - 28 มกราคม 2561 | 10 เดือน 23 วัน | เป็นยุคสุดท้ายที่เป็นรูปแบบซิตคอมผสมเกมโชว์ในช่วงสุดท้าย |
ระเบิดเถิดเทิง ซอยข้าใครอย่าแตะ | 4 กุมภาพันธ์ 2561 - 3 มกราคม 2564 | 2 ปี 10 เดือน 1 วัน | เป็นยุคแรกที่ปรับรูปแบบมาเป็นซิตคอมแบบเต็มตัว |
เถิดเทิงม่วนคักฮักหลาย | 10 มกราคม - 1 สิงหาคม 2564 | 6 เดือน 22 วัน | |
ผู้ดำเนินรายการหลัก | |||
---|---|---|---|
รายชื่อพิธีกร | ช่วงระหว่าง | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
มยุรา เศวตศิลา | 7 มกราคม พ.ศ. 2539 - 8 เมษายน พ.ศ. 2544 | 5 ปี 4 เดือน | |
สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ | 15 เมษายน พ.ศ. 2544 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 | 8 ปี 5 เดือน |
ผู้ดำเนินรายการร่วม | ||||
---|---|---|---|---|
รุ่นที่ 1 | ||||
รายชื่อพิธีกร | ชื่อในวงการ | รับบทเป็น | ช่วงระหว่าง | หมายเหตุ |
วันชาติ พึ่งฉ่ำ | หนู เชิญยิ้ม หนู คลองเตย | คุณนายสะอาด | 7 มกราคม พ.ศ. 2539 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2541 | |
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา | หม่ำ จ๊กมก | เจ๊หม่ำ | 14 มกราคม พ.ศ. 2539 - เมษายน พ.ศ. 2546 | |
เกียรติ กิจเจริญ | ซูโม่กิ๊ก | ทุ้ย | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2540 | |
เอกพัน บรรลือฤทธิ์ | ไทด์ เอกพันธ์ | ทึ้ง | 30 มีนาคม - 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 | |
สมใจ สุขใจ | เด๋อ ดอกสะเดา | พ่อมหา | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 | |
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ | เท่ง เถิดเทิง | เท่ง | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 | เทปกลางปี พ.ศ. 2539 เท่งรับหน้าที่แทน "หม่ำ จ๊กมก" โดยรับหน้าที่ร่วมกับ "เป๋อ จ๊กมก" และ "ชาติ จ๊กมก" |
ดนัย ศรีภิญโญ | แดนนี่ ศรีภิญโญ | ตุ่ม | 18 เมษายน พ.ศ. 2541 - 17 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
รุ่นที่ 2 | ||||
ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข | โหน่ง ชะชะช่า | โหน่ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 | เทปวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โหน่งรับหน้าที่แทน "เด๋อ ดอกสะเดา" โดยรับหน้าที่ร่วมกับ "ทอมมี่ เถิดเทิง" และ "โชเล่ย์ ดอกกระโดน" |
ดีใจ ดีดีดี (ชื่อเดิม: นิลุบล อมรวิทวัส) | ผัดไท นิลุบล | เต่า | 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 10 กันยายน พ.ศ. 2549 | เทปเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 และเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 ผัดไทรับหน้าที่แทน "เด๋อ ดอกสะเดา"[2][3] |
อุมา โพธิพิศ | ลิซ่า ไปรพิศ | หงส์ | 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 | |
บุญญาวัลย์ พงษ์สุวรรณ | ส้มเช้ง สามช่า | แก้ว | 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 | |
สราวุฒิ พุ่มทอง | ทีน สราวุฒิ | บุญล้น (ล้น) | 17 กันยายน พ.ศ. 2549 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 | |
พุฒิพงศ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร | เสนาเพชร | เฮียซ้ง | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 | |
ภาณุพันธ์ ครุฑโต | พัน พลุแตก | จ่าพัน | 12 กรกฎาคม - 27 กันยายน พ.ศ. 2552 |
เป็นนักแสดงหลักและนักแสดงสมทบประจำระเบิดเถิดเทิงที่มาร่วมเล่นเกมในช่วงท้ายรายการ แต่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินรายการหลักหรือร่วมแต่อย่างใด ซึ่งภายหลังชาวซอยเถิดเทิงบางคน (ผัดไท , ลิซ่า , ส้มเช้ง และ ทีน สราวุฒิ) ได้ไปเป็นผู้ดำเนินรายการร่วมตามลำดับ[ต้องการอ้างอิง]
ชาวซอยเถิดเทิง | รับบทเป็น | ช่วงระหว่าง |
---|---|---|
เป๋อ จ๊กมก | อาโกว | 2 กุมภาพันธ์ - เมษายน พ.ศ. 2546 |
ดีใจ ดีดีดี | เต่า | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 |
ลิซ่า ไปรพิศ | หงส์ | |
โชเล่ย์ ดอกกระโดน | ประสิทธิ์ | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 |
กอบโชค คล้ายสำริด | เฉื่อย | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
ทอมมี่ เถิดเทิง | ยายชา | |
ส้มเช้ง สามช่า | แก้ว | เมษายน พ.ศ. 2546 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 |
พัณณ์ชิตา เรืองเศวตนันท์ | แจ๊ส | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 |
นัทธมน เฉลิมวงศ์พันธ์ | นิ่ม | |
ถนอม สามโทน | บุญยอด (ยอด) | 9 มกราคม พ.ศ. 2548 - 29 มกราคม พ.ศ. 2549 |
สราวุฒิ พุ่มทอง | บุญล้น (ล้น) | 26 กุมภาพันธ์ - 10 กันยายน พ.ศ. 2549 |
เก่ง ชะชะช่า | สุรเชษฐ์ (เชษฐ์) | 5 มีนาคม - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549 |
ปี พ.ศ. | รางวัล | สาขา | ผู้ได้รับเสนอชื่อเข้าชิง | ผลรางวัล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2550 | Asian Television Awards 2007 | นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor) | เท่ง เถิดเทิง | winner | [4] |
2551 | Asian Television Awards 2008 | รายการตลกยอดเยี่ยม (BEST COMEDY PROGRAMME) | ระเบิดเถิดเทิง | Highly Commended | [5] |
นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor) | โหน่ง ชะชะช่า | winner | |||
2552 | Asian Television Awards 2009 | winner | [6] | ||
2558 | Asian Television Awards 2015 | รายการตลกยอดเยี่ยม (Best Comedy Programme) | ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง | Highly Commended | |
2559 | Asian Television Awards 2016 | ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ | winner | [7] | |
2560 | Asian Television Awards 2017 | ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก | [8] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.