ดร. คุณหญิงระวีพันธุ์ สุจริตกุล (เดิม: เจ้าระวีพันธุ์ ณ เชียงใหม่; เกิด: 24 มกราคม พ.ศ. 2471 - 1 มกราคม พ.ศ. 2558) เป็นธิดาในเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) กับเจ้าภัทรา ณ เชียงใหม่ เป็นนัดดาในพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย

ข้อมูลเบื้องต้น คุณหญิงเจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล ท.จ., เกิด ...

เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล

Thumb
เกิดเจ้าระวีพันธุ์ ณ เชียงใหม่
24 มกราคม พ.ศ. 2471
เสียชีวิต1 มกราคม พ.ศ. 2558 (86 ปี)
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
คู่สมรสสุชาต สุจริตกุล
บิดามารดา
ปิด

คุณหญิงระวีพันธุ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[1] และอดีตประธานมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก)[2]

ประวัติ

คุณหญิงระวีพันธุ์ สุจริตกุล หรือเจ้าต่อน ประสูติเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2471 เป็นธิดาคนที่สามในเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) กับเจ้าภัทรา ณ ลำพูน[3] มีพี่สาวร่วมบิดามารดาคือ เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน และมีพี่สาวต่างมารดาหนึ่งคนคือ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี

คุณหญิงระวีพันธุ์เข้าศึกษาที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จนจบชั้นมัธยม 6 (หรือมัธยมศึกษาตอนต้นในปัจจุบัน) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคพายัพ รุ่นที่ 7[4] รุ่นเดียวกับสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ จนจบชั้นมัธยม 8 และได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การพัฒนาสังคม) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2547[5]

คุณหญิงระวีพันธุ์ได้ประกอบธุรกิจเหมืองแร่ ร่วมกับนายสุชาต สุจริตกุล สามี

บั้นปลายชีวิต

ช่วงปี พ.ศ. 2553 คุณหญิงระวีพันธุ์ประสบอุบัติเหตุหกล้มจนต้องผ่าตัด และแพทย์ให้งดการออกงานสังคม จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยอาการเส้นเลือดอุดตันในปอด[6] ประกอบกับความดันต่ำอันเป็นโรคประจำตัว เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สิริอายุ 87 ปี[7] การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานน้ำหลวงอาบศพพร้อมโกศโถ และพระราชทานพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม[8]

และ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ณ เมรุปราสาทชั่วคราว วัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[9] การนี้ได้มีการจัดสร้างเมรุปราสาทสำหรับการพระราชทานเพลิงศพตามแบบประเพณีจัดการศพเจ้านายฝ่ายเหนือในอดีต

ครอบครัว

คุณหญิงระวีพันธุ์สมรสกับนายสุชาต สุจริตกุล ต.จ.[10] อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่, อดีตประจำสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี[11] บุตรของมหาเสวกโท พระยาสุจริตธำรง (อู๊ด สุจริตกุล) อธิบดีกรมวัง กับคุณหญิงเคลื่อน สุจริตธำรง (สกุลเดิม: สินธุประมา) มีบุตรธิดา 3 คน คือ

  1. รองศาสตราจารย์ ตะวัน สุจริตกุล สมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงนุช ศุขสวัสดิ์
  2. นางพันธุ์ระวี สุจริตกุล สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิรัช เจริญเอี่ยม
  3. นายรพี สุจริตกุล สมรสกับ นางจันทวรรณ สุจริตกุล

เจ้านายฝ่ายเหนือ

การสืบตระกูล ณ เชียงใหม่

คุณหญิงระวีพันธุ์ สุจริตกุล เป็นเจ้านายที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเจ้าผู้ครองนครลำพูน เรียกได้ว่าเป็นเจ้าโดยแท้[12] เมื่อเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) ถึงแก่พิราลัย เมื่อปี พ.ศ. 2515 ตามประเพณีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แก่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จะพระราชทานแก่ทายาทผู้เป็นชายเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ อนุชาของเจ้าราชบุตร จึงเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว จวบจนสืบทอดมายังเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ โอรสในเจ้าพงษ์อินทร์[13]

ผู้นำเจ้านายฝ่ายเหนือ

แม้ว่าคุณหญิงระวีพันธุ์ สุจริตกุล จะมิได้ดำรงสถานะเป็นผู้สืบตระกูล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ แต่ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำแห่งตระกูล[14] ด้วยเหตุว่าเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่สืบเชื้อสายโดยตรงอย่างบริสุทธิ์[12] คุณหญิงเป็นผู้นำเจ้านายฝ่ายเหนือแสดงออกถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งในนามของเจ้านายฝ่ายเหนือและมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ โดยร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่และเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดโครงการนิทรรศการถาวรบายศรีทูลพระขวัญ เพื่อเป็นการแสดงถึงความจงรักภักดี ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน

ภารกิจด้านสังคม

คุณหญิงระวีพันธุ์ได้มีโอกาสร่วมกับเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ผู้เป็นพี่สาว และหม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นภริยาของเจ้าบิดา ในการถวายงานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เกี่ยวกับการทอผ้า และกิจกรรมทางสังคมสงเคราะห์[12] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 เมื่อเจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน และหม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างกระทันหัน บทบาทหน้าที่งานสังคมทั้งหมดจึงตกเป็นภาระหน้าที่ของคุณหญิงระวีพันธุ์ อาทิ ประธานร้านจิตรลดา สนามบินเชียงใหม่ โรงฝึกทอผ้า อำเภอแม่วาง มูลนิธิเด็กกำพร้าบ้านกิ่งแก้ว วิบุลสันติ เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2535 คุณหญิงระวีพันธุ์ ได้ทุ่มเทเวลาให้กับกิจกรรมของมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งการจัดตั้งมูลนิธิกู่เจ้าหลวง ในปี พ.ศ. 2543

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 แพทย์สั่งให้งดออกงานสังคม แต่กระนั้นคุณหญิงระวีพันธุ์ก็ยังเดินทางไปดูแลบ้านเด็กกำพร้ากิ่งแก้วอยู่เป็นประจำ รวมทั้งเปิดบ้านให้ญาติพี่น้องและผู้เคารพนับถือเข้าพบที่บ้านพักส่วนตัว[7]

ผู้แทนพระองค์

คุณหญิงระวีพันธุ์ สุจริตกุล ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โปรดให้เป็นผู้แทนพระองค์ในการเปิดงานแสดงคอนเสิร์ตการกุศลเทิดพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ โรงละครกาดเทียร์เตอร์ อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของเจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล ...
ปิด

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.