คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

รหัสมอร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รหัสมอร์ส
Remove ads

รหัสมอร์ส (อังกฤษ: Morse code) เป็นวิธีการส่งข้อความเป็นชุดสัญญาณเสียง, ไฟ หรือเสียงเคาะ และจะมีลักษณะเป็นขีด และจุด เป็นภาษาที่ใช้กันได้ทั่วโลก สามารถเทียบเคียงเสียงอักษรได้ เริ่มแรกรหัสนี้เริ่มต้นขึ้นในราวกลาง ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส (Samuel F. B. Morse) และ อัลเฟรต เวล (Alfred Vail) ได้คิดค้นเครื่องส่งโทรเลขโดยใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมสนามแม่เหล็กของเครื่องรับปลายทางผ่านทางสายส่งสัญญาณ แต่ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากมีโอกาสผิดพลาดสูง

Thumb
แผนผังอักษรและตัวเลขรหัสมอร์ส[1]
Remove ads

รหัสมอร์สในปัจจุบัน

ปัจจุบันยังมีการใช้งานรหัสมอร์สอย่างมากในวงการวิทยุสมัครเล่น การติดต่อบางรูปแบบรหัสมอร์สยังสามารถใช้งานได้ดีที่สุด เช่นการติดต่อ สะท้อนออโรรา เป็นต้น ข้อดีอีกประการของการติดต่อแบบรหัสมอร์สผ่านวิทยุสื่อสารคือ ใช้แถบความถี่น้อยมากเมื่อเทียบกับการสื่อสารระบบอื่น ๆ เป็นการประหยัดความถี่ สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้โดยไม่มีการรบกวนกัน

Thumb
ต้นไม้ทวิภาครหัสมอร์สสากล: ไปทางซ้ายแทนจุด และไปทางขวาแทนขีด จนกว่าจะถึงตัวอักษรที่แสดง
Remove ads

รหัสมอร์สมาตรฐานสากล

ตัวอักษรและตัวเลข

ข้อมูลเพิ่มเติม ตัวอักษร, รหัสมอร์ส ...

เครื่องหมาย

ข้อมูลเพิ่มเติม เครื่องหมาย, รหัสมอร์ส ...
Remove ads

รหัสมอร์สภาษาไทย

สรุป
มุมมอง

รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อแรกเริ่มกิจการโทรเลขในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยใช้วิธีการรับส่งโทรเลขด้วยรหัสสัญญาณมอร์สสากล อักษรโรมัน ข้อความที่ใช้ในการส่งโทรเลขจึงต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษเท่านั้น หากต้องการส่งข้อความเป็นภาษาไทย ก็ต้องแปลข้อความนั้นเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วส่งไปเป็นตัวอักษรโรมัน หรือเขียนเป็นข้อความภาษาไทยด้วยตัวอักษรโรมัน ซึ่งวิธีดังกล่าวทำให้ล่าช้า และอาจคลาดเคลื่อนได้ง่าย

กรมไปรษณีย์โทรเลข จึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อีกทั้งทหารกับกรมรถไฟหลวง ก็จำเป็นต้องใช้รหัสสัญญาณโทรเลขแบบเดียวกัน จึงได้ตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ฝ่ายกลาโหม ฝ่ายกรมรถไฟหลวง และฝ่ายกรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อพิจารณาจัดทำรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทย กระทั่งสำเร็จและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

การจัดทำรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยนั้น คณะกรรมการได้อาศัยรหัสสัญญาณมอร์สสากลเป็นหลัก โดยเพิ่มเติมรหัสสัญญาณให้มากขึ้น เนื่องจากภาษาไทยมีจำนวนตัวพยัญชนะและสระมากกว่าตัวอักษรโรมันในภาษาอังกฤษ รหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยจึงมีพยัญชนะ 30 ตัว สระและวรรณยุกต์ 21 ตัว ทั้งนี้ คณะกรรมการมิได้กำหนดรหัสสัญญาณประจำทุกตัวพยัญชนะและสระในภาษาไทย เพราะหากพยัญชนะหรือสระตัวใดมีเสียงเหมือนกัน เช่น ค – ฆ , ด – ฎ , ส – ศ – ษ , ท – ธ – ฑ – ฒ , สระ ไ - ไ ก็จะกำหนดให้ใช้สัญญาณเดียวกัน ส่วนตัวเลขและเครื่องหมายวรรคตอน ยังคงใช้อย่างรหัสสัญญาณมอร์สสากล

กิจการโทรเลขของไทย ได้มีระบบวิธีการรับส่งด้วยรหัสสัญญาณมอร์สภาษาไทยที่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วยให้หน่วยงานราชการ และประชาชน สามารถติดต่อสื่อสารด้วยโทรคมนาคมสมัยใหม่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

พยัญชนะ

โปรดสังเกตว่ารหัสมอร์สอักษรไทยบางตัวตรงกับอักษรโรมัน โดยเฉพาะอักษรที่อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน เช่น M กับ ม หรือ N กับ น เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม ตัวอักษร, รหัสมอร์ส ...

สระ

ข้อมูลเพิ่มเติม สระ, รหัสมอร์ส ...

วรรณยุกต์

ข้อมูลเพิ่มเติม ตัวอักษร, รหัสมอร์ส ...

เครื่องหมาย

ข้อมูลเพิ่มเติม ตัวอักษร, รหัสมอร์ส ...
Remove ads

รหัสมอร์สญี่ปุ่น

สรุป
มุมมอง

รหัสมอร์สสำหรับตัวอักษรญี่ปุ่นเรียกว่า 和文モールス符号(วาบุนโมรุซุฟุโก) เมื่อต้องใช้ร่วมกับรหัสมอร์สสากล ให้ใช้ DO         เพื่อบอกเริ่มรหัสวาบุน และใช้ SN        เพื่อกลับไปรหัสมอร์สสากล

ข้อมูลเพิ่มเติม มอรา, รหัส ...
ข้อมูลเพิ่มเติม อักษร, รหัส ...
Remove ads

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads