Loading AI tools
เหตุการณ์ทางการเมือง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูโรไมดาน (อังกฤษ: Euromaidan, ยูเครน: Євромайдан, Yevromaidan ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เป็นคลื่นการเดินขบวนในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้มีบูรณาการยุโรปใกล้ชิดยิ่งขึ้น นับแต่นั้นขอบเขตการประท้วงวิวัฒนาขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูคอวิชและรัฐบาลลาออกจำนวนมาก[74] ผู้ประท้วงยังประกาศว่าพวกตนเข้าร่วมเพราะการขับไล่ผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน และ "ความประสงค์เปลี่ยนแปลงชีวิตในยูเครน"[5] จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2557 การประท้วงได้มีเชื้อจากความเข้าใจการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล การละเมิดอำนาจและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยูเครน[75]
ยูโรไมดาน | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ วิกฤติการณ์ยูเครน | |||
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: ธงยุโรป (EU) ที่ถูกชูที่ไมดานเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013, รัสลานากับกลุ่มผู้ประท้วงที่ไมดานในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013, กลุ่มผู้สนับสนุน EU ที่ไมดาน, กลุ่มยูโรไมดานที่จตุรัสยุโรป เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม, ต้นไม้ที่ตกแต่งด้วยธงกับโปสเตอร์, ฝูงชนฉีดน้ำที่มีลิตซียา, ฐานของอนุสาวรีย์เลนินที่ถูกโค่นล้ม | |||
วันที่ | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 – 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 (มีกลุ่มเล็กอีก จนถึงวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2014) | ||
สถานที่ | ประเทศยูเครน, ส่วนใหญ่เกิดที่เคียฟ | ||
สาเหตุ | เหตุหลัก:
เหตุอื่น ๆ: | ||
เป้าหมาย | |||
วิธีการ | การเดินขบวน, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, การดื้อแพ่ง, civil resistance, hacktivism,[11] occupation of administrative buildings[nb 1] | ||
ผล |
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
| |||
จำนวน | |||
ความสูญเสีย | |||
การเดินขบวนเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เมื่อมีการประท้วงอุบัติขึ้นหลายแห่งพร้อมกันในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หลังรัฐบาลยูเครนระงับการเตรียมลงนามความตกลงการสมาคม (Association Agreement) และความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนการพึ่งพาประเทศรัสเซียทางเศรษฐกิจมากขึ้น[76] ประธานาธิบดีได้ร้องขอเงินกู้และเงินอุดหนุน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[77] สหภาพยุโรปเต็มใจให้เงินกู้ 610 ล้านยูโร (838 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)[78] ทว่า รัสเซียเต็มใจเสนอเงินกู้ 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[78] รัสเซียยังเสนอราคาแก๊สแก่ยูเครนในราคาที่ถูกลง[78] นอกเหนือจากเงินแล้ว สหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎหมายในยูเครนอย่างมาก แต่รัสเซียไม่มีการกำหนดดังกล่าว[77] วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เริ่มมีการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระบอง ส่วนผู้ประท้วงใช้ก้อนหินและหิมะ โดยตำรวจเป็นฝ่ายใช้ก่อน หลังการเดินขบวนไม่กี่วันให้หลัง มีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้น[79] แม้การเรียกร้องให้รื้อฟื้นบูรณาการยูเครน-สหภาพยุโรปจะยังไม่ได้รับการสนองตราบจนปัจจุบัน แต่ยูโรไมดานได้แสดงลักษณะเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์นิยมทางการเมืองสำคัญแก่สหภาพยุโรปซ้ำ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น "การเดินขบวนนิยมยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์"[80]
การประท้วงยังดำเนินอยู่แม้จะมีตำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก[81][82] อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและหิมะเป็นปกติ ความรุนแรงทวีขึ้นในเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน จากกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ทำให้ระดับการประท้วงยกสูงขึ้น โดยมีผู้ประท้วง 400,000–800,000 คนเดินขบวนในเคียฟในวันสุดสัปดาห์ 1 ธันวาคมและ 8 ธันวาคม[83] หลายสัปดาห์นับจากนั้น ผู้เข้าร่วมการประท้วงอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000 ถึง 200,000 คนระหว่างการชุมนุมที่มีการจัดตั้ง[84][85] เหตุจลาจลรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม และวันที่ 19 ถึง 25 มกราคมเพื่อสนองต่อความทารุณของตำรวจ (police brutality) และการปราบปรามของรัฐบาล[86] ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม อาคารผู้ว่าการหลายแห่งและสภาภูมิภาคหลายแห่งในทางตะวันตกของประเทศถูกยึดในการก่อการกำเริบโดยนักเคลื่อนไหวยูโรไมดาน[15]
ตามการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเดือนธันวาคม 2556 (จัดทำโดยผู้สำรวจสามแห่ง) ผลปรากฏว่า ชาวยูเครนระหว่าง 45% และกว่า 50% สนับสนุนยูโรไมดาน ขณะที่มีผู้คัดค้านระหว่าง 42% ถึง 50%[87][88][89] พบว่าผู้สนับสนุนการประท้วงมากที่สุดอยู่ในเคียฟ (ราว 75%) และยูเครนตะวันตก (กว่า 80%)[87][90] ในการสำรวจความคิดเห็นเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคม ผู้ประท้วง 73% ตั้งใจว่าจะประท้วงต่อไปในเคียฟนานจนกว่าข้อเรียกร้องของพวกตนจะได้รับการตอบสนอง[5] การสำรวจความคิดเห็นยังแสดงว่าประชาชนต่างวัยมีความเห็นแตกต่างกัน ขณะที่คนหนุ่มสาวส่วนมากสนับสนุนสหภาพยุโรป คนสูงวัย (กว่า 50 ปี) มักสนับสนุนสหภาพศุลกากรเบลารุส คาซัคสถานและรัสเซียมากกว่า[91]
จุดเปลี่ยนมาถึงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เมื่อสมาชิกพรรคของประธานาธิบดีที่หลบหนีหรือแปรพักตร์มีจำนวนมากพอกระทั่งพรรคเสียเสียงข้างมากในรัฐสภายูเครน ส่งผลให้ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก และมีองค์ประชุมเพียงพอในที่สุด ทำให้รัฐสภาสามารถผ่านชุดกฎหมายซึ่งถอนตำรวจออกจากเคียฟ ยกเลิกปฏิบัติการต่อต้านการประท้วง ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญปี 2547 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และถอดถอนประธานาธิบดียานูโควิช ต่อมา ยานูโควิชหลบหนีไปยังเมืองคาร์คิฟ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของรัฐสภา รัฐสภากำหนดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเดือนพฤษภาคม 2557[92][93]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.