ยุทธการที่เบอร์ลิน หรือที่สหภาพโซเวียตตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบอร์ลิน (รัสเซีย : Битва за Берлин, Берлинская наступательная операция, Штурм Берлина ) เป็นการรุกใหญ่ในช่วงปลายเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง
ข้อมูลเบื้องต้น ยุทธการที่เบอร์ลิน, วันที่ ...
ยุทธการที่เบอร์ลิน ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออก ในสงครามโลกครั้งที่สอง ภาพการรบที่กรุงเบอร์ลินของสหภาพโซเวียตในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เบียร์ลิน - 1945 ผลิดโดย CSDF วันที่ 16 เมษายน – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 สถานที่ 52°31′N 13°23′E ผล
โซเวียตชนะอย่างเด็ดขาด
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และข้าราชการนาซีระดับสูงคนอื่นก่ออัตวินิบาตกรรม
ทหารประจำที่ตั้งนครเบอร์ลินยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม กำลังเยอรมันที่ยังสู้รบนอกเบอร์ลินยอมจำนนเมื่อวันที่ 8/9 พฤษภาคม (หลังการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของกำลังเยอรมันทั้งหมด) ดินแดน เปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 :
แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 2 :
แนวรบยูเครนที่ 1 :
กองทัพกลุ่มวิสตูลา :
กอททาร์ด ไฮน์รีซี
คูร์ท ฟอน ทิพเพลสเคียร์ช (แทนคูร์ท ซทูเดนท์ ) (ยอมจำนน)
กองทัพกลุ่มกลาง :
พื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน:
เฮลมุท เรย์มันน์ ,
แล้ว
กำลัง
กำลังทั้งหมด:
196 กองพล[ ต้องการอ้างอิง ]
ทหาร 2,500,000 นาย (กองทัพโปแลนด์ 155,900 – ประมาณ 200,000 นาย)
รถถังและปืนอัตตาจร 6,250 คัน
อากาศยาน 7,500 ลำ
ปืนใหญ่ 41,600 กระบอก
สำหรับการล้อมและการโจมตีพื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน: ทหาร 1,500,000 นาย
กำลังทั้งหมด:
36 กองพล
ทหาร 766,750 นาย
พาหนะต่อสู้ยานเกราะ 1,519 คัน
อากาศยาน 2,224 ลำ
ปืนใหญ่ 9,303 กระบอก
ในพื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน: ทหารราว 45,000 นาย, สนับสนุนโดยกำลังตำรวจ ยุวชนฮิตเลอร์และโฟล์คสซทูร์ม 40,000 คน
ความสูญเสีย
การวิจัยจดหมายเหตุ (รวมปฏิบัติการ)
เสียชีวิตหรือสูญหาย 81,116 นาย
ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ 280,251 นาย
รถถัง 1,997 คัน
ปืนใหญ่ 2,108 กระบอก
อากาศยาน 917 ลำ
จำนวนสูญเสียไม่ทราบแน่ชัด
ประเมิน: เสียชีวิต 92,000–100,000 นาย
ได้รับบาดเจ็บ 220,000 นาย
เป็นเชลย 480,000 นาย
ในพื้นที่ป้องกันเบอร์ลิน:
ทหารเสียชีวิตราว 22,000 นาย
พลเรือนเสียชีวิตราว 22,000 คน
ปิด
เริ่มจากวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1945 กองทัพแดงเจาะแนวรบเยอรมันหลังการรุกวิสตูลา–โอเดอร์และรุกมาทางทิศตะวันตกไกลถึง 40 กิโลเมตรต่อวันผ่านปรัสเซียตะวันออก โลว์เออร์ไซลีเชีย พอเมอราเนียตะวันออกและอัปเปอร์ไซลีเชีย และหยุดชั่วคราวตรงเส้น 60 กิโลเมตรทางตะวันออกของกรุงเบอร์ลินตามแม่น้ำโอเดอร์ เมื่อการรุกเริ่มขึ้นอีกครั้ง สองแนวรบ (กลุ่มกองทัพ) ของโซเวียตเข้าตีกรุงเบอร์ลินจากทางตะวันออกและใต้ ขณะที่แนวรบที่สามบุกกำลังเยอรมันซึ่งตั้งอยู่ทางเหนือของเบอร์ลิน ยุทธการในเบอร์ลินกินเวลาระหว่างวันที่ 20 เมษายนถึงเช้าวันที่ 2 พฤษภาคม
มีการเตรียมตั้งรับที่ชานกรุงเบอร์ลินครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม เมื่อผู้บัญชาการกองทัพกลุ่มวิสตูลาซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ พลเอก กอททาร์ด ไฮน์รีซี คาดเดาได้ถูกต้องว่าโซเวียตจะผลักดันข้ามแม่น้ำวิสตูลาเป็นหลัก ก่อนการยุทธ์หลักในกรุงเบอร์ลินจะเริ่มขึ้น ฝ่ายโซเวียตจัดการล้อมนครอันเป็นผลจากความสำเร็จในยุทธการที่ราบสูงซีโลว์ และที่ฮัลเบอ วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1945 แนวรบเบลารุสเซียที่ 1 นำโดย จอมพล เกออร์กี จูคอฟ เริ่มระดมยิงใจกลางนคร ขณะที่แนวรบยูเครนที่ 1 ของจอมพล อีวาน โคเนฟ ผลักดันจากทางใต้ผ่านแนวสุดท้ายของกองทัพกลุ่มกลาง การตั้งรับของเยอรมนีส่วนใหญ่มีเฮลมุท ไวด์ลิง เป็นผู้นำ และประกอบด้วยกองพลเวร์มัคท์และวัฟเฟน-เอสเอสที่อ่อนกำลังและมียุทโธปกรณ์จำกัด ซึ่งวัฟเฟน-เอสเอสมีอาสาสมัครต่างด้าวเอสเอสจำนวนมาก ตลอดจนสมาชิกโฟล์คสชทูร์ม และยุวชนฮิตเลอร์ ที่ได้รับการฝึกฝนอย่างจำกัด ภายในไม่กี่วัน ฝ่ายโซเวียตรุกผ่านนครและถึงใจกลางนครซึ่งมีการต่อสู้แบบประชิด
ก่อนยุทธการสิ้นสุด ฟือแรร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และผู้ติดตามจำนวนหนึ่งก่ออัตวินิบาตกรรม ผู้ป้องกันนครยอมจำนนในวันที่ 2 พฤษภาคม ทว่า การสู้รบยังดำเนินต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของนครจนสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปยุติลงในวันที่ 8 พฤษภาคม (หรือ 9 พฤษภาคมในสหภาพโซเวียต) เพราะหน่วยเยอรมนีต่อสู้และหนีไปทางตะวันตกเพื่อยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก แทนที่จะยอมจำนนต่อโซเวียต
Antill, P., Battle for Berlin: April – May 1945 — Includes the Order of Battle for the Battle for Berlin (Le Tissier, T. (1988), The Battle of Berlin 1945 , London: Jonathan Cape )
Durie, W. (2012), The British Garrison Berlin 1945–1994: No Where to Go , Berlin: Vergangenheits/Berlin, ISBN 978-3-86408-068-5
Empric, Bruce E. (2017), Onward to Berlin! Red Army Valor in World War II - The Full Cavaliers of the Soviet Order of Glory , Teufelsberg Press, ISBN 978-1973498605
Erickson, John (1983), The Road to Berlin: Continuing the History of Stalin's War with Germany , Westview Press, ISBN 978-0-89158-795-8
Anonymous ; A Woman in Berlin: Six Weeks in the Conquered City Translated by Anthes Bell, ISBN 978-0-8050-7540-3
Kuby, Erich (1968), The Russians and Berlin, 1945 , Hill and Wang
Moeller, Robert G. (1997), West Germany Under Construction , University of Michigan Press, ISBN 978-0-472-06648-3
Naimark, Norman M. (1995), The Russians in Germany: A History of the Soviet Zone of Occupation, 1945–1949 , Cambridge: Belknap, ISBN 978-0-674-78405-5
Read, Anthony; Fisher, David (1993), The Fall of Berlin , London: Pimlico, ISBN 978-0-7126-0695-0
Sanders, Ian J., Photos of World War 2 Berlin Locations today , คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 14 October 2007
Shepardson, Donald E. (1998), "The Fall of Berlin and the Rise of a Myth", The Journal of Military History , 62 (1): 135–153
Tilman, Remme, The Battle for Berlin in World War Two , BBC
White, Osmar, By the eyes of a war correspondent , คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 March 2007 — Alternative account of crimes against civilians
RT (TV network) , (official channel on YouTube ). "Fall of Berlin: Stopping the Nazi Heart" ที่ ยูทูบ . 27 June 2010. 26-minute video.