ยาฝังคุมกำเนิด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาฝังคุมกำเนิด (อังกฤษ: contraceptive implant) เป็นอุปกรณ์ปลูกฝังทางการแพทย์ใช้เพื่อคุมกำเนิด อาจทำโดยการปล่อยฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการตกไข่หรือการพัฒนาของตัวอสุจิ, การใช้ทองแดงเป็นสารฆ่าเชื้ออสุจิในมดลูก, หรืออาจใช้วิธีกีดขวางโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ยาฝังคุมกำเนิดถูกออกแบบเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ในประเทศไทย พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ให้ผู้มีอายุระหว่าง 10 ถึง 20 ปี เข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิวหนังได้ฟรีในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ[1]
ยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิวหนังทำงานโดยใช้ฮอร์โมน มีประสิทธิผลสูง และได้รับการรับรองในกว่า 60 ประเทศ ผู้หญิงนับล้านคนทั่วโลกใช้วิธีคุมกำเนิดนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของท่ออ่อนขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 40 มม. และใช้โดยการให้แพทย์ฝังใต้ผิวหนัง (มักฝังบนส่วนต้นแขน) หลังติดตั้งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์โดยการปล่อยฮอร์โมนที่หยุดไม่ให้รังไข่ปล่อยเซลล์ไข่และยังทำให้มูกช่องคลอดข้นขึ้น รูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ แบบหลอดเดียว (single-rod etonogestrel implant) และแบบสองหลอด (two-rod levonorgestrel implant)[2]
ยี่ห้อต่าง ๆ ได้แก่:
ประโยชน์ของยาฝังคุมกำเนิดแบบนี้ได้แก่ ประจำเดือนน้อยลง, ลดอาการก่อนมีประจำเดือน, ให้ผลเป็นเวลานาน (สูงสุดสามปี), ปลอดภัยสำหรับผู้ให้นมบุตรและผู้สูบบุหรี่, และ สะดวกเนื่องจากไม่ต้องดูแลหรือใช้ทุกวัน ในบางกรณีอาจส่งผลเสีย เช่น มีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติใน 6 ถึง 12 เดือนแรก ไม่บ่อยนักอาจมีผลกระทบ เช่น ทำให้ไม่อยากอาหาร, ซึมเศร้า, อารมณ์แปลปรวน, ระดับฮอร์โมนไม่ปกติ, เจ็บหน้าอก, น้ำหนักขึ้น, มึนหัว, มีอาการคล้ายคนท้อง, หรือ มีภาวะง่วงงุน[3]
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดขนาดเล็ก มักมีรูปร่างคล้ายตัว T ใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ มีหลายชนิดทั้งที่เคลือบทองแดง, เคลือบฮอร์โมน, และแบบไม่เคลือบสาร โดยเป็นวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้ซึ่งให้ประสิทธิผลสูงสุด[4] อัตราการล้มเหลวของห่วงอนามัยเคลือบทองแดงอยู่ที่ราว 0.8% ส่วนแบบเคลือบฮอร์โมนมีอัตราการล้มเหลวเพียง 0.2% ในการใช้ปีแรก[5] นอกจากนี้ยังเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ให้ความพอใจสูงสุดกับผู้ใช้[6] ใน พ.ศ. 2554 ห่วงอนามัยคุมกำเนิดเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบย้อนกลับได้ที่ถูกใช้มากที่สุดทั่วโลก[7] นอกจากนี้ห่วงอนามัยคุมกำเนิดยังมักเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ถูกที่สุดสำหรับผู้หญิง[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.