กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (อังกฤษ: Kepler space telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศของ นาซา ที่ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกโคจรอยู่รอบ ๆ ดาวฤกษ์ดวงอื่น[5] การตั้งชื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศนำมาจากนักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 โยฮันเนส เคปเลอร์[6] ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2009[7] หลังจากการปฏิบัติงานมากว่า 9 ปี เชื้อเพลิงของยานอวกาศเคปเลอร์ก็หมดลงทำให้นาซาประกาศปลดระวางภารกิจในวันที่ 30 ตุลาคม 2018[8][9]

ข้อมูลเบื้องต้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์, ประเภทภารกิจ ...
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์
Thumb
ภาพวาดในจินตนาการของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์
ประเภทภารกิจกล้องโทรทรรศน์อวกาศ
ผู้ดำเนินการนาซา / LASP
COSPAR ID2009-011A
SATCAT no.34380
เว็บไซต์www.nasa.gov/kepler
ระยะภารกิจวางแผน: 3.5 ปี
สิ้นสุด: 9 ปี, 7 เดือน, 23 วัน
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตBall Aerospace & Technologies
มวลขณะส่งยาน1,052.4 กิโลกรัม (2,320 ปอนด์)[1]
มวลแห้ง1,040.7 กิโลกรัม (2,294 ปอนด์)[1]
มวลบรรทุก478 กิโลกรัม (1,054 ปอนด์)[1]
ขนาด4.7 โดย 2.7 เมตร (15.4 โดย 8.9 ฟุต)[1]
กำลังไฟฟ้า1100 วัตต์[1]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น7 มีนาคม 2009, 03:49:57 UTC[2]
จรวดนำส่งเดลต้า II (7925-10L)
ฐานส่งสถานีกองทัพอากาศแหลมคะแนเวอรัล SLC-17B
ผู้ดำเนินงานUnited Launch Alliance
เริ่มปฎิบัติงาน12 พฤษภาคม 2009, 09:01 UTC
สิ้นสุดภารกิจ
ปิดการทำงาน15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 (2018-11-15)
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงวงโคจรรอบดวงอาทิตย์
ระบบวงโคจรตามโลก
กึ่งแกนเอก1.0133 AU
ความเยื้อง0.036116
ระยะใกล้สุด0.97671 AU
ระยะไกลสุด1.0499 AU
ความเอียง0.4474 องศา
คาบการโคจร372.57 วัน
มุมของจุดใกล้ที่สุด294.04 องศา
มุมกวาดเฉลี่ย311.67 องศา
การเคลื่อนไหวเฉลี่ย0.96626 องศาต่อวัน
วันที่ใช้อ้างอิง1 มกราคม 2018 (J2000: 2458119.5)[3]
กล้องโทรทรรศน์หลัก
ชนิดแบบชมิท
เส้นผ่านศูนย์กลาง0.95 เมตร (3.1 ฟุต)
พื่นที่รับแสง0.708 ตารางเมตร (7.62 ตารางฟุต)[lower-alpha 1]
ความยาวคลื่น430–890 nm[3]
อุปกรณ์ส่งสัญญาณ
แบนด์วิดท์เอกซ์แบนด์ บน: 7.8 บิตต่อวินาที – 2 กิโลบิตต่อวินาที[3]
เอกซ์แบนด์ ล่าง: 10 บิตต่อวินาที – 16 กิโลบิตต่อวินาที[3]
Ka band ล่าง: จนถึง 4.3 เมกะบิตต่อวินาที[3]
Thumb
โครงการดิสคัฟเวอรี
GRAIL 
 
ปิด

กล้องโทรทรรศน์อวกาศอันนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่คล้ายโลกที่โครจรอยู่ในเขตอาศัยได้และทำการประมาณค่าว่าดาวฤกษ์หลายพันล้านดาวในทางช้างเผือกมีดาวเคราะห์ดังกล่าวกี่ดวง[10][11][12] อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ติดไปกับตัวกล้องนั้นคือเครื่องวัดความเข้มแสงที่คอยตรวจสอบความต่อเนื่องของแสงสว่างของดาวฤกษ์ประมาณ 150,000 ดวงในแถบลำดับหลัก[13] จากนั้นกล้องนจะส่งข้อมูลกลับไปยังสถานีเพื่อทำการตรวงสอบการบังแสงของดาวเคราะห์ในขณะที่มันโคจรผ่านดาวฤกษ์ ช่วงตลอดเวลา 9 ปีของภาระกิจมันทำการสังเกตดาวฤกษ์กว่า 530,506 ดาวและค้นพบดาวเคราะห์อีก 2,662 ดวง[14]

หมายเหตุ

  1. ช่องรับแสงขนาด 0.95 ม. ให้พื้นที่รวมแสง Pi×(0.95/2)2 = 0.708 ม.2; CCD จำนวน 42 ตัวแต่ละตัวขนาด 0.050 ม. × 0.025 ม. ให้พื้นที่ตัวรับรู้ทั้งหมด 0.0525 ม.2:[4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.