ยานสำรวจอวกาศ ดอว์น (อังกฤษ: Dawn) เป็นยานสำรวจอวกาศขององค์การนาซาแบบใช้หุ่นยนต์ควบคุม ถูกส่งไปในภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุด 2 ดวงในแถบดาวเคราะห์น้อย คือ ดาวเคราะห์น้อยเวสตา และดาวเคราะห์แคระ เซเรส ดอว์นขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550 ถึงดาวเคราะห์น้อยเวสต้าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งมีกำหนดจะสำรวจต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2555 และมีกำหนดจะไปถึงดาวเคราะห์น้อยเซเรสในปี พ.ศ. 2558 นับเป็นยานอวกาศดวงแรกที่จะไปเยือนวัตถุในระบบสุริยะทั้งสองนี้ ดอว์นเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อให้ยานอวกาศสามารถเข้าไปอยู่ในวงโคจรรอบวัตถุทางดาราศาสตร์ ศึกษาวัตถุนั้น แล้วผละออกมาเพื่อมุ่งหน้าไปสำรวจเป้าหมายอื่น ขณะที่ยานสำรวจอวกาศอื่น ๆ ในโครงการก่อนหน้านี้ เช่นโครงการวอยเอจเจอร์ ได้ทำการสำรวจวัตถุดาราศาสตร์ต่าง ๆ โดยการเคลื่อนที่ผ่านเท่านั้น[5]

ข้อมูลเบื้องต้น ดอว์น, ประเภทภารกิจ ...
ดอว์น
ภาพวาดจำลองของศิลปิน แสดงยานอวกาศดอว์น
ประเภทภารกิจยานอวกาศหลายเป้าหมาย
ผู้ดำเนินการนาซา / เจพีแอล
COSPAR ID2007-043A
SATCAT no.32249
เว็บไซต์http://dawn.jpl.nasa.gov/
ระยะภารกิจ11 ปี 1 เดือน 4 วัน[1][2]
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิต
มวลขณะส่งยาน1,217.7 กิโลกรัม (2,684.6 ปอนด์)[4]
มวลแห้ง747.1 กิโลกรัม (1,647.1 ปอนด์)[4]
ขนาด1.64 × 19.7 × 1.77 เมตร (5.4 × 65 × 5.8 ฟุต)[4]
กำลังไฟฟ้า10 kW at 1 AU[4]
1.3 kW at 3 AU[5]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น27 กันยายน ค.ศ. 2007, 11:34 UTC[6]
จรวดนำส่งDelta II 7925H
ฐานส่งแหลมคะแนเวอรัล SLC-17B
ผู้ดำเนินงานUnited Launch Alliance
สิ้นสุดภารกิจ
การกำจัดวงโคจรเสถียรที่ไม่สามารถควบคุมได้
ติดต่อครั้งสุดท้าย30 ตุลาคม 2018[7]
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงซีรีส
ระบบวงโคจรHighly elliptical
กึ่งแกนเอก2,475.1356 กิโลเมตร (1,537.9780 ไมล์)[8]
ความเยื้อง0.7952 [8]
ระยะใกล้สุด37.004 กิโลเมตร (22.993 ไมล์)
ระยะไกลสุด3,973.866 กิโลเมตร (2,469.246 ไมล์)
ความเอียง76.1042 องศา[8]
คาบการโคจร1,628.68 นาที[8]
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น-79.4891 องศา[8]
มุมของจุดใกล้ที่สุด164.1014 องศา[8]
วันที่ใช้อ้างอิง30 ตุลาคม 2018, 00:00:00 UTC[8]
บินผ่านดาวอังคาร
เข้าใกล้สุด18 กุมภาพันธ์ 2009, 00:27:58 UTC[6]
ระยะทาง542 กิโลเมตร (337 ไมล์)[6]
ยานอวกาศโคจรรอบ 4 เวสต้า
แทรกวงโคจร16 กรกฎาคม 2011, 04:47 UTC[9]
ออกวงโคจร5 กันยายน 2012, 06:26 UTC[6]
ยานอวกาศโคจรรอบ 1 ซีรีส
แทรกวงโคจร6 มีนาคม 2015, 12:29 UTC[6]

Dawn mission patch
Discovery program
 Deep Impact
 
ปิด

สถานะ

วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดอว์นได้จับภาพเป้าหมายเป็นครั้งแรกที่ระยะห่าง 1.2 ล้านกิโลเมตรจากเวสต้า และเริ่มเข้าสู่ช่วงบินเข้าหาดาวเคราะห์น้อยดังกล่าว[10] วันที่ 12 มิถุนายน ความเร็วของดอว์นเทียบกับเวสต้าลดลงเพื่อเตรียมการเข้าสู่วงโคจรในอีก 34 วันให้หลัง[11]

ดอว์นมีกำหนดจะเข้าสู่วงโคจรเมื่อเวลา 05:00 UTC วันที่ 16 กรกฎาคม หลังช่วงผลักดันด้วยเครื่องยนต์ไอออน เนื่องจากสายอากาศของดอว์นชี้ออกจากโลกในระหว่างการผลักดัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจยืนยันได้ในทันทีทันใดว่าดอว์นสามารถเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จหรือไม่ ยานอวกาศดังกล่าวกำหนดทิศทางใหม่และมีกำหนดจะเข้าทำงานเมื่อเวลา 06:30 UTC ของวันที่ 17 กรกฎาคม[12] ภายหลัง องค์การนาซาได้ยืนยันว่าองค์การได้รับข้อมูลทางไกลจากดอว์นซึ่งบ่งชี้ว่ายานอวกาศดังกล่าวเข้าสู่วงโคจรรอบเวสต้าได้สำเร็จ[13] ยังไม่มีการยืนยันเวลาที่แน่นอนของการเข้าสู่วงโคจร เพราะขึ้นอยู่กับการกระจายมวลของเวสต้า ซึ่งยังทำได้แค่ประมาณการเท่านั้น[14]

ภารกิจ

เป้าหมายของภารกิจ เพื่อบรรยายลักษณะและกระบวนการของมหายุคแรกสุดของระบบสุริยะ โดยการสำรวจรายละเอียดดาวเคราะห์ก่อนเกิดสองดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ยังคงไม่ได้รับความเสียหายนับแต่ระบบสุริยะก่อตัวขึ้น เซเรสและเวสต้ามีลักษณะเฉพาะที่ขัดกันเป็นอย่างมากซึ่งคาดกันว่าเป็นผลมาจากการที่พวกมันก่อตัวขึ้นในสองบริเวณที่แตกต่างกันในระบบสุริยะยุคแรกเริ่ม มีตัวอย่างจากเซเรสจำนวนมากที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงได้ ในรูปของอุกกาบาต HED มากกว่า 200 ลูก ซึ่งให้ความกระจ่างแก่ประวัติศาสตร์และโครงสร้างธรณีวิทยาของเวสต้า เชื่อกันว่าเวสต้าประกอบด้วยแก่นโลหะเหล็ก-นิกเกิล ชั้นแมนเทิลที่มีโอลิวีนเหมือนหินที่อยู่ด้านบน และผิวเปลือก[15][16][17]

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.