Remove ads
ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2548 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหา'ลัย เหมืองแร่ เป็นภาพยนตร์ไทยระดับงานคุณภาพที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2548 เขียนบทและกำกับโดย จิระ มะลิกุล จากหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด เหมืองแร่ ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้งบประมาณสร้างสูงถึง 70 ล้านบาท แต่ถึงแม้จะล้มเหลวด้านรายได้ ฉาย 10 วันได้รายได้เพียง 19 ล้านบาท [1] แต่ก็สามารถคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมถึง 3 สถาบันจากรางวัลสุพรรณหงส์[2] ชมรมวิจารณ์บันเทิง[3] และคมชัดลึก อวอร์ด[4]
มหา'ลัย เหมืองแร่ | |
---|---|
โปสเตอร์ | |
กำกับ | จิระ มะลิกุล |
เขียนบท | นวนิยาย: อาจินต์ ปัญจพรรค์ บทภาพยนตร์: จิระ มะลิกุล |
บทภาพยนตร์ | จิระ มะลิกุล |
อำนวยการสร้าง | จิระ มะลิกุล ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ ยงยุทธ ทองกองทุน |
นักแสดงนำ | พิชญะ วัชจิตพันธ์ ดลยา หมัดชา สนธยา ชิตมณี นิรันต์ ชัตตาร์ แอนโทนี โฮวาร์ด กูลด์ จุมพล ทองตัน จรัล เพ็ชรเจริญ |
ผู้บรรยาย | พิชญะ วัชจิตพันธ์ |
กำกับภาพ | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ |
ตัดต่อ | ปาน บุษบรรณ |
ดนตรีประกอบ | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ / Wild At Heart |
ผู้จัดจำหน่าย | จีทีเอช |
วันฉาย | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 |
ความยาว | 111 นาที |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 70 ล้านบาท |
ทำเงิน | 30 ล้านบาท |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
พ.ศ. 2492 อาจินต์ ปัญจพรรค์ วัย 22 ปี นิสิตชั้นปีที่สองจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกรีไทร์ออกจากมหาวิทยาลัย เขาเดินทางไปภาคใต้ อาศัยรถขนหมูจากภูเก็ต มุ่งหน้าไปทำงานที่เหมืองกระโสม ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา หลังจากได้พบและสัมภาษณ์งานกับ นายฝรั่ง (Anthony Howard Gould) เขาได้ฝึกงาน ติดตามนายฝรั่ง และทำงานใช้แรงงานแทนคนงานของเรือขุดสายแร่ดีบุก ณ ที่นี้ ชีวิตของอดีตนักศึกษาชั้นปี 2 จากมหาวิทยาลัยดัง ได้เริ่มชีวิตปี 1 ใน มหา'ลัย เหมืองแร่ แล้ว
ปี | รายการ | รางวัล/สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | พิชญะ วัชจิตพันธ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | สนธยา ชิตมณี | ชนะ | ||
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | นเรศ สราภัสสร , ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา | ชนะ | ||
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | อภิญญา ชวรางกูร | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | จรัล เพ็ชรเจริญ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | ปาน บุษบรรณ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ , Wild At Heart | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | พิชญะ วัชจิตพันธ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | สนธยา ชิตมณี | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม | นเรศ สราภัสส ,ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 3 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | สนธยา ชิตมณี | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 3 | กำกับภาพยอดเยี่ยม | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ | ชนะ |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | อมรพงศ์ เมธาคุณวุฒิ , Wild At Heart | ชนะ | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เอก เอี่ยมชื่น | ชนะ | ||
พ.ศ. 2549 | รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 3 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จิระ มะลิกุล | ชนะ | ||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.