ภิมุข อังกินันทน์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภิมุข อังกินันทน์ (9 กันยายน พ.ศ. 2468 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี 4 สมัย
ภิมุข อังกินันทน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กันยายน พ.ศ. 2468 อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
เสียชีวิต | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (85 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคชาติไทย |
คู่สมรส | นันทวัน อังกินันทน์ |
ประวัติ
ภิมุข อังกินันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2468 เป็นบุตรชายของนายทองพูน อังกินันทน์ และ นางประมูล อังกินันทน์[1] และเป็นลูกพี่ลูกน้องของนายปิยะ อังกินันทน์ และ นายยุทธ อังกินันทน์ สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนอรุณประดิษฐ, โรงเรียนอำนวยศิลป์ และ โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ
ภิมุข สมรสกับนางนันทวัน อังกินันทน์ (สกุลเดิม : แซ่เจ็ง) มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ นายภานุมาศ อังกินันทน์, นายภควันต์ อังกินันทน์ (เสียชีวิตแล้ว) ผศ.ดร. ภาวนา อังกินันทน์ และนายอภินันทน์ อังกินันทน์
ภิมุข เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจหลอดเลือดตีบ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สิริอายุรวม 85 ปี
การทำงาน
ภิมุข เริ่มทำงานรับราชการเป็นนายสถานีในกรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ในหลายพื้นที่ จากนั้นได้ลาออกมาทำงานเป็นผู้จัดการ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด รวมไปถึงประกอบอาชีพเป็นรับเหมาขนแร่ ในเหมืองแร่แห่งหนึ่ง ที่อำเภอบ้านลาด
งานการเมือง
ภิมุข เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบุรี ใน พ.ศ. 2510 จากนั้นได้รับการแต่งตั้ง เป็นเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี ใน พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2517 ก่อนที่จะถูกชักชวนจากนายปิยะ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2531 รวม 4 สมัย
ภิมุข วางมือทางการเมือง หลังจากที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 และปัญหาสุขภาพ[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ภิมุข อังกินันทน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเพชรบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
- พ.ศ. 2530 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.