ภาษาอาหม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหม เป็นภาษาที่ตายแล้ว[n 1] ในตระกูลภาษาขร้า-ไท ภาษาอาหมนั้นมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัมซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงให้เห็นว่านักบวชชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงฟื้นฟูภาษา
ภาษาอาหม | |
---|---|
𑜒𑜑𑜪𑜨 | |
คำว่า อาหม ในอักษรอาหม | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศอินเดีย |
ภูมิภาค | รัฐอัสสัม |
ชาติพันธุ์ | ชาวอาหม |
สูญแล้ว | คริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือ 19[1] ปัจจุบันใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาและวรรณกรรมของชาวอาหม |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
ระบบการเขียน | อักษรอาหม |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | aho |
พัฒนาการและการจัดจำแนกภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บรรพบุรุษน่าจะเป็นภาษาไทดั้งเดิมเมื่อราว 2,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับภาษาจีนแต่อาจจะเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ชาวอาหมเดิมอยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและเวียดนาม ต่อมาได้อพยพเข้ามณฑลยูนนาน รัฐชาน จนถึงลุ่มแม่น้ำพรหมบุตรในที่สุด
ชาวอาหมได้พัฒนาอาณาจักรของตนเองในช่วง พ.ศ. 1771-2386 ภาษาอาหมเป็นภาษาทางการของอาณาจักรตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-21 จนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยภาษาอัสสัมที่เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นผลมาจากการรับวัฒนธรรมฮินดู
ชาวอาหมไม่เคยคิดว่าตัวเองต่ำต้อย จนกระทั่งกษัตริย์อาหมยอมรับวัฒนธรรมฮินดู นำระบบวรรณะมาใช้ เพราะถูกพราหมณ์ยกยอ และนำพิธีกรรมมารองรับสถานะให้กษัตริย์มีฐานะที่สูงขึ้น เมื่อนำพิธีกรรมต่าง ๆ มาใช้ ภาษาก็เปลี่ยนไปตามพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรม ทั้งที่ชาวอาหมแท้ ๆ นั้นมีจำนวนไม่มากนัก และภาษาอัสสัมก็ครอบงำสังคม รวมไปถึงราชสำนักเพื่อเข้าถึงฮินดู จนลามไปยังขุนนางและราษฎรต่าง ๆ ครั้นตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อังกฤษก็ถอดกษัตริย์อาหมออก และให้อำนาจแก่พราหมณ์และขุนนางฮินดูแทน ภาษาอาหมจึงใช้กันจำกัดลงเรื่อย ๆ จนเป็นภาษาตายไม่มีใครใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มนักบวชเทวไท (Deotai) ซึ่งเป็นนักบวชตามความเชื่อลัทธิฟ้าหลวง แม้จะพยายามรักษาประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ แต่ก็ทำได้จำกัด และนักบวชก็ขาดคนพูดอาหมด้วย และไม่มีใครเข้าใจได้ชัดเจน
แม้ว่าภาษาอาหมจะมีการฟื้นฟูอย่างน้อย 3 ช่วงเวลา ช่วงที่ 1 ในสมัยพระเจ้าจักรธวัช สิงห์ในช่วง ค.ศ. 1663 ช่วงที่ 2 ในยุคหลังจากอังกฤษเข้าปกครองในรัฐอัสสัมราวปี ค.ศ. 1826 และช่วงที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1980 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟูภาษาไทและตั้ง สมาคมวรรณกรรมไทตะวันออก (Eastern Tai Literary Association) ที่เมืองกูวาฮาติ โดยมุ่งมั่นปฏิบัติให้พัฒนาการเรียน เขียนอ่านภาษาอาหม พร้อมกันนี้ให้สนับสนุนให้ค้นคว้าศึกษาเอกสารโบราณของชาวอาหมอย่างจริงจัง การฟื้นฟูภาษาอาหมนั้นอาศัยสัทวิทยาของภาษาพี่น้อง เช่น ภาษาอ่ายตนและภาษาพ่าเก โดยภาษาดังกล่าวจะถูกเรียกว่า ภาษาไทในอัสสัม เนื่องจากประกอบไปด้วยคำไททุกกลุ่มในรัฐอัสสัม หากการฟื้นฟูดังกล่าวได้ผล ภาษาเขียนในรัฐอัสสัมจะใช้อักษรอาหมเป็นหลักแทนอักษรไทอื่น ๆ ในรัฐอัสสัม[3] โดยอาศัยพื้นฐานภาษาอ่ายตนในรัฐอัสสัม เนื่องจากใกล้เคียงกับภาษาอาหมมากที่สุด ชาวอาหมอาจอาศัยชาวอ่ายตนในการรื้อฟื้นภาษา[4]
ภาษาอาหมกับภาษาในศิลาจารึกสุโขทัยของไทย ต่างก็เป็นภาษาไทยุคเก่าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากกว่าภาษาถิ่นไทยในปัจจุบัน และในภาษาอาหมไม่มีการใช้คำราชาศัพท์ คำที่ใช้พูดกับคนธรรมดาก็ใช้พูดกับกษัตริย์ได้ การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม รากศัพท์เป็นคำเดี่ยว ไม่มีการผันคำกริยา ไม่มีกาล และไม่มีรูปพหูพจน์ของคำนาม แสดงเวลาด้วยกริยาช่วย
กลอนอาหมที่มีเรื่องเกี่ยวกับการสร้างโลก ซึ่งเป็นกลอนไทยที่มีจำนวนพยางค์เลขคี่เขียนแบบกลอนหัวเดียว ลงท้ายวรรคคู่ด้วยสระเสียงเดียวกัน เหมือนเพลงลำตัด หรือเพลงเรือ สรุปคือ กลอนหก และกลอนแปดของไทยเป็นลูกผสมระหว่างกลอนไทยที่มีจำนวนพยางค์เป็นเลขคี่ แต่ต่อมาใช้เลขคู่แบบปัฐยาวัตของอินเดีย และคำสวดของอาหม ก็คล้ายกับ แหล่ ของไทยด้วย
|
|
อาหมมีตัวเลขพื้นฐานดังนี้:[5]
จำนวนนับ | /lɯŋ/ | /sɔ:ŋ/ | /sam/ | /si:/ | /ha/ | /ruk/ | /cit/ | /pit/ | /kaw/ | /sip/ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | |
เลขลำดับ | /ʔaj/ | /ŋi:/ | /sam/ | /saj/ | /ŋu:/ | /luk/ | /cit/ | /pit/ | /kaw/ | /sip/ |
ที่ 1 | ที่ 2 | ที่ 3 | ที่ 4 | ที่ 5 | ที่ 6 | ที่ 7 | ที่ 8 | ที่ 9 | ที่ 10 |
ในการนับเลขอาหมโดยเฉพาะการนับทั้งหมด แต่มีสำเนียงเพี้ยนจากภาษาไทยไปบ้าง
ด้านล่างคือตารางเทียบภาษาอาหมกับภาษากลุ่มไทอื่น ๆ
ไทย | ไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม[6] | สัทอักษรไทย | ลาว | ไทยถิ่นเหนือ | ไทใหญ่ | ไทลื้อ | จ้วงมาตรฐาน | อาหม:[5] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลม | *lom | /lōm/ | /lóm/ | /lōm/ | /lóm/ | /lôm/ | /ɣum˧˩/ | /lum/ |
เมือง | *mɯaŋ | /mɯ̄aŋ/ | /mɯ́aŋ/ | /mɯ̄aŋ/ | /mɤ́ŋ/ | /mɤ̂ŋ/ | /mɯŋ˧/ | /mɯng/ |
ดิน | *ʔdin | /dīn/ | /dìn/ | /dīn/ | /lǐn/ | /dín/ | /dei˧/ | /nin/ |
ไฟ | *vai/aɯ | /fāj/ | /fáj/ | /fāj/ | /pʰáj/ or /fáj/ | /fâj/ | /fei˧˩/ | /pʰaj/ |
หัวใจ | *čai/aɯ | /hǔa tɕāj/ | /hǔa tɕàj/ | /hǔa tɕǎj/ | /hǒ tsǎɰ/ | /hó tɕáj/ | /sim/ | /caj/ |
รัก | *rak | /rák/ | /hāk/ | /hák/ | /hâk/ | /hak/ | /gyai˧˩/ | /hak/ |
น้ำ | *naam | /náːm/ | /nâm/ | /nám/ | /nâm/ | /nà̄m/ | /ɣaem˦˨/ | /nam/ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.