Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามันดาอิก หรือเฉพาะเจาะจงคือ ภาษามันดาอิกคลาสสิก เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนามันดาอี ใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิก และได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านอื่น ๆ ทั้งในด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ ภาษามันดาอิกคลาสสิก จัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิกที่ใช้พูดในบาบิโลเนียและภาษาในเมโสโปเตเมียอื่น ๆ มีความใกล้เคียงกับภาษาซีเรียค ที่เป็นภาษาของชาวคริสต์ในตะวันออกกลาง
ภาษามันดาอิก | |
---|---|
ࡋࡉࡔࡀࡍࡀ ࡃ ࡌࡀࡍࡃࡀࡉࡉ Lishāna’d Mandāyì | |
ประเทศที่มีการพูด | อิรักและอิหร่าน |
ภูมิภาค | อิรัก – แบกแดด, บัสรา อิหร่าน – ฆูเซสถาน |
ชาติพันธุ์ | ชาวมันดาอี |
จำนวนผู้พูด | 5,500 (2001–2006)[1] |
ตระกูลภาษา | แอโฟรเอชีแอติก
|
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาแอโฟรเอชีแอติกดั้งเดิม
|
ระบบการเขียน | อักษรมันดาอิก |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:mid – ภาษามันดาอิกmyz – ภาษามันดาอิกคลาสสิก |
นักภาษาศาสตร์ | mid ภาษามันดาอิกใหม่ |
myz ภาษามันดาอิกคลาสสิก | |
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลก (2010) ของยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ในสถานะใกล้สูญขั้นวิกฤต[2] |
ภาษามันดาอิกใหม่พัฒนามาจากภาษามันดาอิก ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาแอราเมอิก ภาษาแอราเมอิกเคยใช้เป็นภาษากลางในยุคอัสซีเรียและอะคีเมนิด และเป็นภาษาสำหรับการติดต่อระหว่างชาติ หลังจากนั้น ภาษาแอราเมอิกพัฒนาออกไปเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มตะวันตกได้แก่ภาษาทัลมูดิกในปาเลสไตน์ ภาษาปาเลสไตน์ของชาวคริสต์ และภาษาซามาริทัน กับกลุ่มตะวันออก ได้แก่ ภาษาบาบิโลเนียยุคสุดท้าย ภาษาซีเรียคและภาษามันดาอิก
ภาษาที่ยังเหลืออยู่ของภาษาแอราเมอิกกลุ่มตะวันออกได้แก่ ภาษาแอราเมอิกใหม่กลาง (ภาษาตูโรโยและภาษามลาโซ) ภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนือ (เป็นกลุ่มใหญ่สุด ซึ่งรวมทั้งภาษาแอราเมอิกใหม่ในหมู่ชาวยิวและภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดีย) และภาษามันดาอิกใหม่ ส่วนภาษาที่เหลือรอดของกลุ่มตะวันตกมีภาษาเดียวคือภาษาแอราเมอิกใหม่ตะวันตกที่ใช้พูดในบางหมู่บ้านในดามัสกัส ในบรรดาภาษาที่เหลือรอดเหล่านี้ ภาษามันดาอิกใหม่จัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาแอราเมอิกโดยตรง ในทางไวยากรณ์ ภาษามันดาอิกใหม่มีลักษณะอนุรักษนิยมเมื่อเทียบกับภาษาอราเมอิใหม่กลุ่มตะวันออกอื่น ๆ โดยยังคงใช้การเชื่อมต่อปัจจัยแบบภาษาเซมิติกยุคเก่า
ภาษามันดาอิกใหม่เหลืออยู่สามสำเนียง ใช้พูดในเมืองซุซตาร์ ชาห์ วาลติ และเดซฟูล ในฆูเซสถานตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศอิหร่าน ชุมชนชาวมันดาอีในเมืองเหล่านี้อพยพออกในช่วง พ.ศ. 2523 และเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองอะห์วาซและโคร์รัมชาห์ ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามอิรัก-อิหร่าน
ข้อความข้างล่างนำมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 ในภาษามันดาอิก[3]
มันดาอิก: ".ࡊࡅࡋ ࡀࡍࡀࡔࡀ ࡌࡀࡅࡃࡀࡋࡇ ࡀࡎࡐࡀࡎࡉࡅࡕࡀ ࡅࡁࡊࡅࡔࡈࡂࡉࡀࡕࡀ ࡊࡅࡉ ࡄࡃࡀࡃࡉࡀ. ࡄࡀࡁ ࡌࡅࡄࡀ ࡅࡕࡉࡓࡀࡕࡀ ࡏࡃࡋࡀ ࡏࡉࡕ ࡓࡄࡅࡌ ࡅࡆࡁࡓ ࡁࡄࡃࡀࡃࡉࡀ"
ปริวรรต: "kul ānāʃā māudālẖ āspāsiutā ubkuʃᵵgiātā kui hdādiā. hāb muhā utirātā ʿdlā ʿit rhum uzbr bhdādiā."
แปลไทย: "มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ"
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.