Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยานาสซิ (หรือ ยานซาส-อะเดน อาจจะสะท้อนถึงกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก *Jinaśśi’-Ad) เป็นเจ้าชายชาวฮิกซอส และอาจจะทรงเป็นฟาโรห์ของราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของฟาโรห์คยาน และอาจจะเป็นมกุฎราชกุมาร ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์คยาน พระองค์อาจจะทรงสืบพระราชบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการกล่าวถึงฟาโรห์พระนามว่า "อิอานนาส" ในแอกิปเทียกาของแมนิโธ ซึ่งกล่าวกันว่าไม่น่าจะทรงปกครองหลังจากรัชสมัยของฟาโรห์อโพฟิส
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง คิม ไรฮอล์ท นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่า ฟาโรห์อโพฟิสทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์คยาน และเนื่องจากพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของฟาโรห์คยาน ไรฮอล์ทจึงได้เสนอว่า ฟาโรห์อโพฟิสทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์[1] แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวกลับถูกปฏิเสธว่าเป็นเพียงการคาดเดาโดยนักวิชาการรวมถึง เดวิด แอสตัน[2] การค้นพบทางโบราณคดีในช่วงปี ค.ศ. 2010 ได้แสดงให้เห็นว่าการปกครองของฟาโรห์คยาน อาจจะต้องย้อนเวลากลับไปอีก ทำให้เกิดความต้องการและเวลาสำหรับฟาโรห์อีกหนึ่งพระองค์หรือมากกว่าที่จะทรงขึ้นครองราชย์ระหว่างรัชสมัยฟาโรห์คยานและฟาโรห์อโพฟิส นอกจากนี้ บันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามทั้งหมดที่ถูกเขียนขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 ซึ่งสามารถตีความได้ว่า ในบันทุกพระนามได้บันทึกว่า ฟาโรห์ที่ทรงขึ้นปกครองก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์อโพฟิสแและหลังรัชสมัยของฟาโรห์คยานอยู่ที่ระยะเวลานานกว่า 10 ปี และอาจจะเป็นไปได้ว่าคือฟาโรห์ยานาสซิ ถ้าหากพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์อโพฟิสจริง[2]
ถึงแม้ว่าพระราชสถานะของพระองค์จะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์คยานที่ทรงครองราชย์มายาวนาน แต่ฟาโรห์ยานาสซิก็ทรงได้รับการยืนยันจากจารึกที่เสียหายเท่านั้น (ไคโร ทีดี-8422 [176]) ซึ่งพบที่เทลล์ อัล-ดับ'อะฮ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของฮิกซอสโบราณนามว่า อวาริส[3][4] บนจารึก ซึ่งอาจจะสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่เทพเจ้าเซธ เจ้าแห่งอวาริส พระองค์ทรงถูกเรียกว่า พระราชโอรสพระองค์โตของกษัตริย์ในฟาโรห์คยาน[1]
ถ้าหากเจ้าชายยานาสซิทรงขึ้นเป็นฟาโรห์จริง ๆ พระองค์อาจจะปกครองระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์คยานและรัชสมัยของฟาโรห์อโพฟิส ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ข้อความก่อนหน้าที่เกี่ยวข้องกับฟาโรห์อโพฟิสในคอลัมน์ที่ 10 บรรทัดที่ 26 ได้รับความเสียหาย จนทำให้พระนามของฟาโรห์สูญหายไป และระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์หลงเหลือเพียงบางส่วน อาจจะอ่านได้ว่า 10, 20 หรือ 30 บวกกับจำนวนปีที่แน่นอน[2]
นอกจากนี้ หลักฐานยืนยันของพระองค์ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่หลักฐานร่วมสมัยแต่ก็อาจจะพบได้ใน Contra Apionem ของโจเซฟุส ซึ่งโจเซฟุสได้บันทึกว่าอ้างข้อมูลโดยตรงจาก แอกิปเทียกา (Αἰγυπτιακά) ของนักบวชชาวอียิปต์นามว่าแมนิโธ ซึ่งจะเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์ปโตเลมีที่ 2 (ทรงครองราชย์ระหว่าง 283 – 246 ปีก่อนคริสตกาล) โดยไม่หลงเหลือสำเนาของแอกิปเทียกามาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว และในปัจจุบันเป็นที่ทราบผ่านการอ้างอิงในภายหลังโดยเซ็กตุส จูลิอุส แอฟริกานุส, โจเซฟุส และยูเซบิอุสเท่านั้น ตามงานเขียนของโจเซฟุส ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ในราชวงศ์ที่สิบห้าของแมนิโธคือ ซาลิทิส, บนอน, อะปัชนัน, อิอานนาส, อาร์คลีส/อัซซิส และอโพฟิส ซึ่งโดยทั่วไปเข้าใจว่า อะปัชนัน เป็นพระนามในภาษากรีกของฟาโรห์คยาน ในขณะที่พระนามอิอานนาส (กรีกโบราณ: Iαννας) จะเข้าใจได้ดีที่สุดว่าเป็นการเขียนพระนามที่ผิดพลาดของฟาโรห์ยานาสซิ โดยยืนยันว่าพระองค์ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์แห่งฮิกซอส และโจเซฟุสก็บันทึกเพิ่มเติมอีกว่า แมนิโธได้ระบุว่าฟาโรห์อิอานนาสทรงครองราชย์ที่ยาวนานอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ถึง 50 ปีกับอีก 1 เดือน[5][6][7] ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ประเด็นดังกล่าวหมายความว่า แมนิโธต้องถือว่ายานาสซิเป็นฟาโรห์ จนถึงปี ค.ศ. 2010 ความเห็นดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธโดยความเห็นพ้องทางวิชาการในไอยคุปต์วิทยา ซึ่งถือว่าฟาโรห์อโพฟิสทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์คยาน ตามที่เสนอโดยไรฮอล์ท ซึ่งในความเข้าใจดังกล่าว ดูเหมือนว่าในบันทึกของแมนิโธที่กล่าวถึงทั้งฟาโรห์อิอานนาส/ยานาสซิ และฟาโรห์คยานนั้น โจเซฟุสได้เลือกอย่างผิดๆ แทนที่จะเลือกเป็นพระองค์อย่างหลัง[6] ซึ่งความเห็นดังกล่าวได้ถูกคัดค้านโดยการค้นพบทางโบราณคดีซึ่งบอกเป็นนัยว่า ฟาโรห์คยานอาจจะทรงขึ้นครองราชย์เร็วกว่าที่เคยคิดไว้ถึง 80 ปี ทำให้ต้องมีฟาโรห์หนึ่งหรือหลายพระองค์ที่จะต้องขึ้นครองราชย์ระหว่างพระองค์กับฟาโรห์อโพฟิส[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.