Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าชุงจง (เกาหลี: 중종; ฮันจา: 中宗; อาร์อาร์: Jungjong; เอ็มอาร์: Chungchong ค.ศ. 1488 - ค.ศ. 1544) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 11 ของ อาณาจักรโชซอน (ค.ศ. 1506 - ค.ศ. 1544)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระเจ้าชุงจง | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระราชสุสานของพระเจ้าชุงจง | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งโชซอน | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1506-ค.ศ. 1544 | ||||
ก่อนหน้า | ย็อนซันกุน | ||||
ถัดไป | พระเจ้าอินจง | ||||
ระยะเวลาครองราชย์ | 38 ปี | ||||
พระราชสมภพ | ค.ศ. 1488 ลี ยอก (이역, 李懌) | ||||
สวรรคต | ค.ศ. 1544 | ||||
พระมเหสี | พระนางทันกย็อง พระนางชังกย็อง พระนางมุนจ็อง | ||||
พระราชบุตร | พระเจ้าอินจง พระเจ้ามย็องจง | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โชซ็อน | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน | ||||
พระราชมารดา | พระนางช็องฮย็อน |
พระเจ้าจุงจงพระราชสมภพเมื่อปีค.ศ. 1488 เป็นพระราชโอรสพระเจ้าซ็องจง และพระนางชองฮยอน ตระกูลยุน ได้รับพระนามว่า เจ้าชายจินซอง (진성대군, 晉城大君) เจ้าชายจินซองมีพระเชษฐาต่างพระราชมารดาเป็นรัชทายาทอยู่แล้วขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1494 ภายหลังเป็นเจ้าชายยอนซันแต่หลังจากเหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคัปจา เจ้าชายยอนซันประพฤติองค์เหลวแหลกไม่สนพระทัยกิจการบ้านเมืองจนเกิดกลียุค จนเมื่อ ค.ศ. 1506 คณะรัฐประหารนำโดย พัค วอนจง (박원종, 朴元宗) ซองฮีอัน (성희안, 成希顔) ยูซุนจอง (유순정, 柳順汀) ฯลฯ นำกำลังทหารเข้าบุกยึดพระราชวังคย็องบก ถอดเจ้าชายยอนซันจากราชสมบัติและขอคำรับรองจากพระนางจองฮยอนหรือพระพันปีจาซุน (자순대비, 慈順大妃) ในการยกเจ้าชายจินซองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ เหตุการณ์นี้เรียกว่า รัฐประหารพระเจ้าจุงจง (중종반정, 中宗反正)
หลังจากที่พระเจ้าจุงจงขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดวันก็เกิดเหตุการณ์ปลดพระมเหสีตระกูลชิน เนื่องจากบิดาของพระมเหสีคือชินซูกึน (신수근, 愼守勤) ซึ่งเป็นราชเลขานุการในรัชสมัยของเจ้าชายยอนซันและได้ถูกสังหารไปในเหตุการณ์รัฐประหารพระเจ้าจุงจงคณะรัฐประหารเกรงว่าพระมเหสีจะแก้แค้นให้กับพระบิดาจึงปลดพระมเหสีชินออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปนอกวังไปในค.ศ. 1506 (ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าย็องโจแห่งโชซอน จึงได้รับตำแหน่งคืนเป็นพระนางทันกยอง (단경왕후, 端敬王后))
เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระเจ้าชุงจงมีพระราชปณิธานจะเยียวยารักษาบ้านเมืองหลังจากกลียุคในรัชสมัยของเจ้าชายยอนซันแต่ทว่าตลอดรัชสมัยนั้นพระเจ้าชุงจงตกอยู่ใต้อำนาจของขุนนางเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดเท่านั้น พระเจ้าชุงจงก็ได้ปูนบำเหน็จแก่คณะรัฐประหารทั้งหลายให้เป็นผู้มีความดีความชอบ เรียกว่า ผู้มีความดีความชอบต่อความสงบของอาณาจักร (정국공신, 靖國功臣) พระราชทานที่ดินและทรัพย์สมบัติให้มากมายรวมทั้งมีอภิสิทธิ์ต่าง ๆ คณะปฏิวัติผูกขาดตำแหน่งสำคัญระดับสูง ผู้นำคณะรัฐประหารได้แก่พัควอนจง ยูซุนจอง และซองฮีอัน ผลัดกันเป็นอัครเสนาบดี ซึ่งเป็นที่ต่อต้านจากขุนนางฝ่ายซาริม จากสามกรม ซึ่งคอยโจมตีว่าคณะรัฐประหารไม่คู่ควรกับการปูนบำเหน็จและการผูกขาดตำแหน่งระดับสูง[1] และพระเจ้าชุงจงก็ต้องกลายเป็นหุ่นเชิดของคณะรัฐประหารที่นำพระองค์ขึ้นสู่บัลลังก์เอง
ใน ค.ศ. 1510 โจรสลัดญี่ปุ่นได้ทำการบุกปล้นสะดมอย่างหนักที่เมืองท่าของโจซอน เรียกว่า การปล้มสะดมสามท่าของโจรสลัดญี่ปุ่น (삼포왜란, 三浦倭亂) ได้แก่ ปูซาน เจ และยอม
ใน ค.ศ. 1515 พระมเหสีตระกูลยุน พระมเหสีองค์ที่สองของพระเจ้าชุงจง สิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลพระราชโอรส ได้รับพระนามว่าพระนางชังกย็อง (장경왕후, 章敬王后) และเกิดเหตุการณ์ขุนนางท้องที่ซึ่งเป็นฝ่ายซาริมได้ถวายฎีกากล่าวหาคณะรัฐประหารว่าได้ทำร้ายอดีตพระมเหสีตระกูลชิน (폐비 신씨, 廢妃 愼氏) อย่างไม่ยุติธรรมและขอให้พระเจ้าชุงจงคืนตำแหน่งให้แก่อดีตพระมเหสีชิน ฎีกานี้เป็นที่ต่อต้านทั่วไปจากขุนนางในราชสำนักแต่ขุนนางฝ่ายซาริมคนหนึ่งชื่อโจกวางโจ (조광조, 趙光祖) ได้ออกมาปกป้องฎีกานี้โดยกล่าวว่ากษัตริย์ควรจะฟังการถวายคำแนะนำของขุนนางหลาย ๆ ฝ่าย แม้พระเจ้าชุงจงไม่คืนตำแหน่งแก่พระมเหสีชิน (อภิเษกใหม่กับพระมเหสีตระกูลยุนในค.ศ. 1517 ภายหลังคือพระนางมุนจ็อง (문정왕후, 文定王后)) แต่พระเจ้าชุงจงก็ประทับใจในความซื่อสัตย์ของโจกวางโจ
พระเจ้าชุงจงไว้วางพระทัยโจกวางโจอย่างมาก ไม่ว่าโจกวางโจจะพูดอะไรพระเจ้าชุงจงก็เชื่อไปเสียหมด ในค.ศ. 1518 พระเจ้าชุงจงทรงล้มเลิกแผนการปราบชาวนูร์เชน (บรรพบุรุษของชาวแมนจู) ที่วางแผนมานานจากคำประท้วงของโจกวางโจ ทำให้ขุนนางกลุ่มอำนาจเก่าไม่พอใจ โจกวางโจเมื่อมีอำนาจก็ได้นำขุนนางฝ่ายซาริมคนอื่นๆเข้ามาดำรงตำแหน่งระดับสูงแทนที่ขุนนางกลุ่มเก่า ในค.ศ. 1519 โจกวางโจได้เสนอระบบการสอบจอหงวนแบบใหม่ เรียกว่า การสอบเพื่อวัดคุณงามความดี (현량과, 賢良科) เป็นการสอบโดยอาศัยการแนะนำจากขุนนางผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว เพราะโจกวางโจเชื่อว่าการสอบข้อเขียนนั้นไม่อาจวัดความดีของคนได้[2] และที่ร้ายแรงที่สุดคือโจกวางโจได้เสนอให้พระเจ้าชุงจงยกเลิกการปูนบำเหน็จผู้มีความดีความชอบต่อความสงบของอาณาจักรไปเสีย
ขุนนางกลุ่มเก่าจึงไม่อาจอยู่เฉยได้อีกต่อไป ฮงคยองจู นัมกอน (남곤, 南袞) และชิมจอง (심정, 沈貞) จึงวางแผนขับโจกวางโจออกจากอำนาจโดยการให้พระสนมคยองบิน ตระกูลพัค (경빈 박씨, 敬嬪 朴氏 ธิดาบุญธรรมของพัควอนจง) และพระสนมซุกอี ตระกูลฮง (ธิดาของฮงคยองจู) ปล่อยข่าวในวังว่าราษฎรพากันสนับสนุนโจกวางโจให้เป็นกษัตริย์[3] และขุนนางทั้งสองคนจึงไปกราบทูลยุยงพระเจ้าชุงจงว่าโจกวางโจนั้นเป็นกบฏ พระเจ้าชุงจงก็เชื่อเพราะสิ่งที่พระองค์เกรงกลัวที่สุดคือการเป็นเพียงกษัตริย์หุ่นเชิดของขุนนางที่มีอำนาจ จึงให้เนรเทศโจกวางโจและพรรคพวกไปที่เมืองนึงจูและประหารชีวิต ขุนนางฝ่ายซาริมทั้งหลายถูกขับออกจากราชสำนักและถูกลงโทษกันต่างๆนานา เรียกว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคีมโย (기묘사화, 己卯士禍)
คิมอันโร (김안로, 金安老) ถูกนัมกอนและชิมจองกล่าวหาว่าทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงและถูกเนรเทศไปในปีค.ศ. 1524 ใน ค.ศ. 1527 นัมกอนเสียชีวิต ชิมจองได้ขึ้นเป็นอัครมหาเสนาบดีแทน แต่คิมอันโรจัดฉากการสาปแช่งรัชทายาทด้วยหนู (작서의변, 灼鼠의變) และใส่ร้ายพระสนมคยองบินตระกูลพัคและชิมจองว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ในการวางแผนยกเจ้าชายพกซ็อง (복성군, 福城君) พระโอรสของพระสนมคยองบินเป็นรัชทายาทแทน ชิมจองจึงถูกประหารชีวิตและพระสนมคยองบินกับพระโอรสถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศ ในค.ศ. 1531 คิมอันโรได้รับพระราชทานอภัยโทษเพราะการเปิดโปงการสาปแช่งรัชทายาทที่ตนเองจัดฉากขึ้น และได้ยุยงให้พระเจ้าชุงจงสำเร็จโทษอดีตพระสนมและเจ้าชายพงซ็องไปเสียในค.ศ. 1533 แต่คิมอันโรก็ถูกพระนางมุนจ็องเปิดโปงคิมอันโรได้และคิมอันโรก็ถูกเนรเทศและประหารชีวิตในค.ศ. 1537
ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าชุงจงตระกูลยุนแห่งพาพย็อง (파평윤씨, 坡平尹氏) เรืองอำนาจด้วยสายสัมพันธ์กับพระราชวงศ์และได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าชุงจงถึงสองพระองค์ ในค.ศ. 1534 พระนางมุนจ็องประสูติพระราชโอรสอีกพระองค์ให้แก่พระเจ้าชุงจง คือเจ้าชายคย็องว็อน (경원대군, 慶原大君) ทำให้ตระกูลยุนแห่งพาพยองก็แบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายยุนใหญ่ (대윤, 大尹) นำโดยยุนอิม (윤임, 尹任) พระเชษฐาของพระนางชังกย็องและพระปิตุลาของรัชทายาท สนับสนุนรัชทายาทให้ได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป และฝ่ายยุนเล็ก (소윤, 小尹) นำโดยพระนางมุนจอง และพระเชษฐาอีกสองคนคือ ยุนวอนโน และยุนวอนฮย็อง (윤원형, 尹元衡) สนับสนุนเจ้าชายคย็องว็อน
พระเจ้าชุงจงสวรรคตในปีค.ศ. 1544 รัชทายาทที่เป็นพระโอรสของพระนางชังกย็องจึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าอินจง (인종, 仁宗) ทำให้ขุนนางฝ่ายยุนใหญ่ขึ้นมามีอำนาจ แต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลาอันสั้น พระเจ้าอินจงก็อยู่ในราชสมบัติได้ไม่นานก็สวรรคต พระเจ้าชุงจงมีสุสานหลวงชื่อว่า จองนึง (정릉, 靖陵)
พระเจ้าชุงจง คงฮี ฮวีมุน โซมู ฮุมอิน ซองฮโย แห่งเกาหลี
พระมเหสี
พระสนม
พระโอรส
พระธิดา
พงศาวลีของพระเจ้าชุงจง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.