Loading AI tools
ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำมาตย์ตรี พระอำนวยเนติพจน์[2]: 22 (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471) เดิมชื่อ เลื่อง หรือ เนื่อง[3] เป็นอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด อดีตข้าราชการฝ่ายตุลาการ กระทรวงยุติธรรม สมัยปลายรัชกาล ที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6[4]
อำมาตย์ตรี พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง โรจนกุล) | |
---|---|
พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) ขณะรับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2459 | |
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2460 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์ |
เสียชีวิต | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 (73 ปี)[1]: 7 แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์ |
บุพการี |
|
อาชีพ | ข้าราชการฝ่ายตุลาการ, ขุนนาง |
พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2398[1]: 6 [5] มีนิวาสสถานเดิมอยู่ที่วังหลัง แขวงบ้านช่างหล่อ (จังหวัดธนบุรี) บิดาชื่ออู่ โรจนกุล[5] บุตรชื่อ รองอำมาตย์ตรี ลือ โรจนกุล เมื่อมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2415 ได้บวชเป็นสามเณรศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีกับเจ้าอาวาสที่วัดอมรินทรารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย จังหวัดพระนคร แล้วจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดแห่งนี้ มีสมณศักดิ์เป็น พระใบฎีกา (เลื่อง) ในคราวนั้นจึงได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล จนกระทั้งสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2425[6]: 18 ต่อมาจึงสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค[7] เมื่อบวชได้ 6 พรรษา[5] จึงลาอุปสมบทแล้วเข้ารับราชการ
เมื่อ พ.ศ. 2434 เริ่มรับราชการเป็นเสมียนฝึกหัดที่กรมลูกขุนศาลฎีกา ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นเสมียนกระทรวงยุติธรรมเมื่อ พ.ศ.2435[5] ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์อดีตพระใบฎีกา (เลื่อง) เป็น ขุนกิจวิจารณ (เลื่อง)[5]
เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้เป็นเสมียนรัฐมนตรี ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีดำริให้จัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น ขุนกิจวิจารณ (เลื่อง) ได้เข้าเรียนวิชากฏหมายโดยมีกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเป็นผู้สอนวิชากฏหมายอยู่ในขณะนั้น ครั้นมีการสอบไล่ปรากฏว่าขุนกิจวิจารณ (เลื่อง) สอบไล่วิชากฏหมายได้ในการสอบไล่ครั้งที่สอง นับว่ามีน้อยคนนักที่สอบไล่ผ่านได้
เมื่อ พ.ศ. 2440 มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมีกองข้าหลวงพิเศษขึ้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ โปรดให้ขุนกิจวิจารณ (เลื่อง) เป็นผู้พิพากษาศาลเมืองลพบุรี[1]: 7 ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนชำนาญนิติศาสตร์ (เลื่อง) ตำแหน่งผู้พิพากษารองที่ศาลเมืองหล่มสัก มณฑลเพชรบูรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2442 เป็นต้นไป และปีเดียวกันนี้ได้รับพระราชทานยศและเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) ปรากฏในบัญชี ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงยุติธรรม ปี ร.ศ. 125[8]: 932 [5]
เมื่อ พ.ศ. 2445 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้พิพากษาและย้ายราชการเป็นเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดไชยา เมืองไชยา มณฑลชุมพร (ปัจจุบันคือ จ.สุราษฎร์ธานี)[1]: 7 [5]
เมื่อ พ.ศ. 2449 หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) และได้ย้ายราชการไปที่ศาลมณฑลพิษณุโลก[1]: 7 (ปัจจุบันคือศาลจังหวัดพิษณุโลก) จนกระทั่ง พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศข้าราชการฝ่ายพลเรือนเป็น อำมาตย์ตรี หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง)[1]: 7 เมื่อ พ.ศ. 2455[5]
เมื่อ พ.ศ. 2455 หลวงอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดระนอง ครั้นรับราชการเป็นผู้พิพากษาได้ 10 ปีเศษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมลฑลนครสวรรค์ และต่อมาย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 เป็นต้นไป[9] (ปัจจุบันคือศาลจังหวัดธัญบุรี สำนักงานศาลยุติธรรมภาค 1) มีบรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็น พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง)[6]: 18 รับราชการจนกระทั่งอายุ 62 ปี[5][1]: 7 จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460[10] และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 ด้วยโรคฝีในลำไส้หรือโรคชรา[5] สิริอายุรวมได้ 73 ปี[11][1]: 7
เมื่อ พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ พระอำนวยเนติพจน์ (เลื่อง) มีบทบาทในการสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือตามหัวเมืองต่างๆ เช่น การสมทบทุนทรัพย์เพื่อตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ วัดฤทธิ์ศิริราษฎร์เจริญธรรม (วัดบ้านสวน)[12]: 1, 352 จ.สุโขทัย เป็นต้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.