พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์)[1] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการในสมัยที่พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2476 จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ[2] ในสมัยที่พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478
พระสารสาสน์ประพันธ์ (ชื้น จารุวัสตร์) | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มีนาคม พ.ศ. 2477 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ถัดไป | พลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | พันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ |
ถัดไป | พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 กันยายน พ.ศ. 2433 อำเภอยานนาวา เมืองพระนคร |
เสียชีวิต | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (82 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | เอื้อม อัศวรักษ์ |
วิชาชีพ | ข้าราชการพลเรือน |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2480 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
- พ.ศ. 2467 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)[4]
- พ.ศ. 2467 –
เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป
- พ.ศ. 2467 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[5]
- พ.ศ. 2478 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2481 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[7]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.