กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (ญี่ปุ่น: 2020年夏季オリンピック) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 (ญี่ปุ่น: 第三十二回オリンピック競技大会) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ โตเกียว 2020 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ควบคุมโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ซึ่งจัดในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เมืองเจ้าภาพ | โตเกียว ญี่ปุ่น |
---|---|
คำขวัญ | อารมณ์ร่วมรวมเราเป็นหนึ่ง (อังกฤษ: United by Emotion) |
ประเทศเข้าร่วม | 205+ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย |
นักกีฬาเข้าร่วม | 339 รายการ ใน 33 ชนิดกีฬา (50 ชนิดกีฬาย่อย) |
พิธีเปิด | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 |
พิธีปิด | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564 |
ประธานพิธีเปิด | |
ผู้จุดคบเพลิง | |
สนามกีฬา | กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น |
ฤดูร้อน ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 |
กรุงโตเกียวได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556 ในประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 123 ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา[1] นับเป็นครั้งที่ 3 ที่กรุงโตเกียวได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1940 ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกของทวีปเอเชีย และเมืองซัปโปโรสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว แต่ได้ถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากสงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่น และกลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 (พ.ศ. 2507) ซึ่งครั้งนี้ กรุงโตเกียวเป็นเมืองที่ 5 (และเมืองที่ 1 ในทวีปเอเชีย) ที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนมากกว่า 1 ครั้ง รวมถึงกรุงโตเกียวก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 สำหรับนักกีฬาคนพิการเช่นกัน
กีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้บรรจุกีฬาเบสบอล และกีฬาซอฟท์บอล อีกครั้งหลังจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 รวมถึงกีฬาคาราเต้, กีฬาสเกตบอร์ด, กีฬาโต้คลื่น และกีฬาปีนผา ซึ่งได้ถูกบรรจุเป็นครั้งแรกเช่นกัน
ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 จากสถานการณ์การระบาดทั่วของโคโรนาไวรัสในทั่วโลก ทำให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) โดยโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้ปรึกษาหารือกับชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะตัดสินใจร่วมกันในการเลื่อนการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อนออกไปในปี พ.ศ. 2564 และออกแถลงการณ์ยืนยันเลื่อนจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2020 และพาราลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ออกไปเป็นเวลา 1 ปี อย่างเป็นทางการแต่ไม่ช้ากว่าปี พ.ศ. 2564 เพื่อความปลอดภัยของนักกีฬาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิกและประชาคมโลก[2] แต่ยังคงเป็นชื่อเดิม คือ โตเกียว 2020 ต่อไป[3]
สำหรับการตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ออกไปเป็นเวลา 1 ปี นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันที่โอลิมปิกเลื่อน ในช่วงเวลาที่โลกไม่พบเจอกับสงคราม โดยก่อนหน้านี้สงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทำให้การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1916 ที่กรุงเบอร์ลิน โอลิมปิกฤดูร้อน 1940 ที่กรุงโตเกียว และโอลิมปิกฤดูร้อน 1944 ที่กรุงลอนดอน ต้องถูกยกเลิกการแข่งขัน[4]
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
- เมืองที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้น ๆ รับรอง และได้รับคัดเลือกรอบแรกโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้แก่
- เมืองที่ไม่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก
เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้น ๆ รับรอง และไม่ได้รับคัดเลือกรอบแรกโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้แก่
คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ลงคะแนน เพื่อคัดเลือกเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556 ในประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 123 ณ โรงแรมฮิลตัน บัวโนสไอเรส ในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โดยใช้ระบบการลงคะแนนลับ ในการลงคะแนนครั้งแรกนั้น ไม่มีเมืองใดได้คะแนนเป็นกึ่งหนึ่งของผู้ลงคะแนนทั้งหมด ซึ่งกรุงมาดริด และกรุงอิสตันบูลได้คะแนนเท่ากัน จึงได้มีการลงคะแนนรอบคัดออก เพื่อหาเมืองใดเมืองหนึ่งเข้ารอบสุดท้ายต่อไป ซึ่งการลงคะแนนรอบสุดท้ายกรุงโตเกียว ได้ถูกเลือกเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก โดยการชนะกรุงอิสตันบูลด้วยคะแนน 60 คะแนน ต่อ 36 คะแนน
การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพ โอลิมปิก 2020[5] | |||||
---|---|---|---|---|---|
เมือง | ประเทศ | รอบที่ 1 | คัดออก | รอบที่ 2 | |
โตเกียว | ญี่ปุ่น | 42 | — | 60 | |
อิสตันบูล | ตุรกี | 26 | 49 | 36 | |
มาดริด | สเปน | 26 | 45 | — |
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ
มหานครโตเกียวได้ตั้งกองทุนสำรองจำนวน 400 พันล้านเยน (มากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาความจุของท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว และท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ เพื่อที่จะขยายให้รองรับการแข่งขันครั้งนี้ รวมถึงโครการสร้างรางรถไฟสายใหม่ ซึ่งมีการวางแผนที่จะเชื่อมโยงสนามบินทั้งสองจะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟโตเกียว เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางจากสถานีรถไฟโตเกียวไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวจาก 30 นาที เหลือ 18 นาที และจากสถานีรถไฟโตเกียวไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะจาก 55 นาที เหลือ 36 นาที โดยโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณ 400 พันล้านเยน[6] นอกจากภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนยังสนับสนุนการลงทุนอีกด้วย แต่บริษัทรถไฟอีสต์ เจอาร์ ก็ยังมีการวางแผนเส้นทางรถไฟใหม่จากสถานีรถไฟทามาชิไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวด้วยเช่นกัน กองทุนนี้ยังมีการวางแผนที่จะเร่งโครงการทางพิเศษชุโตะ ทางพิเศษโตเกียวไงคัน ทางพิเศษเคนโอะ และปรับปรุงทางด่วนอื่นๆในพื้นที่[7] นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายระบบคมนาคมไร้คนขับ (สายยุริกะโมะเมะ) จากสถานีที่มีอยู่คือ สถานีโทะโยะซุ ไปยังอาคารใหม่ของสถานีคาจิโดกิ ซึ่งผ่านหมู่บ้านนักกีฬา แม้ว่ายุริกะโมะเมะยังไม่สามารถที่จะให้บริการ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้บริการเป็นจำนวนมากในเขตโอะไดบะ ที่เป็นหนึ่งในพื้นที่บริการของยุริกะโมะเมะ[8]
ซึ่งโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้ดูแลโดย อดีตนายกรัฐมนตรีโยะชิโร โมะริ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันโตเกียว 2020[9] และรัฐมนตรีโทะชิอะกิ เอ็นโด เป็นผู้กำกับดูแลการเตรียมการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น[10]
สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน
จากการที่ได้รับการยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ว่า กรีฑาสถานแห่งชาติในกรุงโตเกียว จะได้รับงบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม และฟื้นฟูบูรณะอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก 2019 รวมถึงกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[11] ซึ่งได้มีการประกวดออกแบบสนามใหม่ โดยสภากีฬาญี่ปุ่นได้ประกาศผู้ชนะเลิศการประกวด เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งสถาปนิกซาฮา ฮาดิด เป็นผู้ชนะการประกวด จากผู้เข้าประกวดทั้งหมด 46 คน รวมถึงการรื้อถอนสนามกีฬาเดิม เพื่อขยายความจุที่นั่งจาก 50,000 ที่นั่ง ไปยัง 80,000 ที่นั่ง[12] ซึ่งเป็นความจุที่นิยมของการจัดโอลิมปิกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะ ได้ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ว่าแผนที่จะสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติใหม่ได้ถูกยกเลิก แล้วได้มีการจัดการประกวดอีกครั้ง ในท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนในช่วงการก่อสร้างสนามกีฬา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2558 การออกแบบใหม่โดยนายเคนโกะ คุมะ ได้รับการอนุมัติเป็นผู้ชนะในการประกวดออกแบบสนามกีฬาแห่งใหม่ที่ลดลงความจุระหว่าง 60,000-80,000 ที่นั่ง [13]
สถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 28 กีฬาจาก 33 กีฬา จะจัดการแข่งขันในกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ภายใน 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) ของหมู่บ้านนักกีฬา โดยมีการสร้างสนามใหม่มากถึง 11 สนาม[14]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 มีรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก อาจจะมากกว่าการคาดการณ์งบประมาณเดิมถึงสี่เท่า และดังนั้นมีการเสนอให้มีการปรับปรุงแผนงาน เพื่อลดงบประมาณต่างๆ รวมถึงการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันออกนอกกรุงโตเกียว[15]
เขตประวัติศาสตร์
เขตประวัติศาสตร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 7 สถานที่ โดยเขตประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางของกรุงโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านนักกีฬา สถานที่บางส่วนเคยจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964
สถานที่ | กีฬา | ความจุ | ประเภท |
---|---|---|---|
กรีฑาสถานแห่งชาติ | พิธีการ กีฬากรีฑา กีฬาฟุตบอล (รอบชิงชนะเลิศ) |
60,000 ที่นั่ง | สถานที่ถูกบูรณะ |
สนามกีฬาในร่มแห่งชาติโยโยงิ | กีฬาแฮนด์บอล | 12,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สนามกีฬาต่อสู้ญี่ปุ่น | กีฬายูโด | 12,000 ที่นั่ง | สถานที่ถูกบูรณะ |
ศูนย์กีฬาในร่มโตเกียว | กีฬาเทเบิลเทนนิส | 10,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ | กีฬามวยสากลสมัครเล่น | 11,098 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว | กีฬายกน้ำหนัก กีฬาปีนหน้าผา |
5,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
นวอุทยานพระราชวังหลวงโตเกียว | กีฬาจักรยาน (ถนน) | 5,000 ที่นั่ง | สถานที่ชั่วคราว |
เขตอ่าวโตเกียว
เขตอ่าวโตเกียวร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 20 สถานที่ โดยเขตเขตอ่าวโตเกียวตั้งอยู่ในพื้นที่ของอ่าวโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านนักกีฬา
สถานที่ | กีฬา | ความจุ | ประเภท |
---|---|---|---|
สวนป่าริมอ่าวโตเกียว | กีฬาขี่ม้า (อีเวนติ้ง และครอสคันทรี) | 20,000 ที่นั่ง | สถานที่ชั่วคราว |
สวนป่าริมอ่าวโตเกียว (บริเวณกำแพงกั้นคลื่น) | กีฬาเรือแคนู (สปรินท์) กีฬาเรือพาย |
20,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
ศูนย์กีฬาทางน้ำโอลิมปิก | กีฬาว่ายน้ำ กีฬากระโดดน้ำ กีฬาระบำใต้น้ำ |
18,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
สนามกีฬาอาริอาเกะ | กีฬาวอลเลย์บอล | 12,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
ศูนย์ยิมนาสติกโอลิมปิก | กีฬายิมนาสติก | 12,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
สวนชิโอกาเซะ | กีฬาวอลเลย์บอล (ชายหาด) | 12,000 ที่นั่ง | สถานที่ชั่วคราว |
สนามกีฬาในร่มอาริอาเกะ | กีฬาเทนนิส | 10,000 ที่นั่ง | สถานที่ถูกบูรณะ |
สนามกีฬาฮอกกี้โออิ | กีฬาฮอกกี้ | 10,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
อุทยานคะไซริงกาอิ | กีฬาเรือแคนู (สลาลม) | 8,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
สนามกีฬาโอลิมปิกบีเอ็มเอ็กซ์ | กีฬาจักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์) | 6,000 ที่นั่ง | สถานที่ชั่วคราว |
เกาะยุเมโนชิมะ | กีฬายิงธนู กีฬาสเกตบอร์ด |
6,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
สวนน้ำโอไดบะ | กีฬาไตรกีฬา กีฬาว่ายน้ำ (มาราธอน) |
5,000 ที่นั่ง | สถานที่ชั่วคราว |
ศูนย์กีฬาว่ายน้ำนานาชาติทัตสึมิ [16] | กีฬาโปโลน้ำ | 3,500 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
เขตนอกหมู่บ้านกีฬา (ระยะเกิน 8 กิโลเมตร)
สถานที่ | กีฬา | ความจุ | ประเภท |
---|---|---|---|
สนามกีฬาโตเกียว[17] | กีฬาฟุตบอล กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ว่ายน้ำ, ขี่ม้า, วิ่ง และยิงปืน) กีฬารักบี้ 7 คน |
60,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สนามกีฬาโยโกฮามะ[18] | กีฬาซอฟต์บอล กีฬาเบสบอล |
30,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สนามกอล์ฟคาซูมิกาเซกิ | กีฬากอล์ฟ | 30,000 ที่นั่ง | สนามที่มีอยู่แล้ว |
ไซตามะซูเปอร์อารีนา[19] | กีฬาบาสเกตบอล | 22,000 ที่นั่ง | สนามที่มีอยู่แล้ว |
เกาะเอโนชิมะ[20] | กีฬาเรือใบ กีฬาโต้คลื่น |
10,000 ที่นั่ง | สนามที่มีอยู่แล้ว |
มากูฮาริเม็สเซะ[21] | กีฬาฟันดาบ กีฬาเทควันโด กีฬามวยปล้ำ กีฬาคาราเต้ |
6,000 ที่นั่ง 8,000 ที่นั่ง |
สนามที่มีอยู่แล้ว |
ศูนย์กีฬามูซาชิโนะ[22] | กีฬาแบดมินตัน กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ฟันดาบ) |
6,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
อิซุเวโลโดรม[23] | กีฬาจักรยาน (ลู่) | 5,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
สนามยิงปืนอาซากะ | กีฬายิงปืน | สถานที่ชั่วคราว | |
ศูนย์กีฬาจักรยาน[24] | กีฬาจักรยาน (เสือภูเขา) | สถานที่แห่งใหม่ | |
บาจิ โคเอ็น[25] | กีฬาขี่ม้า (ศิลปะการบังคับม้า, อีเวนติ้ง และกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง) |
สถานที่ชั่วคราว | |
สนามแข่งขันกีฬาฟุตบอล
สถานที่ | กีฬา | ความจุ | ประเภท |
---|---|---|---|
สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ | กีฬาฟุตบอล | 70,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สนามกีฬาไซตามะ 2002 | กีฬาฟุตบอล | 62,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น | พิธีการ กีฬากรีฑา กีฬาฟุตบอล (รอบชิงชนะเลิศ) |
60,000 ที่นั่ง | สถานที่แห่งใหม่ |
สนามกีฬาโตเกียว | กีฬาฟุตบอล กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ว่ายน้ำ, ขี่ม้า, วิ่ง และยิงปืน) กีฬารักบี้ 7 คน |
50,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สนามกีฬามิยางิ | กีฬาฟุตบอล | 48,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สนามกีฬาซัปโปโระโดม | กีฬาฟุตบอล | 40,000 ที่นั่ง | สถานที่มีอยู่แล้ว |
สถานที่อื่นๆ
สถานที่ | กิจกรรม | ประเภท |
---|---|---|
โรงแรมอิมพีเรียลโตเกียว | สถานที่พักของเจ้าหน้าที่ สถานที่จัดการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล |
สถานที่มีอยู่แล้ว |
หมู่บ้านนักกีฬา (ย่านฮารูมิ ฟูโตะ) | สถานที่พักของนักกีฬา | สถานที่แห่งใหม่ |
ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติโตเกียว (โตเกียวบิกไซท์) | ศูนย์สื่อมวลชน | สถานที่มีอยู่แล้ว |
ตั๋วการแข่งขัน
ราคาตั๋วของพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก 2020 ตั้งราคาไว้ระหว่าง 25,000 - 150,000 เยน ส่วนราคาตั๋วของกีฬายอดนิยม อาทิ กีฬากรีฑา และกีฬาว่ายน้ำในรอบชิงชนะเลิศ จะตั้งราคาสูงสุดถึง 30,000 เยน ซึ่งค่าเฉลี่ยของราคาตั๋วในกีฬาโอลิมปิก 2020 ทั้งหมดเป็นเงิน 7,700 เยน โดยร้อยละ 60 ของตั๋วทั้งหมด ตั้งราคาไว้ 4,400 เยน หรือน้อยกว่านั้น ตั๋วในกีฬาโอลิมปิก 2020 จะจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อทั้งหมด 40,000 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น และจำหน่ายในอินเทอร์เน็ตอีกด้วย[26]
การแข่งขัน
กีฬาที่แข่งขัน
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ได้จัดการแข่งขันทั้งหมด 33 ชนิดกีฬา 50 สาขากีฬา รวมทั้งหมด 339 รายการ
กีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 |
---|
|
กีฬาใหม่ที่ถูกบรรจุเข้าแข่งขัน
ต่อจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้ประเมิน 26 กีฬาหลักที่จัดขึ้นในกรุงลอนดอน ด้วยการพิจารณา 25 กีฬาหลัก และกีฬาใหม่ที่บรรจุในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 คือ กีฬากอล์ฟ และกีฬารักบี้ 7 คน เพื่อที่จะบรรจุในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ซึ่งในที่นี้จะมีกีฬาที่ถูกถอดออก 1 ชนิดกีฬาที่ได้จัดการแข่งขันในนครรีโอเดจาเนโร ซึ่งไอโอซีจะหาทางที่จะบรรจุกีฬาเพิ่มจากตัวเลือกที่มี 7 กีฬา แทนที่กีฬาที่ถูกถอดออกไป เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556 คณะบริหารไอโอซีได้ลงมติให้ถอดถอนกีฬามวยปล้ำออกจากกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นการตัดสินที่น่าแปลกใจที่ได้ถอดถอนกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในกีฬาโอลิมปิก ออกจากการแข่งขันครั้งนี้[27] หลังจากการตัดสินใจที่ถอดถอนกีฬามวยปล้ำออกจากกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ ได้ถูกต่อต้านในหลายประเทศสมาชิก[28][29][30][31] ดังนั้นสหพันธ์มวยปล้ำนานาชาติ หรือ ฟีล่า จึงได้ยื่นสมัครเพื่อที่ให้กีฬามวยปล้ำบรรจุเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก 2020 อีกครั้ง
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้ประกาศ 3 กีฬาสุดท้ายที่จะถูกบรรจุกีฬาโอลิมปิก 2020 คือ กีฬาสควอช, กีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล และกีฬามวยปล้ำ[32] ส่วน 5 กีฬาอื่น ๆ คือกีฬาคาราเต้, กีฬาสเกตบอร์ด, กีฬาปีนเขา, กีฬาเวกบอร์ด และกีฬาวูซู ได้ตกรอบในการพิจารณาในครั้งนี้[33] เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 125 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เลือกกีฬามวยปล้ำกลับเข้าสู่กีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง ซึ่งได้คะแนนเสียงทั้งหมด 49 คะแนน ส่วนกีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล และกีฬาสควอช ได้คะแนนเสียงทั้งหมด 24 และ 22 คะแนนตามลำดับ[34]
ภายใต้นโยบายใหม่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่สามารถให้ประเทศเจ้าภาพได้เสนอเพิ่มกีฬาต่าง ๆ เข้ามาบรรจุในกีฬาโอลิมปิกได้ โดยนโยบายนี้จะดึงดูดความสนใจของประเทศเจ้าภาพ จากการบรรจุกีฬาที่นิยมในประเทศเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก[35] อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ประกาศกีฬาที่สนใจในการบรรจุใหม่รวมทั้งหมด 8 กีฬา คือ กีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล, กีฬาโบว์ลิ่ง, กีฬาคาราเต้, กีฬาสเกตบอร์ด, กีฬาปีนหน้าผา, กีฬาสควอช, กีฬาโต้คลื่อน และกีฬาวูซู[36] เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558 ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ได้คัดเลือกกีฬาที่บรรจุกีฬาในกีฬาโอลิมปิก 2020 ให้แก่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล รวมทั้งหมด 5 จาก 8 กีฬา คือ กีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล, กีฬาคาราเต้, กีฬาปีนหน้าผา, กีฬาโต้คลื่อน และกีฬาสเกตบอร์ด[37] โดย 5 กีฬานี้ได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2016 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 129 ที่นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ดั้งนั้นกีฬาโอลิมปิก 2020 จะมีจำนวนกีฬาทั้งหมด 33 กีฬา[38] อย่างไรก็ตามกีฬาเหล่านี้ได้รับการอนุมัติให้จัดการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 2020 เท่านั้น โดยไม่สามารถจัดการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 2024 ได้[39]
ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน
วันที่แสดงเป็นเวลาท้องถิ่นของกรุงโตเกียว (UTC+09:00) ปฏิทินนี้อ้างอิงมาจากเอกสารการรับสมัคร[40]
กรกฎาคม / สิงหาคม | 22 พ. |
23 พฤ. |
24 ศ. |
25 .ส |
26 อา. |
27 จ. |
28 อ. |
29 พ. |
30 พฤ. |
31 ศ. |
1 ส. |
2 อา. |
3 จ. |
4 อ. |
5 พ. |
6 พฤ. |
7 ศ. |
8 ส. |
9 อา. |
จำนวนเหรียญทอง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พิธีการ | OC | CC | ||||||||||||||||||
กระโดดน้ำ | 1 | 1 | 1 | 1 | ● | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | 8 | ||||||
กรีฑา | 2 | 2 | 4 | 6 | 6 | 5 | 6 | 7 | 8 | 1 | 47 | |||||||||
กอล์ฟ | ● | ● | ● | 1 | ● | ● | ● | 1 | 2 | |||||||||||
ขี่ม้า | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | 6 | |||||||
จักรยาน | 1 | 1 | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 3 | ● | ● | 2 | 1 | 1 | 18 | |||||
ไตรกีฬา | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||
เทควันโด | 2 | 2 | 2 | 2 | 8 | |||||||||||||||
เทนนิส | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 3 | 4 | ||||||||||
เทเบิลเทนนิส | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 3 | 5 | ||||||||||
บาสเกตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||
แบดมินตัน | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | 2 | 5 | ||||||||||
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||
โปโลน้ำ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | |||||
ฟันดาบ | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 10 | ||||||||||
ฟุตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | ||||||
มวยปล้ำ | 2 | 2 | 3 | 2 | 2 | 2 | 2 | 3 | 18 | |||||||||||
มวยสากลสมัครเล่น | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 3 | ● | 5 | 5 | 13 | |||
ยกน้ำหนัก | 1 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 15 | |||||||||
ยูโด | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 14 | ||||||||||||
ยิงธนู | ● | 1 | 1 | ● | ● | ● | 1 | 1 | 4 | |||||||||||
ยิงปืน | 2 | 2 | 2 | 2 | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 | 15 | ||||||||||
ยิมนาสติก | ● | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | 5 | 5 | 18 | |||||||||||
รักบี้ 7 คน | ● | 2 | 2 | |||||||||||||||||
ระบำใต้น้ำ | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | ||||||||||||||
เรือแคนู | ● | ● | 1 | 1 | 2 | 16 | ||||||||||||||
เรือใบ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 10 | |||||
เรือพาย | ● | ● | ● | ● | 3 | 3 | 4 | 4 | 14 | |||||||||||
วอลเลย์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ● | 1 | 1 | 4 | |||
ว่ายน้ำ | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 1 | 1 | 34 | |||||||||
แฮนด์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||
ฮอกกี้ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||
รวมเหรียญทอง | 0 | 0 | 0 | 11 | 16 | 16 | 21 | 19 | 19 | 23 | 21 | 25 | 20 | 19 | 15 | 23 | 17 | 30 | 11 | 306 |
รวมการสะสมจากวันก่อน | 0 | 0 | 0 | 11 | 27 | 43 | 64 | 83 | 102 | 125 | 146 | 171 | 191 | 210 | 225 | 248 | 265 | 295 | 306 | |
กรกฎาคม / สิงหาคม | 22 พ. |
23 พฤ. |
24 ศ. |
25 ส. |
26 อา. |
27 จ. |
28 อ. |
29 พ. |
30 พฤ. |
31 ศ. |
1 ส. |
2 อา. |
3 จ. |
4 อ. |
5 พ. |
6 พฤ. |
7 ศ. |
8 ส. |
9 อา. |
จำนวนเหรียญทอง |
OC | พิธีเปิด | ● | การแข่งขันรอบทั่วไป | 1 | เหรียญทอง | CC | พิธีปิด |
โอลิมปีกครั้งต่อไปจัดขึ้นประเทศอะไรณ์อย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก 2020 ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 25 .เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งออกแบบโดยนายอาซาโอะ โทโกโร่ ผู้ได้รับรางวัลการประกวดการออกแบบสัญลักษณ์จากทั่วประเทศ[41] ซึ่งสัญลักษณ์นี้มาจากการนำศิลปะแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นคือ ลายตารางหมากรุกที่เรียกว่า "อิชิมัตสุ โมโย" ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยเอโดะ หรือเมื่อราว 300 - 400 ปีที่แล้ว ผสมผสานกับการจัดวางรูปแบบใหม่ที่กำหนดให้เป็นตัวแทนของความแตกต่างของชนชาติต่างๆ ภายใต้แนวคิด "Unity in Diversity" หรือ เอกภาพภายในความแตกต่างหลากหลาย[42][43] โดยสัญลักษณ์นี้ได้แทนที่สัญลักษณ์ที่ถูกยกเลิกจากการที่ถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ของโรงละครในประเทศเบลเยี่ยม[44]
ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ 200 ประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือก (ยกเว้นกีฬากรีฑา และว่ายน้ำ ซึ่งเป็นกีฬาสากล ที่ทั้ง 206 ประเทศสามารถส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันโดยไม่ต้องผ่านการคัดเลือก)
สรุปเหรียญรางวัล
* ประเทศเจ้าภาพ (ประเทศญี่ปุ่น)
ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | สหรัฐ (USA) | 39 | 41 | 33 | 113 |
2 | จีน (CHN) | 38 | 32 | 18 | 88 |
3 | ญี่ปุ่น (JPN)* | 27 | 14 | 17 | 58 |
4 | สหราชอาณาจักร (GBR) | 22 | 21 | 22 | 65 |
5 | ไต้หวัน (ROC) | 20 | 28 | 23 | 71 |
6 | ออสเตรเลีย (AUS) | 17 | 7 | 22 | 46 |
7 | เนเธอร์แลนด์ (NED) | 10 | 12 | 14 | 36 |
8 | ฝรั่งเศส (FRA) | 10 | 12 | 11 | 33 |
9 | เยอรมนี (GER) | 10 | 11 | 16 | 37 |
10 | อิตาลี (ITA) | 10 | 10 | 20 | 40 |
11–93 | ประเทศที่เหลือ | 137 | 150 | 206 | 493 |
รวม (93 ประเทศ) | 340 | 338 | 402 | 1080 |
สื่อมวลชน
ผู้ให้การสนับสนุน
ในปีพ.ศ. 2558 มูลค่าของผู้ให้การสนับสนุนในกีฬาโอลิมปิก 2020 ทั้งหมดสูงถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมูลค่าของผู้ให้การสนับสนุนในครั้งนี้มีมากที่สุดในประวัติศาสตร์โอลิมปิก โดยมากกว่าสถิติเดิมในกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่มีมูลค่าของผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[45]
การถ่ายทอดสด
ในประเทศสหรัฐอเมริกา กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 จะมีการถ่ายทอดสดโดยสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซียูนิเวอร์แซล ซึ่งได้ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทั้งสิ้น 4.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้สิทธิ์การถ่ายทอดสดตั้งแต่กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ที่เมืองโซชี ประเทศรัสเซีย เป็นต้นมา[77]
ในประเทศญี่ปุ่น สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค, สถานีโทรทัศน์ทีบีเอส, สถานีโทรทัศน์ทีวี อาซาฮี และสถานีโทรทัศน์ฟุจิ ทีวี จะออกอากาศในทุกแพลตฟอร์ม ขณะที่สถานีโทรทัศน์ทีวี โตเกียว, สถานีโทรทัศน์นิปปอน ทีวี และสถานีโทรทัศน์อิสระจะออกอากาศเฉพาะในโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
ในทวีปยุโรปนี้จะมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี่ คอมมิวนิเคชั่น ซึ่งเป็นกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรก ภายใต้สิทธิ์การถ่ายทอดสดในทวีปยุโรปของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี โดยได้สิทธิ์การถ่ายทอดสดตั้งแต่กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้นมา โดยสิทธิ์การถ่ายทอดสดในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020 จะครอบคลุมทวีปยุโรปเกือบทั้งหมด ยกเว้นประเทศฝรั่งเศส และประเทศรัสเซีย เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสยังมีสิทธิ์การถ่ายทอดสดอยู่ ซึ่งจะหมดสัญญาการถ่ายทอดสดในการแข่งขันครั้งนี้ โดยสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี่จะคุ้มครองใบอนุญาตย่อยในแต่ละประเทศ ซึ่งจะส่งระบบสัญญาณที่สามารถให้บริการฟรี (Free to Air) ทั่วทวีปยุโรป ในประเทศสหราชอาณาจักร จะเป็นครั้งสุดท้ายที่สถานีโทรทัศน์บีบีซี ถือสิทธิ์การถ่ายทอดสดอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในครั้งต่อไปสถานีโทรทัศน์บีบีซีจะถือใบอนุญาตย่อยของสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี่แทน[78][79][80][81]
รายชื่อสถานีโทรทัศน์ที่ถือสิทธิ์การถ่ายทอดสด
- เกาหลีใต้ – เอสบีเอส[82]
- เกาหลีเหนือ – เอสบีเอส[82]
- แคนาดา – ซีบีซี/เรดิโอ-แคนาดา, สปอร์ตส์เน็ต, ทีเอสเอ็น[83][84]
- แคริบเบียน – อินเทอร์เนชั่นแนล มีเดีย คอนเทนท์[85]
- โครเอเชีย – เอชอาร์ที[86]
- จีน – ซีซีทีวี[87]
- เช็กเกีย – แชที[88][89]
- ญี่ปุ่น – เจแปน คอนซอร์เทียม[90]
- นิวซีแลนด์ – สกาย เทเลวิชั่น[91]
- เนเธอร์แลนด์ – เอ็นโอเอส[92]
- บราซิล – กรูโป โกลโบ[93]
- เบลารุส – เบลเทเลเรดิโอ[94]
- ฝรั่งเศส – ฟรองซ์ เทเลวีฌีอง, แคแนล พลืส[95][96]
- ฟินแลนด์ – เล[97]
- ยุโรป2 – ดิสคัฟเวอรี่ คอมมิวนิเคชั่น, ยูโรสปอร์ต[98]
- สโลวาเกีย – อาร์ทีวีเอส[99]
- สโลวีเนีย – อาร์ทีวี[99]
- สวิตเซอร์แลนด์ – เอสอาร์จี เอสเอสอาร์[100]
- บริเตนใหญ่ – บีบีซี, ยูโรสปอร์ต[101][102]
- สหรัฐ – เอ็นบีซียูนิเวอร์แซล[103]
- ออสเตรเลีย – เซเว่น เน็ตเวิร์ค[104]
- ออสเตรีย – โออาร์เอฟ[105]
- เอเชีย1 – เดนท์สุ[106]
- โอเชียเนีย3 – สกาย เทเลวิชั่น[91]
- ไอร์แลนด์ – อาร์ทีอี[107]
- ฮังการี – เอ็มทีวีเอ[108]
- MENA – บีนสปอตส์[109]
- ไทย – แพลนบี[110], เอไอเอส[111], ทีสปอร์ตส, เอ็นบีที, ไทยพีบีเอส, เจเคเอ็น 18, ทรูโฟร์ยู, จีเอ็มเอ็ม 25, พีพีทีวี
- ^1 – ครอบคลุมใน 22 ประเทศในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีการขายลิขสิทธิ์ย่อยแก่ประเทศต่าง ๆ
- ^2 – ยกเว้นประเทศฝรั่งเศส และประเทศรัสเซีย
- ^3 – ครอบคลุมในประเทศหมู่เกาะคุก , ประเทศฟิจิ, ประเทศคิริบาส, ประเทศหมู่เกาะมาร์แชลล์, ประเทศไมโครนีเซีย, ประเทศนาอูรู, ประเทศนีอูเอ, ประเทศปาเลา, ประเทศซามัว, ประเทศหมู่เกาะโซโลมอน, ประเทศตองงา, ประเทศตูวาลู และประเทศวานูอาตู
หมายเหตุ
- นักกีฬาเป็นกลางของประเทศรัสเซียเข้าแข่งขันภายใต้ธงของคณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย แต่ไม่ใช่ในฐานะทีมชาติ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.