Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิทินไทยเดิม เป็นปฏิทินที่ใช้กันมานาน มักจะเป็นการคำนวณที่กลุ่มแถบอินโดจีน ส่วนใหญ่แล้วระบบไทจะเป็นการนับในลักษณะล้านนา และล้านช้างเป็นพิเศษ โดยจะนับวัน เดือน ปี รวมถึงการดูฤกษ์นามยามดีต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งจะพบในภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศลาว กลุ่มไทเขิน ไทลื้อ และไทดำ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไท ส่วนไทยสยามได้เลิกใช้แล้ว โดยจะใช้จุลศักราชเป็นสำคัญ
จากการคำนวณตามวัฏจักรวันเก้ากอง พระครูอดุลสีลกิตติ์ ได้กล่าวไว้ว่า ปฏิทินในการคำนวณมีความแตกต่างกันในเรื่องเดือนในจันทรคติ สามารถดูในหัวข้อ #การดูฤกษ์
เนื่องจากจารีตประเพณีนี้ได้สืบทอดกันมาช้านาน ในอาณาจักรล้านนาได้มีการประดิษฐ์ปฏิทินฉบับล้านนา โดยสมัยนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2400 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (หรือพระเจ้ากาวิโลรส) พระเจ้าประเทศราชผู้ครองนครเชียงใหม่พระองค์ที่ 6 ในขณะนั้น พระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า หากจะใช้กลอง(รวมถึงฆ้องและฉาบ) ให้ใช้ฉบับล้านนาเชียงใหม่เท่านั้น เนื่องจากสมัยนั้น เชียงตุง เมืองยอง และ เชียงรุ่ง(สิบสองปันนา) ยังขึ้นกับราชอาณาจักรสยามอยู่ ได้มีการประกาศห้ามใช้กลองฉบับเมืองยอง ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แม้จะดีเพียงใดก็จะเกิดความอับอายขายหน้า และหายนะอันใหญ่หลวง และปฏิทินก็เช่นกัน ให้ใช้ฉบับเชียงใหม่ด้วย จึงทำให้ชาวไทเขิน และไทลื้อต้องใช้ตามแบบฉบับล้านนา ต่อมาเมื่อได้เสียพื้นที่เหล่านี้ไป ยังมีปฏิทินฉบับไทเขินอยู่ เนื่องจากฉบับไทเขินได้มีการตีพิมพ์ล่วงหน้าถึง 300 ปี ฉะนั้น ผลที่ตามมาก็คือ ปฏิทินนี้เกิดความคลาดเคลื่อนจนเกิดการเสื่อมความนิยมและไม่กลับมาใช้อีกเลย
เพราะฉะนั้นด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลที่จะต้องสืบสานจารีตประเพณีวัฒนธรรม โดยคนในภาคเหนือถือสุภาษิตที่เป็นคติที่ว่า "พ่อแม่ตาย บ่เสียดาย เท่าฮีต" ถึงบุพการีและบรรพบุรุษจะรักเรามากเพียงไร สุดท้ายก็ต้องได้เสียชีวิตลง แต่"ฮีตฮอย อย่าให้เราเป็นผู้ทำลายให้ตายไปด้วยน้ำมือเรา"
ซึ่งอ้างอิงตามฉบับของวัดธาตุคำ ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ฉบับนี้จะเป็นฉบับของวัดโพนทอง แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว ซึ่งจะมีใจความสำคัญคือ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในที่นี้จะเป็นข้อมูลที่เป็นตำราของชาวล้านนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าไม่ทำตามนี้ก็จะเป็นการขึดบ้านขึดเมือง (เกิดอาเพศ รุ่มร้อนทั้งบ้านทั้งเมือง) ซึ่งคำว่าขึด ภาษาไทยภาษาเหนือหมายถึง อาเพศ อับโชค เดือดร้อน รุ่มร้อนเข้าสู่บ้านเมืองจนถึงขั้นพินาศ ถึงขึ้นเรียกว่าฉิบหาย (คำนี้จะแรงกว่าคำว่าขึด) ก็ว่าได้
โดยทั้งหมดนี้จะเป็นการนับแบบล้านนาไทย เนื่องจากแบบฉบับล้านนาจะนับเร็วกว่าพื้นที่อื่นๆ หากเป็นกรณีไทเขินเชียงตุง และไทลื้อเชียงรุ่ง ในล้านนาจะนับเร็วกว่าไป 1 เดือน ส่วนถ้าเป็นพื้นที่เหลือเช่นเขมร ไทยสยาม(ไทยภาคกลาง) ลาวหลวงพระบาง(ลาวล้านช้าง) พม่า และไทยใหญ่ ในล้านนาจะนับเร็วไป 2 เดือน อย่างไรก็ตามปฏิทินบางสำนักพิมพ์มักมีการพิมพ์เพี้ยนจากเดิม โดยเฉพาะปฏิทินล้านนา เนื่องจากว่ามีการคัดลอกจากปฏิทินฉบับไทยเขิน ทำให้วันไทมีการเพี้ยน เนื่องจากที่หยิบยกมานี้จะใช้ปฏิทินล้านนาฉบับวัดธาตุคำเป็นสำคัญคำนวณโดย พระครูอดุลสีลกิตติ์ ภาษาล้านนาจะเรียกว่าปั๊กขะทืน (อ่านว่า ปั๊กกะตืน)
เป็นประเพณีที่คนไทยเดิมถือแบบเคร่งครัดมาก จะมีอีกชื่อหนึ่งว่า วันปรัสสทา เนื่องจากหากกระทำตามวันเสียประจำเดือนจะไม่เป็นมงคล ซึ่งจะนับเป็นรอบละ 4 เดือน ตามเดือนจันทรคติ ดังตาราง โดยวันทางภาษาบาลีกับภาษาไทยจะเป็นดังนี้
ส่วนใหญ่แล้ววันราหูจะไม่นับเป็นวันเสียประจำเดือน เนื่องจากมี 7 วันแรกที่เป็นวันเสียอยู่แล้ว จึงทำให้เดือนยี่ เดือนหก และเดือนสิบ จะมีวันเสียประจำเดือนแค่วันอังคารวันเดียว ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับเทวดานพเคราะห์ จึงจะนับเพิ่มเติมให้ครบ สามารถดูเพิ่มเติมที่โหราศาสตร์ไทย
ซึ่งจะปรากฏวันเสียประจำเดือนดังนี้
รอบเดือน | ชื่อวันในภาษาบาลี-สันสกฤต | ชื่อวันของไทย | เดือนในจันทรคติล้านนาเชียงราย-เชียงใหม่ (ภาคเหนือของไทย) | เดือนในจันทรคติเขินเชียงตุง, ลื้อเชียงรุ่ง(สิบสองปันนา) | เดือนในจันทรคติไทยภาคกลาง(ไทยสยาม), เขมร, ล้านช้าง(ลาว), ลาวเชียงทอง(ลาวหลวงพระบาง), พม่า และไทใหญ่รัฐฉาน |
---|---|---|---|---|---|
1, 5, 9 | รวิ, จนฺทํ | อาทิตย์, จันทร์ | เดือนเกี๋ยง (เดือนอ้าย), เดือนห้า, เดือนเก้า | เดือนสี่, เดือนแปด, เดือนสิบสอง | เดือนสาม, เดือนเจ็ด, เดือนสิบเอ็ด |
2, 6, 10 | ราหุ, องฺคารํ | ราหู, อังคาร | เดือนยี่, เดือนหก, เดือนสิบ | เดือนอ้าย (เดือนเกี๋ยง), เดือนห้า, เดือนเก้า | เดือนสี่, เดือนแปด, เดือนสิบสอง |
3, 7, 11 | โสรี, คุรุ | เสาร์, พฤหัสบดี | เดือนสาม, เดือนเจ็ด, เดือนสิบเอ็ด | เดือนยี่, เดือนหก, เดือนสิบ | เดือนเกี๋ยง (เดือนอ้าย), เดือนห้า, เดือนเก้า |
4, 8, 12 | สุโข, พุทฺธา | ศุกร์, พุธ | เดือนสี่, เดือนแปด, เดือนสิบสอง | เดือนสาม, เดือนเจ็ด, เดือนสิบเอ็ด | เดือนยี่, เดือนหก, เดือนสิบ |
หากเป็นวันในประเทศพม่าและไทยใหญ่ จะเรียกว่า วันปย้าด นั่นเอง
วัฏจักรวันเก้ากอง จะเป็นระบบวันไท โดยจะมีระบบลูกมื้อเป็นตัวระบุว่าเดือนนี้คือการใช้ลูกมื้อแบบใด
ในแต่ละเดือนตามจันทรคติจะมีวันที่เป็นลูกมื้อ ซึ่งจะมีแม่มื้อมารับ ทั้งนี้ในแต่ละเดือนจะมีเดือนละ 2-3 วัน หากเป็นปีอธิกมาสจะมีครบทั้ง 5 วัน แต่ถ้าถูกเปลี่ยนเดือน ตัวระบบมื้อจะเหมือนตามตารางเหมือนเดิม ดังตาราง โดยจะวนเป็นระบบวันไท หรือ ปีไท (หากเริ่มจากวันกาบไจ๊ จะมีมื้อ ไจ๊ ไส้ และ เส็ด จะคงเดิม แต่หากเป็นวันอื่นๆ จะเริ่มวันตามตาราง ดังนี้)
ชื่อเดือนทางจันทรคติ | ลูกมื้อที่ใช้วันเก้ากองประจำเดือน | วันไทประจำเดือน |
---|---|---|
เดือนอ้าย (เดือนเกี๋ยง) | เม็ด | กัดเม็ด, รวงเม็ด , กาเม็ด , ดับเม็ด และเมิงเม็ด (โดยจะเริ่มนับจากวันรวงเม็ด) |
เดือนยี่ | สะง้า ,สง้า หรือซง้า | กาบสะง้า, รวายสะง้า, เปิกสะง้า, กดสะง้า และเต่าสะง้า (โดยจะเริ่มนับจากวันกดสะง้า) |
เดือนสาม | ไส้ | กัดไส้, รวงไส้ , กาไส้ , ดับไส้ และเมิงไส้ |
เดือนสี่ | สี | กาบสี, รวายสี, เปิกสี, กดสี และเต่าสี (โดยจะเริ่มนับจากวันเปิกสี) |
เดือนห้า | เหม้า เหมา หรือ เม้า | กัดเหม้า, รวงเหม้า , กาเหม้า , ดับเหม้า และเมิงเหม้า (โดยจะเริ่มนับจากวันเมิงเหม้า) |
เดือนหก | ยี | กาบยี, รวายยี, เปิกยี, กดยี และเต่ายี (โดยจะเริ่มนับจากวันรวายยี) |
เดือนเจ็ด | เป้า หรือ เปล้า | กัดเป้า, รวงเป้า , กาเป้า , ดับเป้า และเมิงเป้า (โดยจะเริ่มนับจากวันดับเป้า) |
เดือนแปด | ไจ๊ หรือ ไจ้ | กาบไจ๊, รวายไจ๊, เปิกไจ๊, กดไจ๊ และเต่าไจ๊ |
เดือนเก้า | ไก๊ หรือ ไค้ | กัดไก๊, รวงไก๊ , กาไก๊ , ดับไก๊ และเมิงไก๊ (โดยจะเริ่มนับจากวันดับไก๊) |
เดือนสิบ | เส็ด | กาบเส็ด, รวายเส็ด, เปิกเส็ด, กดเส็ด และเต่าเส็ด |
เดือนสิบเอ็ด | เร้า หรือ เล้า | กัดเร้า, รวงเร้า , กาเร้า , ดับเร้า และเมิงเร้า (โดยจะเริ่มนับจากวันกาเร้า) |
เดือนสิบสอง | สัน | กาบสัน, รวายสัน, เปิกสัน, กดสัน และเต่าสัน (โดยจะเริ่มนับจากวันเต่าสัน) |
ซึ่งมันจะมีความหมายมากเป็นพิเศษสำหรับกรณีวันเก้ากอง ทั้งนี้ จากที่กล่าวไว้ในข้างต้นจะเหมือนเดิมทุกประการโดยเฉพาะวันระบบมื้อ ยกเว้นถ้ามีการเปลี่ยนเดือนทางจันทรคติขึ้น วันที่ตกตามวัฏจักรเก้ากองจะถูกข้ามไป 1 วัน เช่น แรม 15 ค่ำ เดือนยี่เป็นมื้อรวายยี วันไสเจ้า เมื่อเข้าสู่วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 3 จะเป็นมื้อเมิงเหม้า วันท้ายป้าวทันที โดยที่จะไม่ได้ตกวันไสเสีย แต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นกรณีปีอธิกมาส เช่น เดือนสิบ (ของล้านนา) หรือ เดือนแปด นั้น จะเป็นการใช้ระบบหมุนเวียนเช่นเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยสมมติว่าวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 หนต้นแรกจะเป็น มื้อรวายไจ๊ วันพื้นดอก เมื่อขึ้น 1 ค่ำเดือน 10 หนหลังจะเป็น มื้อเมิงเป้า วันพื้นดาย
โดยคำอธิบายจะเป็นดังนี้
วันที่ตกในวัฏจักรวันเก้ากอง | คำอธิบาย |
---|---|
วันรองพื้น | อย่าเก็บเอาและเผาถ่าน ไม้ฟืนหลัว บ่ดี การทำไร่ใส่นาและทำสวนดี การปลูกบ้านแปลงเรือนจักอยู่เย็นเป็นสุข |
วันพื้นดอก | กระทำการมงคลกรรมดีทุกอย่าง จักมีลูกหลานมากมาย ทำคอกวัว(งัว ในล้านนาและล้านช้าง)คอกควาย สร้างแปลงรั้วดี นำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงดีจักแพร่หลาย |
วันพื้นดาย | ซื้องัวควายและสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงจักตายจาก นำข้าทาสมาเรือนบ่วุฒิ |
วันสุพัก | รับซื้อสัตว์เลี้ยงวัวควายช้างม้า เป็ดไก่ดี การจัดกินแขกแต่งงานวิวาห์มงคลดี มีลูกหญิงชายจักอยู่ในโอวาท |
วันรับได้ | อย่าได้รับฝากของไว้ การไปติดต่อผู้ใหญ่บ่ดี |
วันรับตาย | งดการวิวาห์มงคล การกินแขกแต่งงานและห้ามนำสัตว์เลี้ยง 2 ตีน 4 ตีน มาเลี้ยง (ในที่นี้หมายถึงสัตว์เลี้ยง 2 ขากับ 4 ขา ) |
วันขว้ำได้ | อย่าเอาผัวเอาเมีย จัดกินแขกแต่งงาน จักเป็นร้างเป็นหม้ายในวันลูน(วันภายหลัง) บ่ดี เที่ยวทางไกล ออกเรือนไปค้าขาย จักได้ทรัพย์สมบัติดังปรารถนา |
วันไสเจ้า | อย่าทำการวิวาห์มงคล อย่าซื้อสิ่งของและนำสัตว์ 2 ตีน และ 4 ตีนมาเลี้ยง บ่ดี |
วันไสเสีย | อย่าออกจากเรือนไปค้าขายทางไกล จักประสบอุบัติเหตุกลางทาง |
วันท้ายป้าว | อย่าเดินทางทางน้ำ อย่าไปค้าขายทางเรือ หากำไรยาก ขาดทุนเร็ว การไปค้าขายทางบกดี |
วันยี่เพียง | การวิวาห์มงคลแต่งผัวแต่งเมีย การเอาคนเข้าบ้านเข้าเมือง การซื้อของเป็นต้นว่าแก้วแหวนเงินทอง ช้างม้าวัวควาย สัตว์ 2 ตีน 4 ตีนทุกสิ่งทุกอย่างดี จัดค้าขายมีกำไรดี จักทำกิจการทุกอย่างในวันนี้ดีมาก |
วันเก้ากอง | เป็นวันที่กระทำการมงคลดี จะทำกิจการใดๆดีทุกอย่าง จักมีเงินคำสัมปัตติ(สมบัติ)พอหมื่นบ่ไร้(ไม่ขาด) เอาข้าวใหม่ใส่ยุ้งฉางดี เทียวทางไกลจะกลับคืนมาโดยสวัสดี แต่ห้ามกระทำการฌาปนกิจศพ(ส่งสการเผาศพ)ในวันนี้เป็นอันขาด ไม่ดี |
เนื่องจากวันเก้ากองมีตำนานมานานมากแล้ว จึงจะเป็นที่มาดังนี้
ห้ามเสียผีในวันเก้าก๋องเพราะจะทำให้คนตายเพิ่มอีกหลายๆคน ความเชื่อคนล้านนาบอกต่อกันมาว่า วันเก้าก๋องบ่ดีเสียผี ตำนานเล่ากันว่าดังนี้....
มีหญิงตุ๊กกะต้ะยากจนข้นแค้นคนหนึ่ง รูปงามชื่อว่า นางสัปป๊ะแจ๊ะ (นางสรรพแฉะ) บางตำราเรียกนางว่า นางตั๋ณหา (นางตัณหา) คือแฉะอยู่ตลอดเวลาว่างั้นเถอะ นางมีสามี 7 คนด้วยกัน แต่ละคนมีลักษณะเหมือนกันทุกๆคนดังหลอมหล่อจากเบ้าเดียวกันคือหัวล้านเหมือนกันหมด ลักษณะผมเผ้ามันเหมือนกันจริงๆจริ๊ง
วันหนึ่งนางไปเก็บเห็ดมาจากป่าเลี้ยงผัว เมื่อผัวทั้งเจ็ดกินแกงเห็ดพากันตายทั้ง 7 คนนอนกองเรียงกันบนเติ๋น(โถงบ้าน) เมื่อเหตุการณ์ขึดเกิดขึ้นดังนั้น นางจึงบอกกับตัวเองว่าจะเอาเงินที่ไหนมาจ้างสัปเหร่อเผาศพสามีถึง 7 คน ต้องเสียเงินมากมาย คิดได้แล้วนางจึงรีบลากศพสามี 6 คนไปซ่อนไว้ในห้องเหลือเพียง 1 ศพที่กลางเติ๋น แล้วไปบอกสัปเหร่อว่าต้องเผาศพผัวให้ไหม้เกรียมจริง เพราะก่อนตายผัวบอกแกว่า เขารักเมียมากแม้จะเผาที่ไหน ผีเขาก็จะกลับมาอยู่กับเมียตลอดไป เมื่อเสร็จสิ้นเผาศพสามีแล้วจะเอาเงินค่าจ้างให้
สัปเหร่อจึงรีบแบกศพสามีคนที่หนึ่งไปเผาจนไหม้สิ้นซาก ส่วนนางสัปป๊ะแจ๊ะก็รีบลากศพผัวคนที่สองมาวางไว้แทนตรงศพที่หนึ่งนอนอยู่ เมื่อสัปเหร่อกลับมาจะเอาเงิน นางชี้ไปยังศพว่าเห็นไหม? ผัวกลับมาบ้านอีกแล้ว ให้สัปเหร่อนำเอาศพผัวไปเผาให้หมดจนได้ เมื่อสัปเหร่อแบกศพผัวคนที่สองลงเรือนนางก็ลากศพผัวคนที่สามมาวางแทนที่ศพผัวคนที่สอง เมื่อสัปเหร่อกลับมานางก็บอกว่าเห็นไหมผัวยังกลับมาบ้านได้อีก สัปเหร่อดูศพแล้วก็หัวล้านเหมือนคนแรกและคนที่สองก็นึกว่าผัวนางกลับมาจริงๆ จึงแบกศพกลับไปเผาอีก ส่วนนางก็ลากเอาศพที่สี่ ห้า หก เจ็ดมาวางแทนที่ศพก่อนๆ สัปเหร่อกลับมาเห็นก็ต้องกลับเอาศพไปเผาอีกจนถึงศพที่เจ็ด สัปเหร่อโกรธมาก เพราะเหนื่อยอ่อนต้องเผาศพตลอดวัน ถึงศพที่เจ็ดจึงเพิ่มฟืนให้มากไฟลุกท่วมศพจนเกรียม ขณะเดียวกันสัปเหร่อก็เตรียมท่อนฟืนไว้เป็นอาวุธรอทุบหัวผีหากมันฟื้นคืนมาต้องเอากันให้แหลกไปข้าง อย่าให้ผีมันกลับบ้านหาเมียมันเลย
ขณะนั้นเองมีชายเผาถ่านหน้าตามอมแมมอิดโรยจากการเผาถ่าน ลักษณะหัวล้าน เดินออกมาจากป่าข้างกองไฟเผาผี สัปเหร่อเห็นคนหัวล้านก็นึกว่าผีผัวคนที่เจ็ดลุกมาจากกองไฟจึงรีบจะเอาท่อนฟืนเข้าตีหัว แต่ชายเผาฟืนเป็นคนมีเจิง(ชั้นเชิง)หลบทันรีบกอดรัดต่อสู้ป้องกันตัวเพราะไม่รู้ว่าทำไมตนเองต้องมาถูกตีถูกทำร้ายเพิ่งเผาถ่านมาแท้ๆ เวรกรรมรึไง?? อะไร?เอาฟืนมาทุบหัวตู? บ้าก็บ้าวะ? การต่อสู้กอดรัดกันตกในกองไฟตายตามกันไปทั้งสองคน
เป็นอันว่าวันนั้นกองไฟกองเดียวต้องเผาศพไปทั้งหมดเก้าศพ โดยมีผัวนางสับป๊ะแจ๊ะ 7 ศพ สัปเหร่อ 1 ศพ และคนเผาถ่าน(เจ้ากรรมแท้ๆคนล้านนาว่าต๋ายบ่เข้าพริกเข้าเกลื๋อคือตายเปล่าๆปลี้ๆ)อีก 1 ศพ รวม 9 ศพ พอดีๆ คนล้านนาเรียกวันนี้ว่าวันเก้าก๋อง ห้ามเสียผีหรือเผาศพในวันนี้(เห็นไหม ใครว่าเลข 9 เป็นเลขมงคล เรื่องนี้อัปมงคลชัดๆ)
เมื่อจะเผาศพคนล้านนาจะไปถามพระ ปราชญ์เพื่อหามื้อจั๋นวันดี วันเสีย วันจม การคำนวณหาวันไหนเป็นวันเก้าก๋อง อันนี้มีตำรา เพราะพื้นฐานมาจากความเชื่อทางล้านนาซึ่งสืบทอดจากตำราพม่า มอญ ไต หลากหลายตำราหากเผาผีในวันนี้เชื่อว่าจะทำให้คนตายตามกันมาอีกหลายๆศพ เรื่องวันเก้าก๋องก็จบลงแลนายเฮย... [1]
ในทางภาคกลางหรือคนในภาคอื่นเข้าใจว่าเป็นวันที่ว่าวันเก้ากองเป็นวัน 9 ค่ำ เดือน 9 หรือ วันที่ 9 แต่ความเป็นจริงแล้วมิใช่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากการอธิบายเรื่องวันเก้ากอง จะมีการคำนวณเฉพาะ และความหมายของวันจะปรากฏตามที่กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้า หากเป็นกรณีวัน 9 ค่ำ เดือน 9 ไปดูเพิ่มเติมที่#วันหล่มหลวง
วันดิถีจะมีระบบ ปัญจดิถี (ดิถีทั้ง 5) ทั้งนี้จะมีการเรียกดิถีที่ลงท้ายด้วยดิถี
วันปัญจดิถี | คำอธิบาย |
---|---|
วันนันทาดิถี (วันนันตาดิถี ตามภาษาไทยภาคเหนือ) | ควรสร้างบ้านเรือนวิหาร ศาลา ขุดสระน้ำ หล่อพระพุทธรูปสร้างพระธาตุ ออกเดินทางไปค้าขายยกยอมหาเถระสังฆราช ราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ ตัดช่อและตุงไชยดีมาก |
วันภัทราดิถี | คนส่งศุภสารการทูตส่งบ่าวสาวแต่งงาน ดำหัว ล้างทำความสะอาดเครื่องประดับ ย้ายที่อยู่ แกะสลักเขียนภาพ ตัดไม้ทำเรือนเข้าอยู่บ้าน ตั้งชื่อยศนามศักดิ์ ดีมาก |
วันไชยาดิถี | ควรเริ่มสร้างอาวุธยกทัพ เจรจาความเมือง เลี้ยงหมู่ทหาร เรียนศิลปศาสตร์วิชาคุณก่อสร้างเมืองใหม่ ทำความสะอาดอาวุธ ทำรั้ว |
วันปุณณาดิถี | ควรนำเข้าใหม่ขึ้นสู่ยุ้งฉาง นำคนใช้มาอยู่บ้าน พระสงฆ์เริ่มเรียนพระธรรมคัมภีร์ต่างๆ สร้างเวียงวัง เพิ่มนาม แต่งตั้งอำมาตย์ข้าราชการ เริ่มเรียนเวทมนต์คาถา |
วันริตตาดิถี (วันฤทธาดิถี) | ควรสร้างสวนทำไร่นา ปลูกต้นไม้ สร้างถนนหนทาง ทำแก้วแหวนมิ่งมงคล ตัดเสื้อผ้าทำขวัญสู่ขวัญตัดผมเข้าเฝ้าเจ้านาย |
จะมีลักษณะเป็นการเป็น 5 วันโชค สามารถดูเพิ่มเติมที่ ฤกษ์ล่าง ดูที่ ฤกษ์ล่าง
จะเป็นลักษณะฤกษ์เข้า-ฤกษ์ออก สามารถดูเพิ่มเติมที่ ฤกษ์บน ที่หัวข้อย่อยใน ภินทุบาท(ติณฤกษ์,ฤกษ์อกแตก)
ซึ่งเป็นลักษณะดิถีเรียงหมอนแบบภาคกลาง ซึ่งสามารถดูเพิ่มเติมที่ ฤกษ์ล่าง ที่หัวข้อย่อยใน ดิถีเรียงหมอน
วันฟ้าตีแส่งนี้ใช้ดูวันสำหรับทำพิธีมงคลสมรส การสร้างบ้านใหม่ เปิดร้านค้าสำนักงานและลงทำพิธีทุกชนิด วันนี้เชื่อว่าเป็นวันที่ดีกว่าวันทั้งหลาย กล่าวคือ แม้วันอื่นเช่นวันเม็ง วันไท วันเก้ากอง ฯลฯ จะเป็นวันไม่ดี หากเป็นวันฟ้าตี่แสงดีแล้ว ก็จะชนะภัยชนะความอัปมงคลทั้งปวง หากเป็นวันฟ้าตีแสงไม่ดี วันอื่นจะดีเพียงใดก็พึงงดงานมงคลนั้นเสีย คำทำนายวันฟ้าตี่แสง มีดังนี้
เศษ | คำทำนาย | คำอธิบาย |
---|---|---|
0, 1, 8 | ไม่ดี | แม้พระยาอินทาธิราชขึ้นทรงปราสาทก็จักวินาศฉิบหาย |
3, 7 | ไม่ดี | ไฟจักไหม้หรือจักประสบอุบัติเหตุ เป็นกังวลอันตรายแก่ท้าวพระยา ผีเสื้อบ้าน เสื้อเมือง |
2, 4, 5, 6 | ดีนัก (ดีมาก) | ขี้ไร้ปองกลายเป็นดี กระทำกันอื่นใดก็จะสมฤทธีทุกอย่าง |
การที่จะเปลี่ยนวันฟ้าตีแสงได้ จะมีการวนเลขเป็น 0-5-1-6-2-7-3-8 และ 4 หลังจากนั้นก็วนไปหาเลข 0 อีกครั้ง หากเป็นกรณีเดือนในจันทรคติหมดก็คือถึงแรม 14-15 ค่ำ จะเป็นเดือนคู่หรือเดือนคี่ก็ตามก็จะเอาเศษที่จากวันแรม 14 ค่ำมาเริ่มนับใหม่อีกครั้งของวันขึ้น 1 ค่ำของถัดไป
การดำเนินชีวิตผู้คนต้องพบกับปัญหาจิปาถะ ทั้งปัญหามากน้อยไปตามเรื่อง ตามกรรมของแต่ละคน อย่างผู้คนล้านนาเขามีต๋ำฮา(ตำรา)เกี่ยวกับผีกิ๋น(กิน)สิ่งต่างๆ หากวันใดผีกินสิ่งใดห้ามเอาสิ่งนั้นเข้าบ้านหรือห้ามรับประทานสิ่งนั้นเลียนแบบผี จะทำให้มีอันเป็นไป ด้วยตำราที่ค้นคว้าจากปั๊บ(พับ)สาของคนล้านนาว่าไว้
"ถ้าวันไหนผีกิ๋นสิ่งใดห้ามเอาสิ่งนั้นหรือกิ๋นสิ่งนั้นจั่กทำหื้อเสียหายหรือต๋ายแต๊แหล่" การดำเนินชีวิตผู้คนต้องพบกับปัญหาจิปาถะ ทั้งปัญหามากน้อยไปตามเรื่อง ตามกรรมของแต่ละคน อย่างผู้คนล้านนาเขามีต๋ำฮา(ตำรา)เกี่ยวกับผีกิ๋น(กิน)สิ่งต่างๆ หากวันใดผีกินสิ่งใดห้ามเอาสิ่งนั้นเข้าบ้านหรือห้ามรับประทานสิ่งนั้นเลียนแบบผี จะทำให้มีอันเป็นไป ด้วยตำราที่ค้นคว้าจากปั๊บ(พับ)สาของคนล้านนาว่าไว้ ดั่งนี้
หากเป็นเวลาเดือนออก(ข้างขึ้น)ว่าไว้ดั่งนี้
ออก 1 ค่ำ และออก 11 ค่ำ ผีกิ๋นผี บ่ดีเสียผี
ออก 2 ค่ำและเป็ง 15 ค่ำ ผีกิ๋นหมาบ่ดีเอาหมาเข้าบ้าน
ออก 3 ค่ำผีกิ๋นควายบ่ดีซื้อควาย บ่ดีกิ๋นเนื้อควาย
ออก 4 ค่ำผีกิ๋นจ๊าง(ช้าง)บ่ดีซื้อจ๊าง
ออก 5 ค่ำ และออก 9 ค่ำ ผีกิ๋นม้า บ่ดีซื้อม้ามาขี่มาเลี้ยง
ออก 6 ค่ำและออก 10 ค่ำผีกิ๋นคน บ่ดีฮับ(รับ)เอาคนเข้าบ้าน
ออก 7 ค่ำและออก 12 ค่ำผีกิ๋นไก่ บ่ดีซื้อไก่ บ่ดีกิ๋นไก่
ออก 8 ค่ำและออก 13 ค่ำผีกิ๋นเป็ด บ่ดีซื้อเป็ด บ่ดีกิ๋นเป็ด
ออก 14 ค่ำผีกิ๋นหมูบ่ดีซื้อหมูมาเลี้ยง บ่ดีกิ๋นจิ๊นหมู
ที่กล่าวมาเป็นตำราการบริหารจัดการ การนำเอาคน สัตว์เข้าบ้านและนำเนื้อสัตว์มาบริโภค โดยใช้ผี มาเป็นตัวกำหนดในวันเดือนออกหรือข้างขึ้น [2]
"ผีกิ๋นสัตว์สิ่งของใดคนบ่ดีกิ๋นหรือเอาสิ่งของเลียนแบบผี จะเกิดความเสียหาย"
การจัดการชีวิตของผู้คนล้านนาโดยใช้วิถีความเชื่อเรื่องผีตอนเดือนออกหรือข้างขึ้นได้กล่าวไปแล้วตอนก่อน ต่อไปนี้จะกล่าวถึงผีกิ๋นเวลาเดือนแฮมหรือข้างแรม ตำราว่าไว้ดังนี้
แฮม 1 ค่ำ แฮม 2 ค่ำ และแฮม 10 ค่ำผีกิ๋นหมา บ่ดีเอาหมาเข้าบ้าน
แฮม 3 ค่ำและ 12 ค่ำผีกิ๋นควาย บ่ดีซื้อควายและกิ๋นจิ๊นควาย
แฮม 4 ค่ำและ 13 ค่ำ ผีกิ๋นจ๊างเข้าบ้าน
แฮม 5 ค่ำและ 14 ค่ำ ผีกิ๋นม้าบ่ดีซื้อม้าเข้าบ้าน มาขี่
แฮม 6 ค่ำผีกิ๋นคน บ่ดีฮับ(รับ)เอาคนเข้าบ้าน
แฮม 7 ค่ำผีกิ๋นไก่ บ่ดีซื้อไก่ กิ๋นจิ๊นไก่
แฮม 8 ค่ำผีกิ๋นเป็ด บ่ดีซื้อเป็ด กิ๋นจิ๊นเป็ด
แฮม 9 ค่ำผีกิ๋นหมู บ่ดีซื้อหมู กิ๋นจิ๊นหมู
แฮม 11 ค่ำ ผีกิ๋นงัว(วัว) บ่ดีซื้องัวมาเลี้ยง บ่ดีกิ๋นจิ๊นงัว
เดือนดับหรือแฮม(แรม) 15 ค่ำ ผีกิ๋นผี บ่ดีเสียผี เอาศพไปเสีย
เท่าที่กล่าวมาเป็นการจัดการชีวิตในเวลาเดือนแฮมหรือข้างแรมของผู้คนล้านนา...เน้อหมู่เฮา [3]
วันม้วย คือวันที่เป็นแบบอัคนิโรธหรือนางกาลกรรณีวิลัยวรรณ ก็คือชื่อของบุตรีของพญามัจจุราช มีผมแดง แต่งกายและทัดดอกไม้แดง เหาะล่องลอยมาในอากาศแล้วก็ตกลงสู่บ้านเรือนผู้คนในวันดิถีต่าง ๆ แสดงถึงอาเพศและเคราะห์หามยามร้ายต่าง ๆ หากเราไปกระทำการมงคล ที่ต้องกับอัคนิโรธในวันนั้น ๆ ซึ่งดูเพิ่มเติมได้ที่ ฤกษ์ล่าง ในหัวข้อ ดิถีอัคนิโรธ
เป็นวันในลักษณะคือวันและเดือนในจันทรคติชนกัน ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เช่น ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 หรือ แรม 7 ค่ำ เดือน 7 ซึ่งวันนี้เป็นวันที่กระทำการมงคลอื่นไม่ได้เว้นแต่แต่งงานและบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุและสามเณรได้
การนับวันที่ใช้การสังเกตรูปร่างของดวงจันทร์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยดวงจันทร์จะมีทั้งเต็มดวง (เดือนเพ็ญ) และจะค่อย ๆ เหลือเป็นเสี้ยวเล็กลงไปจนกระทั่งมองไม่เห็น (เดือนมืด) เรียกว่า ข้างแรม และเพิ่มขึ้นอีกจนกระทั่งเต็มดวงอีกครั้งเรียกว่า ข้างขึ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 วันหรือเท่ากับ 1 เดือน การนับวันที่แบบไทเดิมในรอบ 1 เดือนมีดังนี้ โดยภาษาอื่นๆ มักจะเรียกข้างขึ้นว่า เดือนออก บางตำราจะเรียกว่าเดือนลง ส่วนแรม 14 หรือ 15 ค่ำ (ขึ้นกับเดือนจันทรคติว่าเป็นเดือนคู่หรือเดือนคี่:เดือนครบ,เดือนขาด) เรียกว่า เดือนดับ นั่นคือ เดือนมืด ส่วนเดือนเพ็ญจะเรียกว่า เดือนเป็ง หรือเดือนเพ็ง
จะเป็นการนับวันเช่นเดียวกับในประเทศไทย ดังนี้
จะเป็นการนับเหมือนปีนักษัตรทุกประการ โดยจะมีวันระบบแม่มื้อและลูกมื้อวน 60 วัน ที่ไม่ซ้ำกัน แต่จะมีความหมายเป็นดังนี้ ในที่นี้จะขอกล่าวตามปฏิทินล้านนาเชียงใหม่ซึ่งเรียกลูกมื้อเป็นดังนี้
ส่วนแม่มื้อจะเรียกดังนี้
โดยการนับวนจะนับวนจากกาบไจ้ ในตารางนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น จะนำปฏิทินล้านนาฉบับสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประกอบด้วย ซึ่งคำทำนายอธิบายไว้ในวงเล็บ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลำดับที่ | ชื่อวันไท | คำอธิบายหรือคำทำนาย |
---|---|---|
1. | กาบไจ้ | แม่วันดี คันจักเยียะได้ หื้อหาวันปลอด (ดี เป็นสิริมงคล) |
2. | ดับเป้า | อย่าได้สานหับไปค้า จะถูกฆ่ากลางทาง (อย่าเดินทางค้าขาย) |
3. | รวายยี | อย่าเอาเหล้าสู่ขวัญ วันลูนเกิดเป็นหนี้ (อย่าให้เหล้าแก่ท้าวพระญา) |
4. | เมืองเหม้า | อย่ายอพลรบท่าน จะตายถูกปืน (อย่าสู้รบ) |
5. | เปิกสี | หื้อห่อหมากถามสาว พ่อแม่หากวางหื้อลูก (ควรหมั้นหมาย) |
6. | กัดไส้ | อย่าสร้างดาบเถี่ยนกล้า จักพลันได้ฟันตน (อย่าประดิษฐ์หรือซื้ออาวุธ) |
7. | กดสะง้า | อย่าขี่ม้าเทียวเมือง จักตกม้าตายเผิดหน้า (อย่าออกเดินทาง ในที่นี้อาจจะเกี่ยวกับการค้าขาย) |
8. | ร้วงเม็ด | อย่าก่ายห้างยิงกวาง แม่นทำดายบ่ได้ (อย่าทำอาวุธธนูหน้าไม้ และอย่าออกล่าสัตว์ด้วย) |
9. | เต่าสัน | หื้อห่อหมากขอสาวหุมมาสู่ (ควรผูกมิตร ทั้งเรื่องคู่หมั้นและการสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน) |
10. | ก่าเล้า | หื้อหาขวัญลูกเต้า เอาขวัญข้าวแควนดี {ตามวัดธาตุคำระบุว่าควรทำบายศรีสู่ขวัญ} (สำนักวัฒนธรรมกล่าวว่า ควรถักแห) |
11. | กาบเส็ด | อย่าม้วนหูกทอลาย จะตกตาย บ่ดี |
12. | ดับไค้ | อย่าตัดผม ไปม่ายสาว สาวบ่ชมบ่สู้ |
13. | รวายไจ้ | อย่าได้ขี่ม้าแอ่วเที่ยวทาง จะเสียนางร่วมห้อง |
14. | เมืองเป้า | อย่าตัดผ้าไหมนุ่ง จะตายจากกัน |
15. | เปิกยี | อย่าได้สานสาด(เสื่อ) ปูชานช่อง เยียวได้ร้อนเอ่าตัวเก่า |
16. | กัดเหม้า | ดีฟันเรือไว้หว้ายท่า ไปค้าได้แสนคำ |
17. | กดสี | หื้อแรกไม้แปล๋งเรือน วัวควายหลายเต๋มชูห้อง |
18. | ร้วงไส้ | อย่ากระทำการเอาขวัญ เยียวเสียหลานเหลนกับลูกเต้า |
19. | เต่าสะง้า | ฝั้นเชือกวัวควาย เยียวตัวตายตมม้วย |
20. | ก่าเม็ด | อย่าฝนหลาวเถี่ยนกล้า เยียวหากฆ่าฟันตน |
21. | กาบสัน | หื้อล้อมวัวควาย มีหลายบ่น้อย |
22. | ดับเล้า | หื้อตัดผม ม่ายชู้สาวหากสู้มาหา |
23. | รวายเส็ด | อย่าปลูกครัวยังสวน เยียดหลือใจบ่ได้มาก |
24. | เมืองไค้ | หื้อยอพลรบกับท่าน ได้ทั้งช้างกับนาง |
25. | เปิกไจ้ | ดีใส่รัก ทาเกี๊ยะแป๋งกล่อง และกุบ ดี |
26. | กัดเป้า | อย่าได้สืบคำเมืองท่านบ่สู้ |
27. | กดยี | หื้อสานก๋วยไปค้า จักได้คำมาเต็มชาน |
28. | ร้วงเหม้า | ดีเยียะสวน ปลูกยา หากเป็นดอกดีงาม |
29. | เต่าสี | หื้อกระทำการเรือหอม สวนผักก็ดาดี |
30. | ก่าไส้ | อย่าเอากันกินแขก จักได้ถูกถ้อยเป็นคำ |
31. | กาบสะง้า | หื้อแรกน้ำใส่นา จักได้ข้าวมาเต๋มหลอง[ยุ้ง] |
32. | ดับเม็ด | อย่าชวนกันไปค้า เยียวท่านฆ่าเอาครัว |
33. | รวายสัน | หื้อแรกไม้แปลงเวียง แม้พลแสนรบบ่แพ้ |
34. | เมืองเล้า | หื้อยอพลรบท่าน ได้ทั้งช้างกับนาง |
35. | เปิกเส็ด | อย่าหื้อได้ตกนา เยียวตายโหงท่านฆ่า |
36. | กัดไค้ | อย่าก่ายห้างยิงกวาง แม่นทำดายบ่ได้ |
37. | กดไจ้ | หื้อสานก๋วยไว้ (รอท่า) จะได้เวินคำเต็มก๋วย |
38. | ร้วงเป้า | อย่าแป๋งสวนปลูกอ้อย เป็นต้นงามบ่มีน้ำ |
39. | เต่ายี | หื้อปลูกไว้ยังสวน ตกทลายขาวหม้า(มาก) |
40. | ก่าเหม้า | อย่าหื้อของแก่ท่าน จักเสียล้านภายลูน |
41. | กาบสี | แป๋งเครื่องย้อมไหมแดงดี |
42. | ดับไส้ | เอาเมียมาใหม่ จักได้ลูกตายพราย |
43. | รวายสะง้า | หื้อแป๋งครกต๋ำเข้า ได้ข้าวมาต๋ำบ่ขาด |
44. | เมืองเม็ด | หื้อสานแห ทอดน้ำได้เต๋มข้องพอหมาน |
45. | เปิกสัน | หื้อใส่เหล้าบรรณาการ ขุนรักหื้อลาภมากนัก |
46. | กัดเล้า | หื้อก่ายห้างยิงนก ได้เต๋มพกเพื่อวันหมาน |
47. | กดเส็ด | อย่าฝั้นเชือกวัวควาย เสียตนตาย เพื่อบ่กัดหญ้า |
48. | ร้วงไค้ | อย่าชวนกันกินเหล้า เทียรย่อมผิดกัน |
49. | เต่าไจ้ | หื้อได้ล้อมคอกวัวควาย เป็นหลายตัวใหญ่หม้า (มาก) |
50. | ก่าเป้า | อย่าชวนกันลงเรือ |
51. | กาบยี | หื่อสานก๋วยไปกาด ได้ของค้าหากพอหาม |
52. | ดับเหม้า | หื้อตัดเสื้อผ้า แหนชู้ ขุนนางรัก |
53. | รวายสี | หื้อหาครัวศึก พลแสนรบบ่แพ้ |
54. | เมืองไส้ | อย่าชวนกันรบท่าน เยียวตายถูกปืน |
55. | เปิกสะง้า | อย่าสร้างครัวศึก เยียวเสียตายบ่แพ้ท่านฆ่า |
56. | กัดเม็ด | หื้อเอาวัวควายมาคอก เป็นหลายตัว สุขมาก |
57. | กดสัน | หื่อห่อหมากถามสาวหุม บ่ร้าง |
58. | ร้วงเล้า | อย่าเย็บลายเข้านุ่ง (ผ้านุ่ง) เยียวจะได้ห่มเมื่อตาย |
59. | เต่าเส็ด | อย่าถมยังชีไฟ เตาไฟ ผีดั้งจักชังเนอ |
60. | ก่าไค้ | อย่าซื้อวัวควายมาคอก ผีด้ำซ้ำบ่ดีสังแล |
การนับเดือน นับตามตัวเลขทั้ง 12 เดือน ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงใช้กันอยู่ ดังนี้
แต่อย่างไรก็ตาม หากจะเทียบเดือนตามจันทรคติ สามารถไปดูเพิ่มเติมที่ จุลศักราช
การนับปีของไทเดิม นับตามลำดับปีของราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ เจ้ามหาชีวิต หรือเจ้าฟ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ปีที่ 9 แห่งราชวงศ์เชียงราย
ปีนักษัตรของไท หรือ ปีหนไทย จะคล้ายคลึงกับจีน ญี่ปุ่น และชาติอื่น ๆ ในเอเชีย คือ ใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์ ใช้คำไทเดิมซึ่งชาวล้านนา ล้านช้าง ไทใหญ่ยังใช้อยู่ แต่ในปัจจุบันไทยใช้คำเขมร ดังนี้[4]
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ชื่อศกไทยโบราณ ที่ เป็นชื่อบอกเลขตัวท้ายของจุลศักราชควบคู่ปีนักษัตร ซึ่งมี 10 ชื่อ
ซึ่งในการเรียกชื่อปีนักษัตร จะมีเกณฑ์นับปีและศกไทย มีกำหนด 60 ปี เท่ากับ 1 รอบ โดยเรียกชื่อศกแล้วตามด้วยชื่อปีนักษัตร ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.