บุญหลง ถาคำฟู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญหลง ถาคำฟู (6 สิงหาคม พ.ศ. 2482 – 11 มกราคม พ.ศ. 2553) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง 3 สมัย
บุญหลง ถาคำฟู | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2482 อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง |
เสียชีวิต | 11 มกราคม พ.ศ. 2553 (70 ปี) โรงพยาบาลแม่ทะ จังหวัดลำปาง |
ประวัติ
นายบุญหลง ถาคำฟู เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายป๊อก และ นางบัวคำ ถาคำฟู[1] สำเร็จการศึกษา เศรษฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การทำงาน
บุญหลง เข้ารับราชการในกรมการสารสนเทศ กระทรวงพาณิชย์ ราว 5 ปี ก่อนที่จะย้ายไปทำงานที่องค์การฟอกหนัง ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายการค้า[2]
งานการเมือง
บุญหลง ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2518 ในสังกัดพรรคพลังใหม่ ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรครวมไทย และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 รวม 3 สมัย[3]
พ.ศ. 2544 บุญหลง ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 3 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคชาติพัฒนา[4] ก่อนที่จะไม่ได้รับเลือกตั้ง และวางมือทางการเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
บุญหลง ถาคำฟู ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรครวมไทย → พรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดลำปาง สังกัดพรรคความหวังใหม่
ถึงแก่กรรม
บุญหลง ถาคำฟู เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553 สิริอายุรวม 70 ปี [5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[7]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.