บริเทนส์กอตทาเลนต์ (อังกฤษ: Britain's Got Talent) เป็นรายการโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและเป็นส่วนหนึ่งของรายการโทรทัศน์ชุดกอตแทเลินต์ที่จะค้นหาผู้ที่มีความสามารถทางด้านการแสดง ร้องเพลง ตลก รวมทั้งความสามารถอื่นๆ โดยไม่จำกัดอายุ นำเสนอรายการโดย แอนต์ แอนด์ เดค ซึ่งเป็นพิธีกรที่มีชื่อเสียงในอังกฤษ
บริเทนส์กอตแทเลินต์ | |
---|---|
ไฟล์:Britain's Got Talent logo.png | |
ประเภท | ประกวดความสามารถ |
สร้างโดย | ไซมอน โคเวลล์ และ ซายโค ทีวี |
พิธีกร | แอนต์ แอนด์ เดค สตีเฟน มัลเฮิร์น |
ประเทศแหล่งกำเนิด | สหราชอาณาจักร |
จำนวนซีรีส์ | 6 |
จำนวนตอน | 38 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ซายโค ทีวี โดย ทอล์กแบ็กเธมส์ |
ความยาวตอน | 1 - 1:30 ชั่วโมง |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ไอทีวี |
ออกอากาศ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ |
ซึ่งผู้ชนะจากการลงคะแนนโดยผู้ชมจะได้รับรางวัล 100,000 ปอนด์สเตอร์ลิง และได้รับโอกาสแสดงต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพระบรมวงศานุวงศ์ ในส่วนคณะกรรมการตัดสิน ประกอบด้วย ไซมอน โคเวลล์, อแมนดา โฮลเดน, ปิแอร์ส มอร์แกน (ได้เปลี่ยนคณะกรรมการใหม่ 2 คนคือ เดวิดแฮดเซอร์ฮอฟและไมเคิล แมคอินไตย์ มาแทนปีแอร์ส ที่จะต้องไปรับงานของซีเอ็นเอ็นที่สหรัฐอเมริกาและไซมอน โคเวลล์ ที่จะมาเป็นกรรมการเฉพาะช่วงถ่ายทอดสดเท่านั้น นับตั้งแต่ซีรีส์ที่ 5 เป็นต้นไป
ซีรีส์ชุดแรกของรายการนี้เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผู้ชนะคือ พอล พอตส์ ส่วนผู้ชนะของซีรีส์ที่สองซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 12 เมษายน - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผู้ชนะคือ จอร์จ แซมป์สัน และซีรีส์ที่สามเริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 11 เมษายน - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีผู้ชนะคือ กลุ่มนักเต้น ไดเวอร์ซิตี
ซึ่งในซีรีส์ที่สามนี้เอง ที่ทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจ จากหนึ่งในผู้เข้าประกวดชื่อ ซูเซิน บอยล์ ที่ในช่วงแรกก่อนการแสดงความสามารถ ทั้งผู้ชมในโรงประกวดและคณะกรรมการตัดสิน แสดงความกังขาเชิงลบต่อเธอว่า ไม่น่าจะสามารถผ่านเข้ารอบได้ แต่เมื่อเธอเปล่งเสียงร้องในเพลง ไอดรีมด์อะดรีม (อังกฤษ: I dreamed a dream) เพลงจากละครเวทีเรื่องเลมีเซราบล์ (ฝรั่งเศส: Les Misérables) เสียงร้องของเธอและเรื่องราวชีวิตของเธอทำให้เธอโด่งดังเพียงข้ามคืน แม้จะได้เพียงตำแหน่งรองชนะเลิศก็ตามและท้ายที่สุดถึงแม้จะได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ เธอก็ยังได้แสดงต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพระบรมวงศานุวงศ์
กติกา
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องโชว์ความสามารถในการแสดงของตนเองได้ภายใน 5-10 นาที ในขณะเดียวกันกรรมการทั้ง 4 คนจะคอยดูการแสดงนั้น หากไม่ชอบใจหรือไม่ดีพอ กรรมการจะกดปุ่มสีแดง ที่เรียกว่าบัซเซอร์ (Buzzer) และหลอดไฟฟ้ารูปกากบาท ตรงหน้าโต๊ะและด้านบนของเวที เมื่อกากบาทปรากฏขึ้นครบ 4 บัซเซอร์ การแสดงจะหยุดลงทันที และกรรมการจะตัดสินว่า การแสดงนั้นจะผ่านเข้ารอบต่อไปหรือไม่ โดยผู้แข่งขันต้องได้รับคะแนน อย่างน้อย 3 ใน 4 คน แล้วคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันอีกครั้ง เพื่อเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
บุคคลสำคัญ
- กรรมการ
- กรรมการรับเชิญ
- กรรมการเฉพาะรอบแสดงสด
- พิธีกร
ซีซั่น | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | |
ไซมอน โคเวลล์ | ||||||||||||
อแมนด้า โฮลเดน | ||||||||||||
เพียร์ส มอร์แกน | ||||||||||||
เดวิด แฮสเซลฮอฟ | ||||||||||||
ไมเคิล แม็คอินไตย์ | ||||||||||||
อลิชา ดิกซั่น | ||||||||||||
เดวิด วอลเลี่ยมส์ | ||||||||||||
แอนต์ & เดค | ||||||||||||
เคลลี่ บรู้ค | ||||||||||||
หลุยส์ วอล์ช | ||||||||||||
คาร์เมน อเล็กตรา | ||||||||||||
แค็ธลีน วอลเลี่ยมส์ |
ฤดูกาล
- ฤดูกาลที่ 1 (2550)
- ฤดูกาลที่ 2 (2551)
- ฤดูกาลที่ 3 (2552)
- ฤดูกาลที่ 4 (2553)
- ฤดูกาลที่ 5 (2554)
- ฤดูกาลที่ 6 (2555)
- ฤดูกาลที่ 7 (2556)
- ฤดูกาลที่ 8 (2557)
- ฤดูกาลที่ 9 (2558)
- ฤดูกาลที่ 10 (2559)
- ฤดูกาลที่ 11 (2560)
- ฤดูกาลที่ 12 (2561)
- ฤดูกาลที่ 13 (2562)
- ฤดูกาลที่ 14 (2563)
เกร็ดน่ารู้
- ในปีที่ 3 ได้เพิ่มกรรมการคนที่ 4 แต่ว่าได้ถูกไล่ออกหลังจากการออดิชั่นที่แมนเชอสเตอร์
- ในปี 2011 มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ 2 คนเนื่องจากติดงานอื่น
- โต๊ะกากบาทที่กรรมการนั้งอยู่มีการเปลี่ยนแปลง โต๊ะ 5 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 โต๊ะมีสัญลักษณ์ Britain's Got Talent อยู่ด้านล่างและมีกากบาทอยู่ด้านบนเล็กมากในซีซั่น 1 ออดิชั่นครั้งแรก (เหมือนของ America's Got Talent ฤดูกาลแรก)
- ครั้งที่ 1.5 ได้เปลี่ยนโต๊ะที่เป็นกากบาทเล็กเป็นกากบาทใหญ่
- ครั้งที่ 2 โต๊ะเป็นสี่เหลี่ยมขอบโค้ง และมีกากบาทมีขอบเป็นสีขาวแต่ข้างในจะเป็นสีแดง (กากบาทที่โชว์อยู่ด้านบนของตัวออดิชั่นก็เช่นกัน) ในซีซั่นที่ 1 และต่อมาได้เอามาใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
- ครั้งที่ 2.5 กากบาทสีแดงที่โต๊ะ จะแดงเต็มแถบและไม่มีกรอบขาวเลย
- ครั้งที่ 3 เพิ่มกากบาทเป็น 4 อันแต่ใช้แค่วันเดียวเท่านั้น (ด้านบนก็เพิ่มมาด้วย) ในซีซัน 4
- ครั้งที่ 4 ได้เปลี่ยนเป็นสี่เหลี่ยมเช่นเดิมด้านหลังเป็นกระจก (ด้านบนเป็นแบบซีซั่นที่ 1) ในซีซั่นที่ 5
- ครั้งที่ 5 ได้ใช้บัซเซอร์ 4 อัน กากบาท 4 อัน
- ครั้งที่ 4,5 กากบาทบนเพดานใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
- เดวิด แฮดเซอร์ฮอฟ เคยเป็นกรรมการในอเมริกาก็อตทาเลนต์มาแล้วในปี 2006-2009 และมาแทนที่ เพียร์ มอร์แกน
- ปัจจุบันรายการมีกรรมการหลัก 4 คนโดยมี ไซมอน โคเวลล์ ด้วยหากเขา มาไม่ได้จะมีกรรมการแทนอีกคนนึง
- บางการแสดงที่ถูกตัดต่อหรือไม่ได้ฉายในรายการ จะนำไปฉายอย่างเต็มๆ ในอีกรายการที่ชื่อว่า Britain's Got More Talent
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.