Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หรือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (ชื่อเล่น เต่า) ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้เผยแพร่แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าคนแรกในประเทศไทย จากการเขียนหนังสือ "ตีแตก" การแปลหนังสือ การเขียนบทความ และการบรรยายในวาระต่าง ๆ เพื่อให้นักลงทุนเลิกเก็งกำไรอย่างไร้หลักการในตลาดหุ้น หันมาลงทุนแบบเน้นคุณค่าและลงทุนอย่างปลอดภัยมากขึ้น ปัจจุบัน สถานะสมรสแล้วกับนางเพาพิลาส เหมวชิรวรากร ครูประจำโรงเรียนจินตการดนตรี[2]
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นิเวศน์ เหมวชิรวรากร | |
---|---|
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2496[1] |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | นักลงทุน, พิธีกร, วิทยากร |
มีชื่อเสียงจาก | เผยแพร่ลงทุนเน้นคุณค่า |
คู่สมรส | เพาพิลาส เหมวชิรวรากร |
บุตร | พิสชา เหมวชิรวรากร |
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เกิดที่เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวที่มีบิดาและมารดาเป็นชาวจีน และอพยพเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งบิดามาเริ่มต้นเป็นช่างก่อสร้าง ส่วนมารดาเป็นแม่บ้าน ทำให้ ดร.นิเวศน์ ต้องถูกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาด้วยวิธีธรรมชาติจากหมอตำแย และยังมีการแจ้งเกิดช้า โดยแจ้งเกิดหลังจากคลอดประมาณ 2-3 วัน
ดร.นิเวศน์ มีพี่ชายอีก 2 คน โดย ดร.นิเวศน์ เป็นน้องชายคนสุดท้อง ซึ่งพี่คนโต และพี่คนรอง ไม่ได้เรียนหนังสือ และขอทำงานเป็นช่างไม้ แต่เลือกที่จะให้ ดร.นิเวศน์ เรียนหนังสือไปจนถึงระดับปริญญาตรี
ในวัยเด็ก ครอบครัวของเขามีฐานะยากจน เพราะการที่บิดาเป็นคนงานก่อสร้างนั้น ทำให้ค่าแรงในการทำงานน้อยมาก ต้องกินอาหารในราคาถูก และการพักอาศัยก็ไม่ได้สะดวกสบาย เขาจึงใช้วิธีการประหยัดอดออม และระมัดระวังการใช้จ่ายเงินของตนเองอยู่เสมอ
ดร.นิเวศน์ ชอบการเรียนการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะเคยคิดกับตนเองอยู่เสมอว่า ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามหาศาลที่สุดสำหรับมนุษย์คือ การศึกษา เพราะนี่คือ สิ่งที่สามารถเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ให้กับหลายคน โดยเฉพาะคนที่มีต้นทุนในชีวิตไม่สูงอย่างตัวเขา ด้วยความเป็นคนที่มุ่งมานะตั้งใจเรียนหนังสือ อย่างมาก ประกอบกับการได้รับทุนตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมศึกษา และไม่เคยมีพฤติกรรมเกเร จึงสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเลือกเข้าเรียนในสาขาวิชา วิศวกรรมเครื่องกล
หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรี เขาได้เข้าไปเริ่มทำงานที่โรงงานน้ำตาลในต่างจังหวัด โดยทำหน้าที่ทั้งวิศวกร และการควบคุมระบบโรงงาน ซึ่งงานวิศวกรในเวลานั้นถือว่าเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยกำลังเติบโต โดยสาเหตุที่เลือกไปทำงานต่างจังหวัด เพราะเชื่อว่าจะช่วยทำให้เก็บเงินได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีทั้งเงินเดือน, ค่าล่วงเวลาในการทำงาน, มีอาหารให้รับประทานฟรี, มีรถประจำตำแหน่ง (รถจักรยาน) และยังมีที่พักที่บริษัทจัดหามาให้อีกด้วย ด้วยนิสัยที่เป็นคนประหยัดออดออมมาตั้งแต่เด็ก ทำให้พอมีเงินเก็บจากการทำงาน โดยนำบางส่วนส่งให้ที่บ้านใช้ และบางส่วนก็ทำการเก็บสะสมเพื่อไปลงทุน ซึ่งการลงทุนที่ว่า ก็คือ การศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยในการทำงานเป็นวิศวกรโรงงานน้ำตาลมาสักระยะหนึ่ง เขาได้เข้าไปสมัครเรียนต่อปริญญาโทในคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยใช้วิธีการเรียนควบคู่กับการทำงาน จนเรียนจบปริญญาโท และเมื่อได้เงินลงทุนพอที่จะเรียนต่อปริญญาเอก จึงทำให้เขาตัดสินใจลาออกจากการเป็นวิศวกรในโรงงานน้ำตาล และเดินทางไปเรียนต่อที่ มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี้ สหรัฐอเมริกา
ในช่วงระหว่างไปเรียนต่อปริญญาเอกด้านการเงินที่สหรัฐอเมริกา นั้น ดร.นิเวศน์ ก็ไม่ได้มีเงินติดตัวมากนัก ทำให้เขาต้องทำงานเสริม ด้วยการเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอน และเมื่อรวมเงินกับการที่ได้รับทุนนั้น จึงช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้พอสมควร
หลังจากที่เรียนจบปริญญาเอกแล้ว ดร.นิเวศน์ ก็ตัดสินใจกลับมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง โดยเข้ามาทำงานในสถาบันการเงินและทำงานมาได้ประมาณ 10 ปี จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2540 ชีวิตต้องพบจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ด้วยการถูกเชิญออกจากงาน ในวัย 42 ปี สืบเนื่องจากเหตุการณ์ผลกระทบของวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือที่คนทั่วไปจะเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง หรือ วิกฤตฟองสบู่แตก
การตกงานของตนเองในเวลานั้น พร้อมกับภาระครอบครัว จากการที่บุตรสาวของเขายังอยู่ในระหว่างการเรียนหนังสือ และภรรยาที่ต้องดูแล ทำให้เขาต้องวางแผนชีวิตใหม่ เพื่อให้ครอบครัวอยู่รอดจากวิกฤตเศรษฐกิจนี้ให้ได้
ดร.นิเวศน์ ได้นำเงินที่สะสมมาตั้งแต่ทำงานในสถาบันการเงิน มาลงทุนในหุ้นที่มีราคาลดลงมาเยอะมากในช่วงที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ และมีความเสี่ยงสูง แต่เขาวิเคราะห์ดีแล้วว่า ควรจะลงทุนกับตัวธุรกิจได้รับผลกระทบน้อย ที่สำคัญคือ ยังสามารถจ่ายเงินปันผลได้
โดยในช่วงเวลานั้น ดร.นิเวศน์ คิดเสมอว่า การลงทุนก็ไม่เคยคิดว่าจะต้องรวย ขอเพียงแค่ให้มีเงินปันผล ที่สามารถนำมาใช้จ่ายและเลี้ยงดูครอบครัวได้ก็พอแล้ว และทำให้ในเวลาต่อมา เขาคือ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่า โดยออกหนังสือเพื่อสอนผู้คนในการลงทุน เช่น หนังสือ ตีแตก, คู่มือคนอยากรวย (เจ้าเก่า), ลงทุนเพื่อชีวิตด้วยหุ้น, เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้ และได้ไปเป็นกูรูสอนการลงทุนหุ้นในรายการโทรทัศน์ เช่น รายการ Money Talk เป็นต้น อีกทั้งยังได้รับทาบทามเป็นแขกรับเชิญในรายการโทรทัศน์ ที่เสนอในด้านเศรษฐกิจ หรือ การวางแผนการเงินการลงทุน โดยเฉพาะ การลงทุนหุ้นเน้นคุณค่าในบริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้รับการอนุมัติให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์กับประชาชน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และจดทะเบียนการอนุมัติเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุนกับประชาชน จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้ง SET และ mai โดยอาศัยจากประสบการณ์ในการลงทุนหุ้นของตนเอง และนำมาบอกกล่าวผ่านสื่อมากมาย [3] [4]
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.