ธนาคารศรีนคร เป็นธนาคารพาณิชย์ เปิดดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ในอดีตใช้ชื่อว่า ธนาคารสิงขร[2] โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด ณ อาคารเลขที่ 84 ถนนยุคล 2 ตำบลจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร

ข้อมูลเบื้องต้น ชื่อเดิม, เลขทะเบียน ...
ธนาคารศรีนคร
ชื่อเดิมธนาคารสิงขร
เลขทะเบียน0105493000546[1]
ทุนจดทะเบียน5,943 ล้านบาท[1]
ประเภทธนาคารพาณิชย์
อุตสาหกรรมการเงินและการประกันภัย
ก่อตั้ง21 สิงหาคม พ.ศ. 2493
เลิกกิจการ1 เมษายน พ.ศ. 2545
สาเหตุแปรสภาพรวมกับธนาคารนครหลวงไทย (ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทยธนชาต)
สำนักงานใหญ่2 ถนนเฉลิมเขตร์ 4 แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ปิด

คณะผู้ก่อตั้งประกอบด้วย พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) นายอื้อจือเหลียง นายอุเทน เตชะไพบูลย์ พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และสำนักงานรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้น เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของประชาชนให้เป็นปึกแผ่น และนำเงินออมเหล่านั้นมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์ เป็นต้นว่า ให้กู้ยืมแก่กิจการอุตสาหกรรม, พาณิชยกรรมทั้งในและต่างประเทศ, ภาคเกษตรกรรม และวิสาหกิจอื่น 

คณะกรรมการชุดแรก

Thumb
พระยาโทณวณิกมนตรี ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร
  • พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) ประธานกรรมการ
  • นายอื้อจือเหลียง รองประธานกรรมการ
  • นายอุเทน เตชะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ
  • พระยาจินดารักษ์ กรรมการ
  • นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กรรมการ
  • นายโชวกุงเคียม กรรมการ
  • ขุนเศรษฐภักดี กรรมการ
  • นายแต้คายซิว กรรมการ
  • นายเหียเจี๊ยะเซ็ง กรรมการ

การดำเนินกิจการ

Thumb
โฆษณาธนาคารศรีนคร พิมพ์ปี 1959

แรกเริ่มดำเนินการ ธนาคารศรีนคร เป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 4 คูหา มีพนักงาน 58 คน มีบริการเงินฝาก 2 ประเภท คือ ประเภทกระแสรายวัน และประเภทฝากประจำ มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท

กิจการของธนาคารรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ธนาคารจึงได้ดำเนินการขยายกิจการสาขา โดยเปิดสาขาสามแยกขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 และในเดือนธันวาคมปีนั้น ก็ได้เปิดสาขาอีก 3 แห่งคือ สาขาบางลำภู, สาขาบางรัก และสาขาประตูน้ำ ในปีต่อ ๆ มาได้เปิดเพิ่มอีกหลายสาขาทั่วกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ 2512 ธนาคารได้ขยายกิจการสาขาไปยังส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดยได้เริ่มเปิดสาขาหาดใหญ่ เป็นสาขาแรกในส่วนภูมิภาค และได้ขยายกิจการสาขาตามจังหวัดต่าง ๆ อีกมากกว่า 177 สาขาทั่วประเทศ

ในปี พ.ศ. 2513 คณะกรรมการธนาคารได้เริ่มโครงการขยายกิจการธนาคารให้กว้างขวางขึ้น โดยได้จัดซื้อที่ดินบริเวณสวนมะลิ จำนวน 3 ไร่ เพื่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ และได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ซึ่งธนาคารได้กระทำพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่อย่างเป็นทางการ ณ อาคารเลขที่ 2 ถนนเฉลิมเขตร์ 4 สวนมะลิ แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2519 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) เป็นองค์ประธานในพิธี สำนักงานใหญ่ของธนาคารเป็นอาคารสูง 16 ชั้น

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 ธนาคารศรีนคร ได้ยุบรวมกิจการเข้ากับธนาคารนครหลวงไทย (ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทยธนชาต)[3] ตามประกาศกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2545[4]

สัญลักษณ์ของธนาคาร

ตั้งแต่เริ่มกิจการ ธนาคารศรีนครได้ใช้ตราสัญลักษณ์เป็นภาพประตูสวัสดิโสภามีวงกลมล้อมรอบ มีชื่อธนาคารเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ [ต้องการอ้างอิง] ภายหลังเปลี่ยนเป็นรูปสามเหลี่ยมครอบตรามีรูปประตูเป็นรูปคล้ายบ้าน ด้านล่างมีคำว่า ธนาคารศรีนคร เป็นสีฟ้า ซึ่งเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2530

คำขวัญเดิมของธนาคารคือ "เมียคือศรีบ้าน ธนาคารคือศรีนคร" และคำขวัญสุดท้ายก่อนควบรวมกิจการคือ "บริการเพื่อท่าน สร้างสรรค์เพื่อสังคม"


รายนามประธานกรรมการ

  1. พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) (พ.ศ. 2493-2498)
  2. นายดิเรก ชัยนาม (พ.ศ. 2498-2503)
  3. พลตำรวจเอก เยื้อน ประภาวัต (พ.ศ. 2503-2506)
  4. หลวงอรรถปรีชาชนูปการ (ฉอรรถ แสนโกศิก) (พ.ศ. 2506-2509)
  5. นายเสริม วินิจฉัยกุล (พ.ศ. 2509-2510)
  6. พลเอก กฤช ปุณณกันต์ (พ.ศ. 2510-2512)
  7. พลโท เกรียงไกร อัตตะนันทน์ (พ.ศ. 2512-2515)
  8. นายอรุณ ทัพพะรังสี (พ.ศ. 2515-2519)
  9. พลตรี ศิริ สิริโยธิน (พ.ศ. 2519-2522)
  10. นายอุเทน เตชะไพบูลย์ (พ.ศ. 2522-2526)
  11. นางสุมน สมสาร (พ.ศ. 2526-2530)
  12. นายศักดิ์ศรี แย้มนัดดา (พ.ศ. 2530-2534)
  13. พลเอก ศัลย์ ศรีเพ็ญ (พ.ศ. 2534-2536)
  14. นางวีณา เชิดบุญชาติ (พ.ศ. 2536-2540)
  15. นายโกวิทย์ โปษยานนท์ (พ.ศ. 2540-2543)
  16. นายวิจิตร สุพินิจ (พ.ศ. 2543-2545)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.