คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ธงศาสนาพุทธ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ธงศาสนาพุทธ ที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
ลักษณะ
คำว่า "ฉัพพรรณรังสี" อันเป็นชื่อของธง แปลว่ารัศมี 6 สี (มาจากคำสมาสในภาษาบาลี "ฉ" (หก) + "วณฺณ" (สี) + "รํสี" (รังสี, รัศมี) มีที่มาจากสีของรัศมีซึ่งกล่าวกันว่าแผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า คือ
- สีนีละ - สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน (คือเป็นสีน้ำเงิน)
- สีปีตะ - สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
- สีโรหิตะ - สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
- สีโอทาตะ - สีขาวเงินยวง
- สีมัญเชฏฐะ - สีแสดเหมือนหงอนไก่
- สีประภัสสร - สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก (คือสีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน)
ผู้ออกแบบธงได้นำสีทั้งหกตามบรรยายข้างต้นมาดัดแปลงเป็นผืนธง โดยมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็นแถบเรียงเป็นแนวตั้งความกว้างเท่ากัน 6 แถบ เรียงลำดับแถบสีจากด้านซ้าย (ซึ่งเป็นด้านต้นของธง) ไปทางขวาดังนี้ แถบแรกสีน้ำเงิน แถบที่ 2 สีเหลือง แถบที่ 3 สีแดง แถบที่ 4 สีขาว แถบที่ 5 สีแสด ส่วนแถบสุดท้ายหรือแถบสีประภัสสร เป็นแถบสีที่เกิดจากการนำแถบสีทั้ง 5 สีแรกในตอนต้นมาเรียกลำดับใหม่ในแนวนอน
Remove ads
ความหมาย
สีในธงฉัพพรรณรังสีแต่ละสีมีความหมายอื่นแฝงดังต่อไปนี้
Remove ads
ประวัติ
ธงนี้ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อ พ.ศ. 2423 พันเอกเฮนรี เอส. โอลคอตต์ เป็นผู้แก้ไขให้เป็นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2428 ที่ประเทศศรีลังกา ต่อมาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (World Fellowship of Buddhists - WFB) ได้ประกาศให้ธงนี้เป็นธงพุทธศาสนาสากลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา
ธงแบบอื่น ๆ
สรุป
มุมมอง
โดยทั่วไปแล้ววัดในศาสนาพุทธทั้งสายเถรวาทและสายมหายานในประเทศต่าง ๆ นิยมแสดงธงฉัพพรรณรังสีตามแบบข้างต้นเป็นสัญลักษณ์ อย่างไรก็ตาม ในบางกลุ่มหรือบางสำนักเลือกใช้สีธงที่ต่างออกไปเพื่อเน้นแนวทางคำสอนแห่งสำนักของตนเอง
- ชาวพุทธในประเทศญี่ปุ่นได้แทนแถบสีน้ำเงินด้วยสีเขียวและแทนแถบสีแสดด้วยสีม่วง สีทั้ง 5 สีในธงของพุทธศาสนิกชนญี่ปุ่นหมายถึงพระธยานิพุทธะในคติมหายานทั้ง 5 พระองค์ ส่วนนิกายโจโดชินชู (นิกายสุขาวดีที่แท้จริง) แทนที่แถบสีแสดด้วยสีชมพู
- ในทิเบต สีต่าง ๆ ในธงฉัพพรรณรังสีหมายถึงสีจีวรของพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว พระสงฆ์ทิเบตใช้จีวรสีแดงเข้ม (maroon) ฉะนั้นแถบสีแสดจึงมักถูกแทนที่ด้วยสีแดงเข้มอยู่บ่อยครั้ง
- ผู้นับถือศาสนาพุทธแบบธิเบตในประเทศเนปาลแทนที่ส่วนแถบสีแสดด้วยสีลูกพลัม
- พุทธศาสนิกชนในพม่าแทนแถบสีแสดด้วยสีชมพู
- สมาคมสร้างคุณค่า หรือ "โซคา งัคไค" ซึ่งเป็นสมาคมชาวพุทธที่ปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระนิชิเรน ใช้ธงสัญลักษณ์เป็นธงไตรรงค์สีน้ำเงิน-เหลือง-แดง[1]
- ธงฉัพพรรณรังสีแบบหนึ่งของชาวญี่ปุ่น
- ธงฉัพพรรณรังสีของนิกายโจโดชินชู
- ธงฉัพพรรณรังสีแบบทิเบต
- หนึ่งในธงหลายแบบของสมาคมโซคา งัคไค
ธงธรรมจักร


สำหรับในประเทศไทย ธงสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธที่ใช้โดยทั่วไปคือ ธงธรรมจักร อันหมายถึง ธรรมะที่นำไปสอนในที่ต่าง ๆ แล้วยังความสันติสุขให้เกิดขึ้นในที่นั้น ๆ ลักษณะธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง
รูปธรรมจักรในธงนั้นมีซี่ล้อหรือกำ 12 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ ซึ่งโดยปกติแล้ว การทำรูปธรรมจักรประดับศาสนสถานนิยมทำแบบมีกำ 8 ซี่ แต่ละซี่มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคแต่ละองค์ อันมีองค์ 8 วงล้อหมายถึง ทุกข์และสมุทัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเกิดมาแล้วจะต้องประสบ ดุมที่เป็นศูนย์กลางและสงบนิ่งไม่หมุน หมายถึง จุดหมายสูงสุด คือ นิโรธหรือนิพพาน
คณะสงฆ์ไทยได้ประกาศใช้ธงธรรมจักรอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501[2]
ในประเทศไทยนั้น เมื่อมีการประกอบพิธีสำคัญหรืออยู่ในวาระสำคัญทางศาสนาพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ก็จะมีการประดับธงธรรมจักรร่วมกับธงชาติไทยอยู่เสมอ
เนื่องจากประเทศไทย มีอุดมคติรัฐที่สามสถาบันคือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยธงชาติ มีสี น้ำเงิน ขาว แดง ธงศาสนามีสีแสด ธงพระมหากษัตริย์มีสีเหลือง ซึ่งทั้ง5สีของธงสามสถาบัน ก็จะได้ สีทั้ง 5 ของฉัพพรรณรังสี คือ น้ำเงิน ขาว แดง แสด เหลือง ประเทศไทยจึงนิยมใช้แค่ธงธรรมจักร เพราะเมื่อประดับร่วมกับธงชาติ ธงพระมหากษัตริย์ ก็เป็นฉัพพรรณรังสีในตัว จึงไม่จำเป็นต้องใช้ธงฉัพพรรณรังสีก็ได้ จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย
ธงพระรัตนตรัย

ธงพระรัตนตรัย เป็นธงที่สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ให้เป็นเครื่องหมายสมมติแทนพระรัตนตรัย เกิดจากการผสมผสานระหว่าง
- “ธงฉัพพรรณรังสี” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พุทธศาสนิกชนนานาชาติใช้อยู่แล้ว "ฉัพพรรณรังสี" คือรัศมี 6 ประการที่แผ่ออกมาจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย 5 สี 6 แถบ คือ สีนีละ (สีเขียวเหมือนดอกอัญชัญ หรือก็คือสีน้ำเงิน) สีปีตะ (สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง) สีโรหิตะ (สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน) สีโอทาตะ (สีขาวเงินยวง) สีมัญเชฏฐะ (สีแดงเหมือนหงอนไก่) และสีประภัสสร (สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก ก็คือการส่องประกายและสะท้อนสีทั้ง 5 ข้างต้น) โดยธงฉัพพรรณรังสี ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อ พ.ศ. 2423
- “ธงธรรมจักร” เป็นธงสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาที่ประเทศไทยใช้ธงอยู่เดิม ธงธรรมจักรเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง โดยธรรมจักรซึ่งมีซี่ล้อหรือกำสิบสองซี่ หมายถึง ปัญญา 3 ระดับในอริยสัจ 4 (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) หรืออีกนัยหนึ่ง แทน ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ ธงธรรมจักรที่ประดับศาสนสถานนั้นอาจทำธรรมจักรมีกำ 8 ซี่ เพื่อให้มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคมีองค์ 8 ธงธรรมจักรประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501
- สัญลักษณ์ของดอกบัว 8 ดอก ล้อมรอบธงฉัพพรรณรังสีและธรรมจักร ดอกบัวหมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ที่มี 8 ดอกมาจากบทที่ว่าคู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 8 บุรุษ ได้แก่ 1. โสดาปัตติมรรค 2. โสดาปัตติผล 3. สกทาคามิมรรค 4. สกทาคามิผล 5. อนาคามิมรรค 6. อนาคามิผล 7. อรหัตตมรรค 8. อรหัตตผล โดยดอกบัวแต่ละดอกมี 9 กลีบ หมายถึงมุ่งไปสู่พระนิพพาน
ธงพระรัตนตรัยได้ออกแบบใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดย เจ้าอาวาสวัดป่าภูมาศ เหตุจากการเดินทางไปสักการบูชาพุทธสถาน ณ ประเทศศรีลังกา ที่พบว่าสถานที่ทั่วเมืองศรีลังกา และอินเดียนิยมประดับด้วยธงฉัพพรรณรังสีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธศาสนา จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างอนุสรณ์ถวายพระพุทธศาสนาและสาธารณชน จึงออกแบบ “ธงพระรัตนตรัย” ให้เป็นสัญลักษณ์สมมติแทนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรจุรวมอยู่ในธงผืนเดียว เพื่อขึ้นน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา และเพื่อความถาวรแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป
Remove ads
ระเบียงภาพ
- การประดับธงชาติไทยร่วมกับธงธรรมจักรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
- ธงฉัพพรรณรังสีโบกสะบัดเหนืออารามแห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ธงฉัพพรรณรังสีที่มีการแปลงสีไปจากเดิมในประเทศญี่ปุ่น
- ชาวพุทธและพระภิกษุในพม่า ใช้ธงฉัพพรรณรังสีแบบพม่าเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads