คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราชmap
Remove ads

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช[3] หรือ สนามบินนครศรีธรรมราช (IATA: NST, ICAO: VTSF) เป็นท่าอากาศยานตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม

ข้อมูลเบื้องต้น ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช, ข้อมูลสำคัญ ...
Remove ads
Thumb
รันเวย์ 01/19
Thumb
ฐานบินเฮลิคอปเตอร์ของเชฟรอน (กำลังก่อสร้าง)
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช เดิมเปิดให้บริการโดยใช้สนามบินชะเอียน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 โดยการผลักดันของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้มีการบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ จึงได้อาศัยท่าอากาศยานของกองทัพบกในบริเวณค่ายวชิราวุธ ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ได้ปรับปรุงสนามบินเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและปรับปรุงทางวิ่ง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527 และใช้เป็นท่าอากาศยานร่วมกันระหว่างการบินทหารและการบินพลเรือน โดยมีขนาดทางวิ่ง 30 x 1,700 เมตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ท่าอากาศยานกองทัพภาคที่ 4 ได้เปิดใช้บริการเป็นสนามบินพาณิชย์ชั่วคราว โดยมีบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ให้บริการในเส้นทางการบินสุราษฎร์ธานีมายังจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้เครื่องบินชอร์ต 360 อีกสามปีต่อมาเมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ท่าอากาศยานดังกล่าว มีขนาดไม่เพียงพอในการรองรับผู้โดยสาร จึงได้มีการพิจารณาเลือกพื้นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชแห่งใหม่ในบริเวณตำบลปากพูน อำเภอเมือง และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2541 ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชได้รับการประกาศให้เป็นสนามบินอนุญาต และเปิดให้บริการในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีบีแอร์ จำกัด ให้บริการเส้นทางโดยตรงจากกรุงเทพมหานคร มายังจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2543 โดยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี[4]

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเป็นสนามบินศุลกากรในลำดับที่ 10/1 ของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช สามารถรับเที่ยวบินนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศได้[5] ต่อมาได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเดิม ก่อสร้างคันทางพร้อมระบบระบายน้ำท่วม และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่[6]

อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้น 1 เป็นส่วนผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 2 เป็นส่วนผู้โดยสารขาออก โดยมีสะพานเทียบเครื่องบิน 2 สะพาน ซึ่งสะพานทิศเหนือสามารถรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศได้ด้วย ส่วนชั้น 3 เป็นร้านค้า ร้านอาหาร และภัตตาคาร ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวได้เปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 ส่วนอาคารหลังเดิมจะใช้เป็นสำนักงานท่าอากาศยาน สำนักงานสายการบิน และอาคารส่งสินค้า[7]

Remove ads

ข้อมูลทางภายภาพ

สรุป
มุมมอง

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ตั้งอยู่บนทาหลวงแผ่นดินหมายเลข 4103 หมู่ที่ 10 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 1,814 ไร่[8] ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร พื้นที่รวมทั้งหมด 1,814 ไร่ หรือ 2,902,400 ตารางเมตร มีลานจอดอากาศยานรวม 34,000 ตารางเมตร (85 x 400 เมตร) แบ่งออกเป็น B737 9 ลาน ATR-72 2 ลาน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลาน ขนาดทางวิ่ง 59 x 2,100 เมตร[9] ประกอบด้วยอาคารหลักดังนี้

  • อาคารผู้โดยสารหลัก พื้นที่รวม 30,600 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 1,600 คนต่อชั่วโมง หลุมจอดประชิดอาคาร 4 หลุม สะพานเทียบเครื่องบิน 2 สะพาน มีพื้นที่ใช้สอยดังนี้[10]
    • ชั้น 1 ส่วนผู้โดยสารขาเข้า ประกอบด้วยโถงผู้โดยสารขาเข้า, จุดตรวจหนังสือเดินทางสำหรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ, สายพานรับกระเป๋า 3 สายพาน (ระหว่างประเทศ 1 สายพาน และภายในประเทศ 2 สายพาน), พร้อมส่วนบริการผู้โดยสาร
    • ชั้น 2 ส่วนผู้โดยสารขาออก ประกอบด้วยโถงผู้โดยสารขาออก, เคาท์เตอร์ตรวจบัตรโดยสาร จำนวน 22 เคาท์เตอร์, เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ, ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร, จุดตรวจค้นสัมภาระ, จุดตรวจหนังสือเดินทางสำหรับผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ, โถงพักคอยผู้โดยสารขาออกซึ่งเชื่อมต่อกับทางออกขึ้นเครื่อง 4 ช่องทาง (ระหว่างประเทศ 1 ช่องทาง ภายในประเทศ 3 ช่องทาง), ห้องรับรองสายการบิน, ร้านค้า และร้านอาหาร
    • ชั้น 3 พื้นที่ร้านค้า, ภัตตาคาร, สกายเลาจน์ และสำนักงาน
  • อาคารผู้โดยสารหลังเดิม พื้นที่รวม 5,400 ตารางเมตร ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2541–2566 ประกอบด้วย พื้นที่อาคารผู้โดยสารส่วนขาเข้า 470 ตารางเมตร พื้นที่อาคารผู้โดยสารส่วนขาออก 470 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารขาเข้าจำนวน 225 คนต่อชั่วโมง และผู้โดยสารขาออก 225 คนต่อชั่วโมง รวม 450 คนต่อชั่วโมง จำนวนเครื่องบินที่รองรับได้สูงสุด 32 เที่ยวบินต่อวัน ทั้งนี้ เมื่ออาคารใหม่เปิดใช้งาน อาคารดังกล่าวได้รับการปรับปรุงเป็นสำนักงานท่าอากาศยาน, สำนักงานสายการบิน, ห้องประชุม และอาคารส่งสินค้า
Remove ads

สายการบิน

Thumb
ไทยแอร์เอเชียเตรียม taxi

สายการบินที่เปิดให้บริการ

ปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช มีสายการบินที่เปิดให้บริการเส้นทางการบินภายในประเทศ ดังนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม สายการบิน, จุดหมายปลายทาง ...


Thumb
ไทยแอร์เอเชีย จอด ณ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
Thumb
ไทยแอร์เอเชีย Landing

สายการบินที่เคยทำการบิน

สิ่งอำนวยความสะดวก

รถโดยสารสาธารณะ

สำหรับรถโดยสารสาธารณะภายในท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราชปัจจุบันเปิดให้บริการดังนี้

  • รถมินิบัส จอดให้บริการอยู่บริเวณลานจอดรถด้านหน้าอาคารโดยมีรถคอยให้บริการรองรับทุกเที่ยวบิน

สาย 7​ สนามบิน - สถานีขนส่งผู้สารหัวอิฐ - สนามหน้าเมือง สาย 8​ สนามบิน - สี่แยกนาหลวง

  • รถบริการอื่น ๆ ได้แก่ แท็กซี่, ลิมูซีน, และรถตู้

ลานจอดรถ

  • สามารถจอดรถได้ประมาณ 150 คัน[11]

ร้านค้าและร้านอาหาร

ในอาคารผู้โดยสารหลังเดิมมีร้านค้าและร้านอาหารให้บริการ

บริการรถเช่า

ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช มีบริการบริษัทเอกชนให้บริการภายในอาคารท่าอากาศยาน

Remove ads

สถิติ

ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, เที่ยวบิน ...
Remove ads

เหตุการณ์สำคัญ

Thumb
นกแอร์กำลัง take off บนรันเวย์ของท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
Thumb
นกแอร์รับผู้โดยสาร
Thumb
หอบังคับการบิน ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
  • 6 เมษายน 2554 เปิดสนามบินนครศรีธรรมราชโดยเที่ยวบินแรก ออก 15.30น.
  • 13 สิงหาคม 2555 [20]มีคำสั่งปิดการใช้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ไปจนถึงเวลา 24.00 น. หลังจากที่มีการลักลอบจุดเผาป่าพรุใกล้กับรันเวย์จนไฟได้ลุกลามเป็นวงกว้าง โดยแนวไฟได้ประชิดรันเวย์ฝั่งทิศใต้เป็นระยะทางกว่า 1,000 เมตร จนมาถึงแนวแท็กซี่เวย์ ส่งผลให้หมอกควันลอยสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าหลายร้อยเมตร ขณะเดียวกันเถ้าจากใบไม้และใบหญ้าได้ฟุ้งสูงขึ้นกระจายเป็นวงกว้างจนอาจเกิดอันตรายกับอากาศยานในขณะทำการบิน[21]
  • 8 มิถุนายน 2556 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช[22]
  • 6 มกราคม 2560 กรมท่าอากาศยาน แจ้งปิดท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับผลกระทบของจากกรณีฝนตกหนักทำให้น้ำท่วม Runway จนต้องยกเลิกเที่ยวบิน 100% กำหนดการปิดแรกคือวันที่ 6-7 มกราคม 2560 แต่เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายเลยต้องทำการปิดจนถึงวันที่ 11 มกราคม 2560 และขยายวันปิดเพิ่มเติมอีก 2 วัน โดยปิดจนถึง 13 มกราคม 2560 แทน เพราะว่าวิศวกรท่าอากาศยานไม่สามารถตรวจสอบความแข็งแรงของพื้น Runway ได้ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ผู้โดยสารตกค้างและต้องทำการเปลี่ยนเที่ยวบินหรือเดินทางไปใช้บริการท่าอาศยานใกล้เคียงได้แก่ ท่าอาศยานสุราษฏร์ธานี และท่าอากาศยานตรัง [23]
  • 7 ธันวาคม 2560 กรมท่าอากาศยาน แจ้งปิดท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เนื่องจากมีน้ำท่วมบริเวณลานกลับเครื่องบินที่หัวรันเวย์ [24] และได้เปิดบริการอีกครั้งในวันที่ 10 ธันวาคม 2560 [25]
  • 4 มกราคม 2562 กรมท่าอากาศยาน แจ้งปิดท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 00.01 น. ถึงวันที่ 5 มกราคม 2562 ทั้งนี้ทุกสายการบินสามารถทำการบินขึ้นและลงได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 12.00 นาฬิกา เป็นต้นไป [26]
  • 6 สิงหาคม 2563 สายการบินไทยเวียตเจ็ท เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช โดยเครื่องบินแอร์บัส A320 เที่ยวบิน VZ330 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 11.11 น. โดยในเที่ยวบินนี้​มี​ผู้ว่าราชการจังหวัด​นครศรี​ธรรมราช​ และผู้อำนวยการท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช​ให้เกียรติ​ร่วมเดิน​ทางกับนักท่องเที่ยว​ในเที่ยวบินนี้​ด้วย เมื่อถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เวลา 12.20 น.​ ได้มีซุ้มอุโมงค์ฉีดน้ำต้อนรับพร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมต้อนรับเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของสายการบินไทยเวียตเจ็ท โดยมีการมอบของที่ระลึก และสตอ สร้างความประทับใจแก่ผู้โดยสาร [27]
  • 10 กันยายน 2563 สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) - นครศรีธรรมราช โดยเครื่องบินแอร์บัส A320-232 (WL) เที่ยวบินปฐมฤกษ์ WE233 ออกเดินทางถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชใน เวลา 08.25 น. [28]
  • 25 กันยายน 2563 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2562 โดยประทับเครื่องบินที่นั่งถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช
  • 18 พฤศจิกายน 2563 สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง เชียงใหม่ – นครศรีธรรมราช เที่ยวบิน WE173[29]
  • 21 พฤศจิกายน 2563 สายการบินไทยสมายล์ เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง อุดรธานี - นครศรีธรรมราช เที่ยวบินที่ WE175[30]
  • 30 พฤศจิกายน 2563 สายการบินไทยเวียตเจ็ท เปิดทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง เชียงใหม่ - นครศรีธรรมราช[31]
  • 2-4 ธันวาคม 2563 จังหวัดนครศรีธรรมราชมีฝนตกครอบคลุมในทุกพื้นที่ทำให้ทั้งจังหวัดประสบอุทกภัยมีน้ำท่วมขังบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช แต่สามารถเปิดบินได้ตามปกติ พร้อมเร่งเดินเครื่องสูบน้ำตลอดเพื่อระบายน้ำ ผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชไม่สามารถเดินทางมาได้ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลเนื่องจากน้ำท่วมสูงต้องเดินทางเข้าและออกสนามบินโดยรถGMC ของกองทัพบก [32]
  • 21-22 ตุลาคม พ.ศ. 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงนำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทัศนศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยประทับเครื่องบินที่นั่งถึงท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช[33]
Remove ads

อุบัติเหตุ

  • 2 กุมภาพันธ์ 2550 สายการบิน นกแอร์ พร้อมผู้โดยสาร 150 คน ได้ประสบอุบัติเหตุ ยางระเบิดขณะลงจอด ณ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช นักบินสามารถประคองเครื่องให้ลงจอดได้อย่างปลอดภัยไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ในครั้งนี้[34]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads