ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช[3] หรือ สนามบินนครศรีธรรมราช (IATA: NST, ICAO: VTSF) เป็นท่าอากาศยานตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช | |||||||||||
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลไทย | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | กรมท่าอากาศยาน | ||||||||||
พื้นที่บริการ | นครศรีธรรมราช | ||||||||||
ที่ตั้ง | 598 หมู่ที่ 1 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 13 ฟุต / 4 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 8°32′24″N 99°56′25.3″E | ||||||||||
เว็บไซต์ | Nakorn Si Thammarat Airport | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2562) | |||||||||||
| |||||||||||
ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช เดิมเปิดให้บริการโดยใช้สนามบินชะเอียน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 โดยการผลักดันของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้มีการบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ จึงได้อาศัยท่าอากาศยานของกองทัพบกในบริเวณค่ายวชิราวุธ ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ได้ปรับปรุงสนามบินเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและปรับปรุงทางวิ่ง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527 และใช้เป็นท่าอากาศยานร่วมกันระหว่างการบินทหารและการบินพลเรือน โดยมีขนาดทางวิ่ง 30 x 1,700 เมตร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ท่าอากาศยานกองทัพภาคที่ 4 ได้เปิดใช้บริการเป็นสนามบินพาณิชย์ชั่วคราว โดยมีบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ให้บริการในเส้นทางการบินสุราษฎร์ธานีมายังจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้เครื่องบินชอร์ต 360 อีกสามปีต่อมาเมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ท่าอากาศยานดังกล่าว มีขนาดไม่เพียงพอในการรองรับผู้โดยสาร จึงได้มีการพิจารณาเลือกพื้นที่ก่อสร้างท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชแห่งใหม่ในบริเวณตำบลปากพูน อำเภอเมือง และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541
วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2541 ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชได้รับการประกาศให้เป็นสนามบินอนุญาต และเปิดให้บริการในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีบีแอร์ จำกัด ให้บริการเส้นทางโดยตรงจากกรุงเทพมหานคร มายังจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2543 โดยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี[4]
วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเป็นสนามบินศุลกากรในลำดับที่ 10/1 ของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดท่าหรือที่สนามบินศุลกากร ทางอนุมัติด่านพรมแดน และด่านศุลกากร พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช สามารถรับเที่ยวบินนำเข้าและส่งออกสินค้าจากต่างประเทศได้[5] ต่อมาได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารหลังเดิม ก่อสร้างคันทางพร้อมระบบระบายน้ำท่วม และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่[6]
อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้น 1 เป็นส่วนผู้โดยสารขาเข้า ชั้น 2 เป็นส่วนผู้โดยสารขาออก โดยมีสะพานเทียบเครื่องบิน 2 สะพาน ซึ่งสะพานทิศเหนือสามารถรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศได้ด้วย ส่วนชั้น 3 เป็นร้านค้า ร้านอาหาร และภัตตาคาร ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวได้เปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 ส่วนอาคารหลังเดิมจะใช้เป็นสำนักงานท่าอากาศยาน สำนักงานสายการบิน และอาคารส่งสินค้า[7]
ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ตั้งอยู่บนทาหลวงแผ่นดินหมายเลข 4103 หมู่ที่ 10 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 1,814 ไร่[8] ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร พื้นที่รวมทั้งหมด 1,814 ไร่ หรือ 2,902,400 ตารางเมตร มีลานจอดอากาศยานรวม 34,000 ตารางเมตร (85 x 400 เมตร) แบ่งออกเป็น B737 9 ลาน ATR-72 2 ลาน เฮลิคอปเตอร์ 2 ลาน ขนาดทางวิ่ง 59 x 2,100 เมตร[9] ประกอบด้วยอาคารหลักดังนี้
ปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช มีสายการบินที่เปิดให้บริการเส้นทางการบินภายในประเทศ ดังนี้
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
นกแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยไลอ้อนแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง |
---|---|
การบินไทย (TG) | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ |
ไทยสมายล์ (WE) | เชียงใหม่, อุดรธานี,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ |
เดินอากาศไทย (TH) | สุราษฎร์ธานี |
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ (VZ) | เชียงใหม่,กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ |
นกแอร์ (DD) | ระยอง-อู่ตะเภา |
พีบีแอร์ (9Q) | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง |
วัน-ทู-โก (OG) | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ |
แอร์อันดามัน (2Y) | ภูเก็ต |
โอเรียนต์ไทยแอร์ไลน์ (OX) | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง |
แฮปปี้แอร์ (HP) | ภูเก็ต |
ไทยแอร์เอเชีย (FD) | กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ |
สำหรับรถโดยสารสาธารณะภายในท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราชปัจจุบันเปิดให้บริการดังนี้
สาย 7 สนามบิน - สถานีขนส่งผู้สารหัวอิฐ - สนามหน้าเมือง สาย 8 สนามบิน - สี่แยกนาหลวง
ในอาคารผู้โดยสารหลังเดิมมีร้านค้าและร้านอาหารให้บริการ
ท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช มีบริการบริษัทเอกชนให้บริการภายในอาคารท่าอากาศยาน
ปี | เที่ยวบิน | โดยสาร | สินค้า | |||
---|---|---|---|---|---|---|
2538 | 2,858 | 0.00 | 30,079 | 0.00 | 93,656 | 0.00 |
2539 | 4,043 | 41.46 | 39,805 | 32.33 | 75,228 | 19.68 |
2540 | 5,017 | 24.09 | 62,755 | 57.66 | 134,265 | 78.48 |
2541 | 3,187 | 36.48 | 69,979 | 11.51 | 140,177 | 4.40 |
2542 | 1,139 | 64.26 | 74,712 | 6.76 | 271,891 | 93.96 |
2543 | 788 | 30.82 | 82,687 | 10.67 | 373,451 | 37.35 |
2544 | 1,352 | 71.57 | 92,583 | 11.97 | 425,723 | 14.00 |
2545 | 1,262 | 6.66 | 90,921 | 1.80 | 546,462 | 28.36 |
2546 | 1,705 | 35.10 | 104,340 | 14.76 | 820,998 | 50.24 |
2547 | 2,048 | 20.12 | 131,957 | 26.47 | 1,105,237 | 34.62 |
2548 | 2,160 | 5.47 | 146,435 | 10.97 | 1,369,876 | 23.94 |
2549 | 2,275 | 5.32 | 193,231 | 31.96 | 983,837 | 28.18 |
2550 | 3,488 | 53.32 | 396,737 | 105.32 | 1,587,848 | 61.39 |
2551 | 2,636 | 24.43 | 299,075 | 24.62 | 1,025,442 | 35.42 |
2552 | 2,458 | 6.75 | 297,257 | 0.61 | 1,108,671 | 8.12 |
2553 | 3,365 | 36.90 | 406,792 | 36.85 | 811,372 | 26.82 |
2554 | 14,313 | 325.35 | 654,956 | 61.01 | 684,214 | 15.67 |
2555 | 15,513 | 8.38 | 725,858 | 10.83 | 688,210 | 0.58 |
2556 | 16,934 | 9.16 | 950,133 | 30.90 | 825,426 | 19.94 |
2557 | 18,822 | 11.15 | 1,112,849 | 17.13 | 1,223,114 | 48.18 |
2558 | 19,294 | 2.50 | 1,243,179 | 11.71 | 914,404 | 25.24 |
2559 | 18,854 | 2.28 | 1,503,463 | 20.94 | 1,109,695 | 21.36 |
2560 | 18,082 | 4.09 | 1,496,218 | 0.48 | 822,731 | 25.86 |
2561 | 17,004 | 5.96 | 1,490,773 | 0.36 | 633,643 | 22.98 |
2562 | 15,426 | 9.28 | 1,472,120 | 1.25 | 589,457 | 6.97 |
2563 | 15,201 | 1.45 | 1,340,398 | 8.94 | 500,047 | 15.16 |
ที่มา: กรมท่าอากาศยาน, กระทรวงคมนาคม[12] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.