คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น
ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น หรือ สนามบินขอนแก่น (IATA: KKC, ICAO: VTUK) ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ขอนแก่น – เลย) 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ 1,113 ไร่ เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[2] โดยอาคารผู้โดยสารปัจจุบันรองรับได้ 2,500 คนต่อชั่วโมง หรือ 5 ล้านคนต่อปี[3]
Remove ads
ปัจจุบันสายการบินไทยแอร์เอเชียได้เลือกท่าอากาศยานขอนแก่นเป็นฮับการบินของภาคอีสาน[4] และทางท่าอากาศยานขอนแก่นได้เร่งขยายท่าอากาศยาน ทั้งอาคารผู้โดยสาร รันเวย์ และส่วนต่าง ๆ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ[5]
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ท่าอากาศยานขอนแก่น เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็กๆ แห่งหนึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น มีขนาดทางวิ่งเป็นดินลูกรัง ขนาดกว้าง 30 เมตร และยาว 1,300 เมตร ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารเครื่องช่วยการเดินอากาศ การให้สัญญาณเครื่องบินขึ้น – ลง โดยใช้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลท่าอากาศยาน และธงเขียวแดงให้สัญญาณ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยนักบินก็จะนำเครื่องบินลง
รัฐบาลในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีความเจริญทัดเทียมกับภาคอื่น ๆ ของประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของภาค และให้เป็นศูนย์กลางพัฒนาที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของภาค สามารถเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ ได้สะดวกโดยทางรถยนต์ และรถไฟในบางจังหวัด แต่ยังขาดการเดินทางโดยทางเครื่องบินซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ต้องการความรวดเร็ว ความคล่องตัว การเดินทางโดยเครื่องบินจึงมีความจำเป็นและเห็นสมควรให้เปิดการบินพาณิชย์ขึ้น โดยการให้มีการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่นที่เดิมแต่ไม่เหมาะสมที่จะขยายปรับปรุง อีกทั้งอยู่ในเขตชุมชนจะทำให้ขยายตัวเมืองไม่ได้ ประกอบกับส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดก็มีมากขึ้น ไม่มีที่ปลูกที่ทำการจึงได้ให้จังหวัดขอนแก่นจัดหาที่ดินแห่งใหม่เพื่อทำการก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่ทดแทนท่าอากาศยานเดิม โดยมีข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม (โดยกองทัพอากาศ) ในที่สุดก็เลือกได้ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณะ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร และเป็นที่เหมาะสมที่จะสร้างท่าอากาศยานได้
ในปี พ.ศ. 2505 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ได้เป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบในการก่อสร้างท่าอากาศยานขอนแก่นขึ้นใหม่ โดยเริ่มปลูกสร้างคือ อาคารที่ทำการและที่พักผู้โดยสารชั่วคราว(ลักษณะเป็นเรือนไม้) โรงเก็บเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า โรงจอดรถยนต์ ทางวิ่งเครื่องบินมีขนาดกว้าง 30 เมตร และยาว 1,000 เมตร ลานจอดขนาดกว้าง 60 เมตร และยาว 90 เมตร พื้นที่ลาดยางแอสฟัลต์
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบิน ดักลาส ดีซี-3 บรรจุผู้โดยสาร 28 ที่นั่ง ทำการบินเส้นทางกรุงเทพฯ – ขอนแก่น – อุดรธานี – นครพนม – อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินกิจการขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ ซึ่งเป็นเส้นทางทำการบินมายังจังหวัดขอนแก่นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ท่าอากาศยานขอนแก่นได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานอนุญาตตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2506 และต่อมาประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2534[6]
Remove ads
อาคารสถานที่

อาคารผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานหลังปัจจุบัน เป็นอาคารสูง 4 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 44,500 ตารางเมตร รับรองผู้โดยสารได้สูงสุด 2,500 คน/ชั่วโมง หรือประมาณ 5,000,000 คน/ปี[3] มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [7]
- ชั้น G ศูนย์อาหารและบริการรถแท็กซี่มิเตอร์
- ชั้นที่ 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า ร้านค้า จุดบริการตำรวจท่องเที่ยวขอนแก่นและตำรวจบ้านเป็ด
- ชั้นที่ 2 อาคารผู้โดยสารขาออก ประชาสัมพันธ์ สำนักงานจำหน่ายบัตรโดยสาร เคาน์เตอร์เช็คอิน 24 จุด ร้านค้า รวมทั้งโถงผู้โดยสารขาออกหลังจากตรวจบัตรโดยสารแล้ว นอกจากนี้ยังมีที่ทำการของศุลกากร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สำหรับฝั่งผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ
- ขั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานสายการบิน และสำนักงานของกรมท่าอากาศยาน
ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)
- ท่าอากาศยานขอนแก่นมีทางวิ่ง 1 เส้น ขนาดความกว้าง 45 เมตร และความยาว 3,050 เมตร
- ท่าอากาศยานขอนแก่นมีทางขับ 3 เส้นได้แก่ A,B และ C[8]
- ลานจอดอากาศยานหมายเลข 1 (หน้าอาคารผู้โดยสาร) ขนาดกว้าง 144 เมตร และยาว 600 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาด Airbus A320/Boeing 737 จำนวน 12 ลำ[9]
- ลานจอดอากาศยานหมายเลข 2 (หน้าอาคารหลังเก่า) ขนาดกว้าง 80 เมตร และยาว 180 เมตร สามารถจอดเครื่องบิน โบอิง 737-400 จำนวน 2 ลำ
Remove ads
แผนการพัฒนาท่าอากาศยาน
สรุป
มุมมอง

เนื่องด้วยอาคารผู้โดยสารหลังเก่ามีพื้นที่เพียง 16,500 ตารางเมตร ในปี 2557-2561 มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารประมาณ 20% ต่อปี หรือรวมกว่า 5,000 คนต่อวัน ซึ่งเกินขีดความสามารถของตัวอาคารหลังเดิมซึ่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2546 กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคมจึงได้จัดทำแผนพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน จึงได้อนุมัติงบประมาณในการปรับปรุงท่าอากาศยานขอนแก่น วงเงิน 2,200 ล้านบาท ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยแยกเป็น
- ก่อสร้างอาคารจอดรถหลังใหม่ 7 ชั้น และปรับปรุงอาคารจอดรถหลังเดิมให้สามารถรองรับรถยนต์ได้ 1,000 คัน
- ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และปรับปรุงอาคารหลังเก่า จากเดิมพื้นที่ใช้สอย 16,500 ตารางเมตร ขยายเป็น 45,500 ตารางเมตร
การก่อสร้าง

เริ่มก่อสร้างในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561[10] โดยก่อสร้างอาคารผู้โดยสารในฝั่งต่อเติมทิศใต้ พร้อมกับก่อสร้างอาคารจอดรถหลังใหม่
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่นเปิดใช้อาคารผู้โดยสารส่วนที่ต่อเติมขึ้นใหม่เป็นครั้งแรก [11]
ส่วนฝั่งอาคารหลังเก่าทำการรื้อถอนและก่อสร้างปรับปรุง
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2566 เปิดใช้อาคารผุ้โดยสารฝั่งทิศเหนือ โดยใช้เป็นสำนักงาน และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
พิธีเปิดอาคาร
วันที่ 18 ธันวาคม 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 [12]
ขีดความสามารถ

เมื่อก่อสร้างเเล้วเสร็จ อาคารผู้โดยสารจะสามารถรองรับให้บริการผู้โดยสารได้มากกว่า 5 ล้านคนต่อปี [13] ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ Airbus A330 , Boeing 777 รวมไปถึงเครื่องบินขนาดกลาง อย่าง Airbus A320 และ Boeing 737 สำหรับการบินต่างประเทศ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ท่าอากาศยานขอนแก่น มีสะพานเทียบเครื่องบินถึง 4 สะพาน กลายเป็นท่าอากาศยานขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Remove ads
โครงการงานขยายลานจอดเครื่องบิน

นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยานยังได้ขอรับงบประมาณปี 2564 [14] ในการขยายลานจอดอากาศยานและแท็กซี่เวย์ เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยาน Code C เพิ่มขึ้นจาก 5 ลำ เป็น 12 ลำ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ.2565 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 [15]
รายชื่อสายการบิน
รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ
รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ
Remove ads
สถิติ
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
Remove ads
การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยานขอนแก่นตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินสาย 12 (ขอนแก่น – เลย) 2 กิโลเมตร ซึ่งห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร มีอาคารจอดรถหลังที่ 1 ซึ่งสูง 5 ชั้น สามารถจอดรถยนต์ได้ 450 คัน และอาคารจอดรถหลังที่ 2 สูง 7 ชั้น สามารถจอดรถยนต์ได้ 550 คัน และมีจุดจอดรถจักรยานยนต์ ข้างอาคารผู้โดยสาร [18][19]
ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่าอยู่หน้าทางออกจากบริเวณสายพานรับกระเป๋า และบริการแท็กซี่ของท่าอากาศยานซึ่งอยู่บริเวณทางออกไปยังอาคารจอดรถหลังที่ 1[20]
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads