Loading AI tools
ตระกูลภาษา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์ (อังกฤษ: Eskimo–Aleut languages), ตระกูลภาษาเอสกาลิวต์ (Eskaleut languages) หรือ ตระกูลภาษาอินูอิต-ยูปิก-อูนางัค (Inuit-Yupik-Unangan languages)[2] เป็นตระกูลภาษาพื้นเมืองในอะแลสกา, นูนาวุต, นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ตอนเหนือ (ภูมิภาคนิคมอินูวิอาลูอิต), ควิเบกตอนเหนือ (นูนาวิก), แลบราดอร์ตอนเหนือ (นูนัตซิอาวุต), กรีนแลนด์ และรัสเซียตะวันออกไกล (คาบสมุทรชุกชี)
ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์ | |
---|---|
เอสกาลิวต์, อินูอิต-ยูปิก-อูนางัค | |
ภูมิภาค: | อะแลสกา, นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ตอนเหนือ (ภูมิภาคนิคมอินูวิอาลูอิต), นูนาวุต, ควิเบกตอนเหนือ (นูนาวิก), แลบราดอร์ตอนเหนือ (นูนัตซิอาวุต), กรีนแลนด์, รัสเซียตะวันออกไกล (คาบสมุทรชุกชี) |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาหลักของโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | เอสกิโม–อะลิวต์ดั้งเดิม เอสกิโมดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-5: | esx |
กลอตโตลอก: | eski1264[1] |
การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์ของภาษาตระกูลเอสกิโม–อะลิวต์ |
ตระกูลภาษาเอสกิโม–อะลิวต์แบ่งออกเป็นสองสาขา ได้แก่ สาขาเอสกิโมและสาขาอะลิวต์ สาขาอะลิวต์มีเพียงภาษาเดียวคือภาษาอะลิวต์ ใช้พูดในหมู่เกาะอะลูเชียนและหมู่เกาะพริบิลอฟ และแบ่งออกเป็นหลายภาษาถิ่น ส่วนสาขาเอสกิโมแบ่งออกเป็นสองสาขา ได้แก่ สาขายูปิกซึ่งพูดในอะแลสกาตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้และในคาบสมุทรชุกชี และสาขาอินูอิตซึ่งพูดในอะแลสกาเหนือ แคนาดา และกรีนแลนด์ และประกอบด้วยหลายวิธภาษา วิธภาษาที่อยู่ใกล้กันจะมีความคล้ายคลึงกัน ส่วนวิธภาษาในหมู่เกาะไดออมีดและกรีนแลนด์ตะวันออกซึ่งอยู่ในระยะไกลที่สุดจากศูนย์กลางจะมีความแตกต่างกันมาก[3]
การพิจารณาตำแหน่งที่เหมาะสมของภาษาซีเรนีกีในสาขาเอสกิโมยังไม่เป็นที่ยุติ นักภาษาศาสตร์บางคนถือว่าภาษานี้เป็นสาขาหนึ่งของสาขายูปิก[4] ในขณะที่นักภาษาศาสตร์คนอื่น ๆ ถือว่าเป็นสาขาต่างหากในสาขาเอสกิโมร่วมกับสาขายูปิกและสาขาอินูอิต[5]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.