ดาไรอัสมหาราช

จักรพรรดิอะคีเมนียะห์องค์ที่สี่ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาไรอัสมหาราช

ดาไรอัสที่ 1 (เปอร์เซียเก่า: 𐎭𐎠𐎼𐎹𐎺𐎢𐏁 Dārayavaʰuš; กรีก: Δαρεῖος Dareios; ป.550 – 486 ปีก่อน ค.ศ.) หรือที่รู้จักในพระนาม ดาไรอัสมหาราช เป็นผู้ปกครองชาวเปอร์เซียที่ดำรงตำแหน่งพระราชาธิราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิดองค์ที่ 3 ตั้งแต่ 522 ปีก่อน ค.ศ. จนกระทั่งสวรรคตใน 486 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์ครองจักรวรรดิในช่วงที่มีดินแดนมากที่สุด ซึ่งกินพื้นที่ในเอเชียตะวันตก บอลข่านบางส่วน (เทรซมาซิโดเนียกับPaeonia) และคอเคซัส ภูมิภาคชายฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่ เอเชียกลาง ลุ่มแม่น้ำสินธุทางตะวันออกไกล และพื้นที่ส่วนหนึ่งในแอฟริกาเหนือกับแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ รวมอียิปต์ (Mudrâya) ลิเบียตะวันออก และชายฝั่งซูดาน[2][3]

ข้อมูลเบื้องต้น ดาไรอัสมหาราช 𐎭𐎠𐎼𐎹𐎺𐎢𐏁, พระราชาธิราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ...
ดาไรอัสมหาราช
𐎭𐎠𐎼𐎹𐎺𐎢𐏁
หินรูปนูนที่มีรูปดาไรอัสมหาราชบนจารึกเบฮิสตูน
พระราชาธิราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด
ครองราชย์29 กันยายน 522 ปีก่อน ค.ศ. – ตุลาคม 486 ปีก่อน ค.ศ.
ราชาภิเษกพอซอร์กอด
ก่อนหน้าบาร์ดิยา
ถัดไปเซิร์กซีสที่ 1
ฟาโรห์แห่งอียิปต์
ครองราชย์กันยายน 522 ปีก่อน ค.ศ. – ตุลาคม 486 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าบาร์ดิยา
ถัดไปเซิร์กซีสที่ 1
พระนามฮอรัส
mnḫ-jb
Menekhib
The one of splendid mind
G5
mn
n
x ib

พระนามฮอรัสที่สอง:
wr-nb-mrj-šmꜤw
Wernebmeryshemau
Chieftain and Lord, beloved of Upper Egypt
G5
A21AnbM22
O49
i i
N36
พระนามนำหน้า
rꜤ-sttw
Seteture
Progeny of Ra
M23L2
N5st
t
w
พระนามส่วนพระองค์
drjwš
Deriush
Darius
G39N5
N16
E23
V4M8
[1]
ประสูติป.550 ปีก่อน ค.ศ.
สวรรคตตุลาคม 486 ปีก่อน ค.ศ.
(ประมาณ 64 พรรษา)
ฝังพระศพแนกเชโรสแทม
คู่อภิเษก
  • Atossa
  • Artystone
  • Parmys
  • Phratagune
  • Phaedymia
  • พระราชธิดาใน Gobryas
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
Dārayava(h)uš
ราชวงศ์อะคีเมนิด
พระราชบิดาHystaspes
พระราชมารดาRhodogune หรือ Irdabama
ศาสนาศาสนาอินโด-อิเรเนียน
(อาจเป็นศาสนาโซโรอัสเตอร์)
ปิด

ดาไรอัสขึ้นครองราชย์ด้วยการโค่นล้มบาร์ดิยา (หรือ Smerdis) แห่งอะคีเมนิดที่พระองค์อ้างว่าเป็นผู้แอบอ้างที่มีพระนาม Gaumata กษัตริย์องค์ใหม่เผชิญกับการกบฎทั่วจักรวรรดิ แต่สามารถจัดการไว้ได้ เหตุการณ์ครั้งใหญ่ในช่วงชีวิตของดาไรอัสคือการทัพปราบปรามกรีซและลงโทษเอเธนส์และเอเรเตรียจากการมีส่วนในกบฏไอโอเนีย แม้ว่าการทัพนี้ประสบความล้มเหลวในยุทธการที่มาราธอน พระองค์สามารถปราบปรามเทรซและขยายจักรวรรดิผ่านการพิชิตมาซิโดเนีย ซิคละดีส และเกาะนักซอส

ดาไรอัสทรงบริหารจักรวรรดิด้วยการแบ่งเขตมณฑลออกเป็นหลายแห่ง แต่ละแห่งบริหารโดยเซแทร็ป พระองค์จัดตั้งเหรียญกระษาปณ์อะคีเมนิดเป็นระบบการเงินร่วมกันแบบใหม่ และจัดให้ภาษาแอราเมอิกเป็นภาษาราชการร่วมกับเปอร์เซีย พระองค์ยังปรับปรุงจักรวรรดิให้ดีขึ้นด้วยการสร้างถนนและจัดตั้งหน่วยวัดมาตรฐาน ด้วยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จักรวรรดิอะคีเมนิดจึงรวมเข้ากับศูนย์กลางและเป็นหนึ่งเดียว[4] ดาไรอัสทรงดำเนินโครงการก่อสร้างหลายแห่งทั่วจักรวรรดิ โดยหลักมุ่งเน้นที่ซูซา พอซอร์กอด เปอร์เซเปอลิส บาบิโลน และอียิปต์ พระองค์สั่งให้มีการแกะสลักจารึกบนหน้าผาที่เขาเบฮิสตูนเพื่อบันทึกการพิชิตของพระองค์ ซึ่งภายหลังกลายเป็นหลักฐานสำคัญของภาษาเปอร์เซียเก่า

ดาไรอัสได้รับการกล่าวถึงในหนังสือฮักกัย เศคาริยาห์ ดาเนียล และเอสรา–เนหะมีย์จากคัมภีร์ฮีบรู (พันธสัญญาเก่าของศาสนาคริสต์)

ศัพทมูลวิทยา

Thumb
พระนามดาไรอัสที่ 1 ในอักษรรูปลิ่มเปอร์เซียโบราณบนจารึก DNa ที่สุสานของพระองค์: Dārayavauš (𐎭𐎠𐎼𐎹𐎺𐎢𐏁)

Dārīus และ Dārēus เป็นรูปภาษาละตินของภาษากรีกว่า Dareîos (Δαρεῖος) ซึ่งมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณว่า Dārayauš (𐎭𐎠𐎼𐎹𐎢𐏁, d-a-r-y-uš; โดยเป็นรูปสั้นของ Dārayavaʰuš (𐎭𐎠𐎼𐎹𐎺𐎢𐏁, d-a-r-y-v-u-š).[5]

หมายเหตุ

    อ้างอิง

    บรรณานุกรม

    อ่านเพิ่ม

    แหล่งข้อมูลอื่น

    Loading related searches...

    Wikiwand - on

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.