Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌ็อง มารี ลูว์เซียง ปีแยร์ อานูย (ฝรั่งเศส: Jean Marie Lucien Pierre Anouilh) เป็นนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1910 ที่เมืองบอร์โด ประเทศฝรั่งเศส พ่อของเขาชื่อ ฟร็องซัว อานูย (François Anouilh) เป็นช่างตัดเสื้อ แม่ของเขาชื่อ มารี–มากเดอแลน ซูลูว์ (Marie–Magdeleine Soulue) เป็นนักไวโอลิน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เขาเข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนกอลแบร์ (Colbert) จากนั้นเขาก็เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยชัปตาล (collège Chaptal) ซึ่งเขาได้เริ่มต้นเรียนทางด้านกฎหมายที่นี่ หลังจากที่เขาเรียนจบทางด้านกฎหมายแล้ว เขาได้ใช้เวลา 2 ปี ในโรงพิมพ์ ซึ่งทำให้เขาได้รับประสบการณ์เป็นอย่างมาก เมื่อเขาอายุได้ 18 ปี เขาได้เข้ามาอยู่ที่กอเมดีเดช็องเซลีเซ (Comédies des Champs–Elysées) ซึ่งมีหลุยส์ ฌูแวร์ (Louis Jouvert) เป็นหัวหน้า เขาได้เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยของหลุยส์ ฌูแวร์ และในปี ค.ศ. 1930 เขาต้องลาออกจากกอเมดีเดช็องเซลีเซเนื่องจากต้องไปรับราชการทหาร
ต่อมาในปี ค.ศ. 1931 หลังจากที่เขากลับมาจากรับราชการทหารแล้ว เขาได้แต่งงานกับนักแสดงที่ชื่อ มอแนล วาล็องแต็ง (Monelle Valentin) และมีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน คือ กาเตอรีน (Catherine)
ในปี ค.ศ. 1932 เขาได้เขียนบทละครเรื่อง L’Hermine ซึ่งบทละครเรื่องนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยบทละครเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบทละครที่ดี แต่ผลงานอีก 2 เรื่องถัดมา ก็ประสบความล้มเหลว ได้แก่ เรื่อง Mandarine และเรื่อง Y avait un prisonnier
ในปี ค.ศ. 1937 บทละครเรื่อง Le voyageur sans bagage ก็จัดว่าเป็นบทละครที่ประสบความสำเร็จอีกบทละครหนึ่ง ซึ่งบทละครเรื่องนี้ถูกนำมาเล่นซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึง 190 ครั้ง
ในปี ค.ศ. 1944 ได้มีการนำบทละครเรื่อง Antigone ออกมาแสดง ซึ่งบทละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก บทละครเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงโศกนาฏกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงชะตากรรมของมนุษย์ ผู้ผยองในความยิ่งใหญ่ของตนเอง จนก่อให้เกิดเป็นสถานการณ์ความขัดแย้งที่นำไปสู่ความพินาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในปี ค.ศ. 1953 เขาได้แต่งงานใหม่อีกครั้งกับ ชาร์ล็อต ชาร์ดง ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ แคโรลีน (Caroline), นีกอลา (Nicolas) และมารี-กอลงบ์ (Marie–Colombe)
ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา ผลงานของเขาก็เริ่มน้อยลง เนื่องจากเขารู้สึกเบื่อหน่ายกับการวิจารณ์ ดังนั้นเขาจึงใช้ชีวิตอยู่อย่างสันโดษ จะสังเกตได้ว่า ช่วงนี้ผลงานของเขาจะออกมาน้อยมาก อีกทั้งผลงานที่ออกมานั้นก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
ฌ็อง อานูยเสียชีวิตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1987 ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รวมอายุได้ 77 ปี
เป็นลักษณะบทละครที่เป็นแนวเสียดสีทางสังคมหรือการเมือง
ละครเรื่องนี้ได้มีการแปลออกมาเป็นภาษาไทยโดยใช้ชื่อว่าอันตราคนี และได้มีการจัดแสดงที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคมไทยอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือมีการแปลงชื่อตัวละครและสถานที่แบบกรีกโดยใช้ชื่อให้เป็นแบบไทย ประการที่สองคือบทละครเรื่องนี้ได้มีการเสริมขยายคำพูดบางคำพูดเข้าไปเพื่อให้พาดพิงถึงเหตุการณ์ร่วมสมัยของไทยในช่วงนั้น กล่าวคือละครเรื่องนี้แสดงในช่วงเดือนกรกฎาคม 2519 ซึ่งเกิดก่อนเหตุการณ์มหาวิปโยคในช่วงเดือนตุลาคม 2519 ไม่นาน ซึ่งเป็นการแสดงในช่วงที่มีกิจกรรมทางประชาธิปไตยสูงสุดยุคหนึ่งของประเทศ ซึ่งเราสามารถอนุมานได้ว่าบทละครเรื่องนี้ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐกับสิทธิของพลเมือง ผ่านทางตัวละครหลัก 2 ตัวคือ Créon ซึ่งพออนุมานได้ว่าเป็นตัวแทนของพวกผู้นำทรราชย์ในยุคนั้น ส่วนตัวละครอีกตัวหนึ่งคือ Antigone คือตัวแทนของประชาชนหรือนักศึกษาที่กล้าลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจเผด็จการในยุคนั้น บทละครเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยตรง แต่ก็เป็นหนึ่งในบทละครที่เสียดสีและสะท้อนสภาพทางการเมืองและสังคมในยุคดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
โดย จุดประสงค์ที่อานูยเขียนเรื่องนี้ในปี 1942 และนำละครเรื่องนี้ออกแสดงในปี 1944 เนื่องจาก ในปี 1944 ช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) เป็นช่วงที่ลัทธินาซีได้แผ่อำนาจปกครองยุโรปรวมทั้งประเทศฝรั่งเศสด้วยซึ่งทำให้ชาวฝรั่งเศสถูกกดขี่ข่มเหงและถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งละครเรื่องนี้อานูยต้องการที่จะนำผลงานชิ้นนี้เปรียบเสมือนเป็นกระจกสะท้อนให้แก่ชาวฝรั่งเศสในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพกลับคืนมา โดยเปรียบ Antigone เป็นชาวฝรั่งเศส และเปรียบ Créon เป็นนาซีนั่นเอง
เมื่อละครเรื่องนี้ได้นำออกแสดงในปี 1944 นั้นอานูยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของแต่ละฝ่ายซึ่งต่างก็มีปรัชญาชีวิตและอุดมการณ์ของตน ฝ่ายหนึ่งจำต้องทำหน้าที่เพื่อรักษากฎหมายและความสงบสุขของบ้านเมืองให้ดีที่สุดแม้จะต้องทำในสิ่งที่ขัดต่ออุดมการณ์ของตัวนั่นก็คือ Créon อีกฝ่ายหนึ่งบูชาอุดมการณ์แม้จะต้องตายก็คือ Antigone อานูยสามารถชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของแต่ละฝ่ายนี้ได้ ซึ่งแม้แต่ฝ่ายเผด็จการนาซียังยอมให้นำเรื่องนี้ออกแสดงและละครเรื่องนี้ยังส่งผลให้ชาวฝรั่งเศสหลายๆคนลุกขึ้นสู้กับอำนาจเผด็จการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพกลับคืนสู่ประเทศฝรั่งเศส
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.