Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซือมอน วาซือลอวึช แปตลูรา[lower-alpha 1] (ยูเครน: Си́мон Васи́льович Петлю́ра; รัสเซีย: Симон Пѣтлюра; 22 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 10 พฤษภาคม] ค.ศ. 1879 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926) เป็นนักการเมืองและนักสื่อมวลชนชาวยูเครน เขาดำรงแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพประชาชนยูเครน (UNA) และเป็นผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนยูเครนในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพยูเครน ซึ่งเป็นหนึ่งในสงครามที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเขตความขัดแย้งในสงครามกลางเมืองรัสเซีย
ซือมอน แปตลูรา | |
---|---|
Симон Петлюра | |
ซือมอน แปตลูรา ใน ค.ศ. 1920 | |
ประธานคณะกรรมาธิการยูเครนคนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 – 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 | |
ก่อนหน้า | วอลอดือมือร์ วึนนือแชนกอ |
ถัดไป | อันดรีย์ ลีวึตสกึย1 |
เลขาธิการฝ่ายกิจการทหาร | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน ค.ศ. 1917 – 6 มกราคม ค.ศ. 1918 | |
นายกรัฐมนตรี | วอลอดือมือร์ วึนนือแชนกอ |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | มือกอลา ปอร์ช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Симон Васи́льович Петлю́ра 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1879 ปอลตาวา เขตผู้ว่าการปอลตาวา จักรวรรดิรัสเซีย |
เสียชีวิต | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 ปี) ปารีส ฝรั่งเศส | (47
เชื้อชาติ | ยูเครน |
พรรคการเมือง | แอร์อูแป (ค.ศ. 1900–1905) อูแอสแดแอลแป (ค.ศ. 1905–1919) |
คู่สมรส | ออลฮา แปตลูรา (ค.ศ. 1885–1959, สมรส ค.ศ. 1910)[1] |
บุตร | แลสยา (ค.ศ. 1911–1941) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสอนศาสนาปอลตาวา |
อาชีพ | นักการเมืองและรัฐบุรุษ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สาธารณรัฐประชาชนยูเครน |
สังกัด | กองทัพประชาชนยูเครน |
ประจำการ | ค.ศ. 1914–1922 |
ยศ | ผู้นำออตามัน (Chief Otaman) |
ผ่านศึก | สงครามยูเครน–โซเวียต การก่อการกำเริบเดือนมกราคม การก่อการกำเริบต่อต้านแฮตมัน สงครามโปแลนด์–โซเวียต |
1รัฐบาลพลัดถิ่น | |
แปตลูราเกิดในตระกูลบรรพบุรุษคอสแซ็กในปอลตาวา ตั้งแต่อายุยังน้อย เขายอมรับแนวคิดของลัทธิสังคมนิยมและชาตินิยมยูเครน ซึ่งเขาได้ถ่ายทอดแนวคิดนี้ผ่านการผลงานมากมายในฐานะนักสื่อมวลชน หลังจากการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ที่ล้มล้างระบอบราชาธิปไตยซาร์ สาธารณรัฐประชาชนยูเครนจึงได้ก่อตั้งขึ้นและแปตลูราได้รับเลือกเป็นผู้นำฝ่ายทหาร สาธารณรัฐถูกรัฐยูเครนขัดจังหวะในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ในปลาย ค.ศ. 1918 แปตลูรา พร้อมด้วยสมาชิกคนอื่นของคณะกรรมาธิการยูเครนได้ก่อจราจลและโค่นล้มระบอบ แล้วจึงฟื้นฟูสาธารณรัฐขึ้นมาอีกครั้ง เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำคณะกรรมาธิการในข่วงต้น ค.ศ. 1919 ภายหลังบอลเชวิคเข้าบุกครองยูเครนและทำให้กองทัพประชาชนล่าถอยไปกาลิเชีย เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ที่ใกล้เข้ามา แปตลูราจึงตกลงเป็นพันธมิตรกับผู้นำโปแลนด์ยูแซฟ ปิวซุดสกี ผลลัพธ์ของสงครามโปแลนด์–โซเวียตลงเอยด้วยการชนะของโปแลนด์ แต่ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของโซเวียต และแปตลูราลี้ภัยออกนอกประเทศ ในช่วงแรกของการลี้ภัย เขาได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่โปแลนด์ แต่ต่อมาจึงย้ายไปปารีส
ในระหว่างสงครามกลางเมือง กองทัพประชาชนยูเครนมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของพลเรือนยิวหลายหมื่นคน และบทบาทของแปตลูราในการสังหารหมู่เป็นที่ถกเถียง ใน ค.ศ. 1926 แปตลูราถูกลอบสังหารในปารีสโดยนักอนาธิปไตยชาวยิวที่สูญเสียญาติพี่น้องจากการสังหารหมู่ตามคำสั่งของเขา
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.