Loading AI tools
หัวหน้าผู้ฝึกสอนนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัชชัย เช[1] นามเดิม ชเว ย็อง-ซ็อก หรือสะกดว่า ยอง ซอก เช (เกาหลี: 최영석; อาร์อาร์: Choi Young Seok; เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2517) เป็นที่รู้จักในชื่อ โค้ชเช เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยพัฒนากีฬาจากที่เป็นอันดับท้าย ๆ ของโลกก้าวมาสู่ 1-10 ของโลก ผลงานสำคัญ คือ นำทีมนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์และการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนจนสร้างผลงานโดดเด่นได้รับเหรียญรางวัลมากมายอย่างต่อเนื่องรวมถึงในระดับเยาวชนโลก
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
---|---|
ชื่อเกิด | ชเว ย็อง-ซ็อก |
สัญชาติ |
|
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2517 ซ็องนัม ประเทศเกาหลีใต้ |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยคย็องว็อน (วศ.บ.) ปริญญาโท ด้านพลศึกษา มหาวิทยาลัยคย็องว็อน ปริญญาเอก สาขาเทควันโดและสาขาเทควีนโด้วิน2 มหาวิทยาลัยทงอา |
กีฬา | |
กีฬา | เทควันโด |
สโมสร | สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย |
ผู้ฝึกสอน | อี คย็อง-เบ |
กำลังฝึกสอน |
|
ผลงานในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน โดยพานักกีฬา พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ได้เหรียญทอง (โตเกียว 2020) และเหรียญทองแดง (รีโอ 2016) เทวินทร์ หาญปราบ เหรียญเงินโอลิมปิกที่บราซิลในปี 2016, บุตรี เผือดผ่อง เหรียญเงินโอลิมปิกที่จีนในปี 2008, ชนาธิป ซ้อนขำ เหรียญทองแดงโอลิมปิกที่อังกฤษในปี 2012 และเหรียญทองเอเชียนเกมส์ที่กว่างโจว ในปี 2010, เยาวภา บุรพลชัย เหรียญทองแดงโอลิมปิกที่เอเธนส์ในปี 2004, สริตา ผ่องศรี และชัชวาล ขาวละออ เหรียญทองเอเชียนเกมส์ที่กว่างโจว รวมถึงสร้างแชมป์โลกเทควันโดชาวไทยถึงสี่คน ได้แก่ รังสิญา นิสัยสม, ชัชวาล ขาวละออ, ชนาธิป ซ้อนขำ และพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ[2][3]
จากผลงานในโอลิมปิก 2004 ทำให้ชเวได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ และโค้ชเชได้ชื่อไทยคือ "ชัยศักดิ์" และ "ชัชชัย" ในเวลาต่อมา ครั้น พ.ศ. 2554 โค้ชเชได้รับรางวัลโค้ชยอดเยี่ยมจากรายการ "โคเรียโอเพ่น" ที่ประเทศเกาหลีใต้ จากการคว้ามาได้ถึง 6 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 5 เหรียญทองแดง[4]
ชัชชัยเกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2517 ที่ซ็องนัม ประเทศเกาหลีใต้ ในครอบครัวขยาย ที่มีย่า พ่อ แม่ และพี่สาว บิดาเป็นวิศวกรซึ่งเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดเมื่อชัชชัยอายุเพียง 7 ขวบ ตั้งแต่บิดาป่วยหนัก มารดาละจากการเป็นแม่บ้าน ไปทำงานในโรงงานทำขนมเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเป็นต้นมา[5] เบื้องต้นเขาเป็นนักกรีฑามาก่อน ครั้นอายุ 12 ปี ชัชชัยเริ่มสนใจกีฬาเทควันโดจากเพื่อน หลังจากนั้นจึงลงแข่งขันชิงแชมป์ในประเทศเกาหลีใต้หลังเรียนได้ 3–4 เดือน เขาได้เหรียญทองแดง และเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเล่นเทควันโดต่อไป[6] เมื่อเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา เขาแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายครอบครัวด้วยการทำงานเป็นกรรมกรและส่งหนังสือพิมพ์ช่วงปิดเทอม[5]
ชัชชัยสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมัธยมพุงแซง ระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยคย็องว็อน ปริญญาโทด้านพลศึกษา มหาวิทยาลัยคังว็อน[7] เคยเป็นนักกีฬาเทควันโดทีมชาติเกาหลีใต้ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเทควันโด มหาวิทยาลัยทงอา และกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาการจัดการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชัชชัยเริ่มเป็นโค้ชให้กับเทควันโดทีมชาติบาห์เรน ช่วงปี พ.ศ. 2543 ด้วยเงินเดือน 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ประสบปัญหาการฝึกซ้อมเพราะภูมิอากาศที่ร้อน หลังทำงานได้เพียงปีครึ่ง ก็ลาพักร้อนไปหนึ่งเดือนซึ่งตรงกับช่วงที่มารดาเสียชีวิตพอดี ชัชชัยไม่กลับไปทำงานที่บาห์เรนอีก และส่งรุ่นน้องไปทำงานแทน[5] ต่อมาสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทยได้ติดต่อสหพันธ์เทควันโดสากล เพื่อจัดหาโค้ชมาทดแทนโค้ชเดิมที่ลาออกไป ชัชชัยจึงได้รับคัดเลือกให้มาเป็นโค้ชให้นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เป็นที่รู้จักในนาม "โค้ชเช" มีชื่อเสียงจากการฝึกสอนนักกีฬาเทควันโดเข้าร่วมการแข่งขันในเอเชียนเกมส์และโอลิมปิกเกมส์จนสร้างผลงานโดดเด่น ได้แก่
ผลงานยอดเยี่ยมด้วยการทำให้นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทยประสบความสำเร็จและเป็นแชมป์โลกได้ถึง 4 คน ได้แก่
ทีมเทควันโดไทยสามารถคว้าเหรียญทองแดงประวัติศาสตร์ให้กีฬาเทควันโดไทยได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จากเยาวภา บุรพลชัย ในรุ่นน้ำหนัก 47-51 กิโลกรัมหญิง จากผลงานในโอลิมปิก 2004 ทำให้โค้ชเชได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์พร้อมกับผู้ฝึกสอนนักกีฬายกน้ำหนักชาวจีน โดยมีพิธีมอบเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ และโค้ชเชได้ชื่อไทยคือ "ชัยศักดิ์"และได้ใช้ชื่อนี้มาจนกระทั่งปัจจุบัน[8][9]
ในโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2008 ปักกิ่งเกมส์ ทัพนักกีฬาเทควันโดทำผลงานได้อย่างต่อเนื่องโดยคว้ามาได้หนึ่งเหรียญเงินจากบุตรี เผือดผ่องในรุ่นน้ำหนัก 49 กิโลกรัมหญิง ซึ่งทำสถิติเป็นนักกีฬาไทยที่อายุน้อยที่สุดขณะรับเหรียญรางวัลโดยขณะนั้นบุตรี เผือดผ่องอายุ 17 ปี 309 วัน[10]
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 พ.ย. นักกีฬาเทควอนโดรุ่นเยาวชนทั้งหมด 14 คน สร้างผลงานคว้า 11 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน กับอีก 1 เหรียญทองแดงจากการแข่งขันโคเรีย โอเพน อินเตอร์เนชันแนล แชมเปียนชิปส์ ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีขึ้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดนั่นคือเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ ที่ลอนดอน ในปี 2012[11]
เทควันโดในเอเชียนเกมส์ 2010 จัดขึ้นที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน โดยไทยได้เหรียญรางวัลจากเทควันโดรวมทั้งสิ้น 8 เหรียญ โดยแบ่งเป็นเหรียญทอง 2 เหรียญ เหรียญเงิน 2 เหรียญ และ 4 เหรียญทองแดง ถือเป็นลำดับ 4 จากชาติทั้งหมดที่เข้าร่วมแข่งขันในเอเชียนเกมส์ประเภทเทควันโด รองจากเกาหลีใต้ จีน และอิหร่าน เหรียญทอง 2 เหรียญ ได้จาก ชัชวาล ขาวละออ รุ่นน้ำหนัก 54 กิโลกรัมชาย และจาก สริตา ผ่องศรี ในรุ่นน้ำหนัก 53 กิโลกรัมหญิง เหรียญเงินจากเป็นเอก การะเกตุรุ่นน้ำหนัก 58 กิโลกรัมชาย และนาชา ปั้นทองรุ่นน้ำหนัก 63 กิโลกรัมชาย และเหรียญทองแดงจากปฏิวัติ ทองสลับรุ่นน้ำหนัก 74 กิโลกรัมชาย ชณาภา ซ้อนขำรุ่นน้ำหนัก 49 กิโลกรัมหญิง และธัญนันท์ (ชลนภัส) เปรมแหววรุ่นน้ำหนัก 62 กิโลกรัมหญิง
รายการโคเรียโอเพ่น ครั้งที่ 20 ที่เมืองควังจู ประเทศเกาหลีใต้กำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 1 - 6 พฤษภาคม ไทยได้เหรียญรางวัลจากเทควันโดรวมทั้งสิ้น 8 เหรียญ โดยแบ่งเป็นเหรียญทอง 2 เหรียญ เหรียญเงิน 2 เหรียญ และ 4 เหรียญทองแดง ถือเป็นลำดับ 4 จาก 144 ชาติที่เข้าร่วมแข่งขัน รองจากเกาหลีใต้ อิหร่านและจีน[12]
ภายหลังจากการสร้างผลงานในการแข่งขันเทควันโดในเอเชียนเกมส์ 2010 ชัชชัยนำทัพนักเทควันโดทีมชาติไทยร่วมแข่งขันกีฬาเทควันโดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมให้เหล่านักกีฬาได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขัน[13][14] ทำผลงานได้ 1 เหรียญทองแดงจากชนาธิป ซ้อนขำจากรุ่นน้ำหนัก 49 กิโลกรัมหญิง
รายการเวิร์ล เทควันโด แชมเปียนชิปส์ ครั้งที่ 21 ที่เมืองพูบลา ประเทศเมกซิโกกำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 15-21 กรกฎาคม ไทยได้เหรียญรางวัลจากเทควันโดรวมทั้งสิ้น 2 เหรียญ โดยแบ่งเป็นเหรียญทอง 1 เหรียญ และเหรียญทองแดง 1 เหรียญ ถือเป็นลำดับ 8 จาก 130 ชาติที่เข้าร่วมแข่งขัน รายการนี้เป็นการแข่งขัน ระดับจี 12 โดยแชมป์ในแต่ละรุ่นจะได้รับ 120 คะแนน เพื่อเป็นคะแนนสะสมแรงกิงโลก คัดนักกีฬาไปโอลิมปิกเกมส์ รอบสุดท้ายปี 2016 ที่บราซิล
เทควันโดในเอเชียนเกมส์ 2014 จัดขึ้นที่อินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ โดยไทยได้เหรียญรางวัลจากเทควันโดรวมทั้งสิ้น 6 เหรียญ โดยแบ่งเป็นเหรียญทอง 1 เหรียญ เหรียญเงิน 1 เหรียญ และ 4 เหรียญทองแดง ถือเป็นลำดับ 6 จาก 37 ชาติที่เข้าร่วมแข่งขันในเอเชียนเกมส์ประเภทเทควันโด รองจากเกาหลีใต้ อิหร่าน จีน อุซเบกิสถาน และจีนไทเป เหรียญทอง 1 เหรียญไทยได้จากชนาธิป ซ้อนขำ รุ่นน้ำหนัก 49 กิโลกรัมหญิง เหรียญเงิน1 เหรียญจาก อัครินทร์ กิจวิจารณ์ ในรุ่นน้ำหนัก 63 กิโลกรัมชาย และเหรียญทองแดงจากรามณรงค์ เสวกวิหารีน้ำหนัก 54 กิโลกรัมชาย ณัฐภัทร ตันตามาตย์รุ่นน้ำหนัก 87 กิโลกรัมชาย พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจบรุ่นน้ำหนัก 46 กิโลกรัมหญิง และรังสิญา นิสัยสมรุ่นน้ำหนัก 57 กิโลกรัมหญิง
รายการเวิร์ล เทควันโด แชมเปียนชิปส์ ครั้งที่ 22 ที่เมือเชลยาบินส์ ประเทศรัสเซียกำหนดแข่งขันระหว่างวันที่ 12 - 18 พฤษภาคม ไทยได้เหรียญรางวัลจากเทควันโดรวมทั้งสิ้น 2 เหรียญ โดยแบ่งเป็นเหรียญทอง 1 เหรียญ และเหรียญทองแดง 1 เหรียญ ถือเป็นลำดับ 8 จาก 139 ชาติที่เข้าร่วมแข่งขัน รายการนี้เป็นการแข่งขัน ระดับจี 12 โดยแชมป์ในแต่ละรุ่นจะได้รับ 120 คะแนน เพื่อเป็นคะแนนสะสมแรงกิงโลก คัดนักกีฬาไปโอลิมปิกเกมส์ รอบสุดท้ายปี 2016 ที่บราซิล[15]
รายการเทควันโด "โคเรีย โอเพ่น" ระดับจีทู 2015 ที่เมืองชุนชอน เกาหลีใต้ นักกีฬาไทยสามารถคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง
ในรายการโคเรียโอเพ่น ครั้งที่ 9 ทีมชาติไทยสามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง 6 เหรียญ เหรียญเงิน 1 เหรียญ และเหรียญทองแดง 5 เหรียญ ส่งผลให้โค้ชเชได้รับรางวัลโค้ชยอดเยี่ยมในการแข่งขันครั้งนี้
วันที่ 21 เม.ย. 59 การแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์เอเชีย “เอเชี่ยน เทควันโด แชมเปียนชิพ 2016” ครั้งที่ 22 ประเภทเคียวรูกิ (ต่อสู้) ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นักเทควันโดไทยสามารถคว้ามาได้ทั้งหมด 1 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง ทั้งในประเภทท่ารำและต่อสู้ นักเทควันโดไทยคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง รวมกับเทควันโดพุมเซ่ ประเภทฟรีสไตล์ อีก 3 เหรียญเงิน[16]
การแข่งขันเทควันโด "โคเรีย โอเพ่น 2016" ระดับจีทู เมื่อเดือน ก.ค. ณ เมืองคย็องจู ประเทศเกาหลีใต้ นักเทควันโดไทยสามารถคว้ามาได้ทั้งหมด 1 เหรียญทองกับ 2 เหรียญทองแดง เหรียญทองจากประเภทเยาวชนหญิงรุ่นน้ำหนัก 52 กก.วิภาวรรณ ศิริพรเพิ่มศักดิ์ อดีตเหรียญเงินไทยแลนด์โอเพ่นและสามารถคว้ารางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมเยาวชนหญิงจากรายการนี้ได้อีกด้วย เหรียญทองแดงจากรุ่นน้ำหนัก 49 กก. รัชนีกร สูนประหัต อดีตแชมป์เก่ารายการนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว และเหรียญทองแดงจากรุ่นประชาชนหญิง รุ่นน้ำหนัก 53 กก. เบญจรัตน์ อย่างตระกูล อดีตเจ้าของเหรียญเงินเยาวชนชิงแชมป์เอเชียที่ไต้หวัน[17]
โค้ชเชนำทัพนักกีฬาเทควันโดทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยม สามารถคว้า 1 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง[18] เหรียญเงินจากเทวินทร์ หาญปราบ รุ่นน้ำหนัก 58 กิโลกรัมชาย ซึ่งเทวินทร์ สามารถล้ม คิม แต-ฮุน เจ้าของแชมป์โลก 2 สมัยชาวเกาหลีใต้ ในรอบ 16 คนสุดท้ายลงได้และไทยได้เหรียญทองแดงเทควันโดจากพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ในรุ่นน้ำหนัก 49 กิโลกรัมหญิง
การแข่งขัน 2016 WTF World Taekwondo Junior Championship ที่เมืองเบิร์นนาบี ประเทศแคนาดา ในปี 2559 น้องมิ้น น.ส นภาพร จรณวัต สามารถคว้าเหรียญทองรุ่นน้ำหนัก46 กก.หญิง โดยเป็นเหรียญทองในรอบ 10 ปีของทีมเทควันโดไทย โดยในรอบชิงชนะเลิศ ชนะคะแนนนักกีฬาจากสวีเดน 11-7 คว้าเหรียญทองมาครองได้สำเร็จ และนักกีฬาเทควันโดเยาวชนทีมชาติไทยยังสามารถคว้ามาได้ 1 เหรียญเงิน 1 เหรียญทองแดง โดยรุ่น M-45 น้องโต ยุทธยา คงกระพันธุ์ ได้เหรียญทองแดง รอบรองชนะเลิศ พ่ายให้กับ แบ จุน ซอ จากเกาหลี 1-4 และรุ่นM-48 น้องเฟรม ศรัญ ตั้งฉัตรแกว ได้เหรียญเงิน รอบชิงชนะเลิศ พ่ายให้กับ มก แจฮี จากเกาหลี 0-12
ชัชชัยสมรสกับจิน อึน-ซุก หรือชื่อภาษาไทยว่า กันยา หญิงชาวเกาหลีใต้ ทั้งสองมีบุตรหนึ่งคน คือ ชเว จุน-มิน[19][20]
ชัชชัยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยมานานจนมีความผูกพันต่อประเทศไทยและลูกศิษย์[21] แม้ว่าจะมีหลายประเทศมาทาบทามให้ชัชชัยเป็นผู้ฝึกสอนในต่างแดนด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า แต่เขาก็ปฏิเสธไปทุกราย เนื่องจากทำใจไม่ได้ที่จะฝึกให้ชาวต่างชาติมาห้ำหั่นกับลูกศิษย์ของตน[22] ชัชชัยให้ข้อคิดกับนักเทควันโดของไทยว่า ต้องทำงานหนักอีกมากก่อนที่จะก้าวไปเป็นหัวแถวของโลกเหมือนเกาหลีใต้ได้ นักกีฬาไทยต้องทุ่มเท 200% ขณะที่เกาหลีแสดงออกมาแค่ 60% จากสิ่งที่พวกเขามี พวกเขาก็ยังเป็นเบอร์ 1ของโลก ขณะที่เรายังเป็นผู้ท้าชิงเสมอ[23]
เดิมชัชชัยถือสัญชาติเกาหลีใต้ และมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องการโอนสัญชาติเป็นไทยอยู่เนือง ๆ มีกระแสใหญ่ใน พ.ศ. 2561[24] และใน พ.ศ. 2564[25] ก่อนหน้านี้ชัชชัยมีชื่อในภาษาไทยว่า "ชัยศักดิ์" แปลว่า "ผู้มีชัยชนะและศักดิ์ศรีที่ยิ่งใหญ่" ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ให้คล้องกับชื่อในภาษาเกาหลี[6][26] ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) ตั้งชื่อไทยให้ชเวเลือกสามชื่อ ซึ่งเขาเลือกชื่อ "ชัชชัย เช" ซึ่งแปลว่า "ชัยชนะที่มั่นคง"[27][28] กระทั่งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย [29]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.