ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2557 นามเดิม ชมัยพร วิทูธีรศานต์ เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรของนายประชุม นางบัวขาว วิทูธีรศานต์ สมรสกับ นายสิทธิชัย แสงกระจ่าง (ดลสิทธิ์ บางคมบาง) มีบุตร 2 คน ปัจจุบันประกอบอาชีพนักเขียน เคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย (มกราคม พ.ศ. 2550 - มกราคม พ.ศ. 2554)
| มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจ ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาด แหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐาน ในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
ข้อมูลเบื้องต้น ชมัยภร บางคมบางจ.ภ., สารนิเทศภูมิหลัง ...
ปิด
การทำงาน
- เป็นประธานชมรมวรรณศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ตั้งกลุ่มวรรณกรรมพินิจ เขียนบทวิจารณ์ในนาม “ไพลิน รุ้งรัตน์”
- ทำงานส่วนรวมเพื่อวิชาชีพนักเขียน โดยอุทิศตนทำงานบริหารสมาคมที่เกี่ยวกับวิชาชีพนักเขียนอย่างสม่ำเสมอ
- ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมภาษา และ หนังสือแห่งประเทศไทย 4 ปี
- ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย 8 ปี
- ดำรงตำแหน่งเลขานุการมูลนิธิสุภาว์ เทวกุลฯ 17 ปี
- ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอำนวยการจัดงาน 100 ปี “ศรีบูรพา”
- เป็นอาจารย์ เป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาชีพนักเขียน
- สร้างสรรค์งานประพันธ์ในนาม “ชมัยภร แสงกระจ่าง และ อื่น ๆ
- นวนิยาย (นามชมัยภร แสงกระจ่าง) 28 เล่ม
- รวมเรื่องสั้น (นามชมัยภร แสงกระจ่างและไพลิน รุ้งรัตน์) 7 เล่ม
- วรรณกรรมเยาวชน (นามชมัยภร แสงกระจ่าง) 18 เล่ม
- สารคดีและสาระนิยาย (นามไพลิน รุ้งรัตน์) 14 เล่ม
- รวมบทกวี (นามชมจันทร์ และ ไพลิน รุ้งรัตน์) 6 เล่ม
- สร้างสรรค์ผลงานเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การศาสนาและสังคม
- สาระนิยายและสารคดี
- วรรณกรรมเยาวชน
- ทำงานวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ
นวนิยาย
- เส้นทางของแม่ (นวนิยายขนาดสั้น) (ใช้นามปากกา แสนดาว) (พ.ศ. 2525)
- อ่านหนังสือเล่มนี้เถอะ..ที่รัก (ใช้นามปากกา ไพลิน รุ้งรัตน์) (พ.ศ. 2539)
- บ้านไร่เรือนตะวัน (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2543) (พ.ศ. 2539)
- ตะวันขึ้นที่ภูพระบาท (พ.ศ. 2540)
- จากดวงตาดอกไม้ (พ.ศ. 2540)
- จดหมายถึงดวงดาว (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2545) (พ.ศ. 2541)
- สู่ดวงใจแผ่นดิน (พ.ศ. 2542)
- เช้าชื่นคืนฉาย (พ.ศ. 2542)
- กระท่อมแสงเงิน (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2545) (พ.ศ. 2543)
- พระอาทิตย์คืนแรม (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2553) (พ.ศ. 2543)
- บ้านนี้มีหมากับแมว (พ.ศ. 2543)
- หมู่บ้านคนฝันดี (พ.ศ. 2544)
- มิ่งมิตรในสวนดอกไม้ (พ.ศ. 2544)
- วุ่นวายสบายดี (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2548 แต่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2555) (พ.ศ. 2544)
- เช้าครึ่งชาม เย็นครึ่งชาม (พ.ศ. 2545)
- ห้องนี้รื่นรมย์ (พ.ศ. 2545)
- ฤดูร้อน...มีดอกไม้บาน (พ.ศ. 2546)
- แบ่งฟ้าปันดิน (พ.ศ. 2546)
- ยามบ่ายวันเสาร์ ยามเช้าวันอาทิตย์ (พ.ศ. 2547)
- บานไม่รู้โรย (พ.ศ. 2548)
- กุหลาบในสวนเล็ก ๆ (พ.ศ. 2549)
- รังนกบนปลายไม้ (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2550) (พ.ศ. 2549)
- เรื่องของชายชื่อกนกสามคน (พ.ศ. 2550)
- ผัดไทยไม่ใส่เส้น (พ.ศ. 2550)
- ในสวนเมฆ (พ.ศ. 2552)
- เหมือนฟ้ามีพระอาทิตย์สองดวง (พ.ศ. 2552)
- ดั่งดาวระยิบฟ้า (พ.ศ. 2553)
- ผลิบานในวันร้อน (พ.ศ. 2554)
- ตลาดดอกไม้บาน (พ.ศ. 2555)
- จับต้นมาชนปลาย (พ.ศ. 2556) (ชนะเลิศรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 11 ประจำปี 2557 ประเภทนวนิยาย[1] และ รับรางวัลดีเด่น ประเภทหนังสือนวนิยาย ในการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2557 ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ[2])
- หยาดน้ำค้างพันปี (พ.ศ. 2557) (ชนะเลิศรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 12 ประจำปี 2558 ประเภทนวนิยาย)[3]
- แดดฉายในสายลม (พ.ศ. 2557)
- ในเวิ้งฟ้าอันไพศาล (พ.ศ. 2558)
- สายาห์สาละวน (พ.ศ. 2559)
- ผู้หญิงสีฟ้า (พ.ศ. 2561)
- ลานเพชรพร่าง (พ.ศ. 2565)
วรรณกรรมและนวนิยายสำหรับเยาวชน
- บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย (วรรณกรรมเยาวชน) (สร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2537 และละครในปี พ.ศ. 2548) (พ.ศ. 2534)
- หน้าต่างสีชมพู ประตูสีฟ้า (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2546) (พ.ศ. 2539)
- บ้านนี้มีรัก (พ.ศ. 2542)
- คุณปู่แว่นตาโต (วรรณกรรม) (พ.ศ. 2543)
- ป้าจ๋า โก้ ติ๊ดตี่ น่ะจ๊ะ (วรรณกรรม) (พ.ศ. 2544)
- โลกนี้น่ารัก (วรรณกรรม) (พ.ศ. 2544)
- ส้มโอ น้าหมู หนูแมว (วรรณกรรม) (พ.ศ. 2545)
- สวัสดีข้างถนน (วรรณกรรม) (พ.ศ. 2546) (รางวัลชมเชย หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี ประเภทบันเทิงคดี ประจำปี 2547 ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ[4])
- บ้านฟ้าใส (นวนิยายเยาวชน ในชุดรัฐธรรมนูญต้องรู้ ของกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพระปกเกล้าฯ และรัฐสภา) (พ.ศ. 2546)
- ริบบิ้นเขียวกับกล่องกระดาษแดง (นวนิยาย) (สร้างเป็นละครในปี พ.ศ. 2548) (พ.ศ. 2547)
- แมวดำในสวนสีชมพู (นวนิยาย) (พ.ศ. 2547)
- ปุยนุ่นกับสำลี (พ.ศ. 2548)
- เด็กหญิงแห่งกลางคืน (นวนิยาย) (พ.ศ. 2548)
- คุณยายหวานซ่าส์ส์ส์ (นวนิยาย) (พ.ศ. 2549) (รางวัลชมเชย หนังสือสำหรับเด็กวัยรุ่น อายุ 12-18 ปี ประเภทบันเทิงคดี ประจำปี 2550 ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ)[5]
- เที่ยวบินยามเช้า (นวนิยายเยาวชน เขียนขึ้นในโอกาสครบรอบ 100 ปีท่านพุทธทาส) (พ.ศ. 2549)
- อลวนบนหลังคา (นวนิยาย) (พ.ศ. 2550)
- แสงดาวกลางเมือง (วรรณกรรม) (พ.ศ. 2553)
- คุณปู่แว่นตาแตก (วรรณกรรม) (พ.ศ. 2554)
- สุดยอดตลอดซอย (พ.ศ. 2555)
- อาม่าบนคอนโด (พ.ศ. 2556) (รองชนะเลิศรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 11 ประจำปี 2557 ประเภทวรรณกรรมเยาวชน)[6]
- สุภาพบุรุษสุดลำบากส์ส์ส์ (พ.ศ. 2558)
- คุณย่าติดไลน์ คุณยายติดเฟซ (นวนิยาย) (พ.ศ. 2560)
- หลวงตาจิ๋วกับเจ้าป๋อง (พ.ศ. 2562)
เรื่องสั้น
- ญ หญิงอดทน (รวมเรื่องสั้น)
- ดั่งมีงานเริงรื่น (เรื่องสั้น)
- นางสิงห์มอเตอร์ไซค์ (รวมเรื่องสั้น)
- ในสวนฝัน (รวมเรื่องสั้น)
- ผู้หญิงนะ (รวมเรื่องสั้น)
- มุมดี ๆของชีวิต (เรื่องสั้น)
- แม่ทั้งโลกเป็นเช่นนี้ (รวมเรื่องสั้น)
สารคดี
- กุหลาบแห่งแผ่นดิน (สารคดีชีวิตของ 'กุหลาบ สายประดิษฐ์')
- แกะลายไม้หอม 'กฤษณา อโศกสิน'
- คนในบ้านหนังสือ (สารคดีเชิงวรรณศิลป์)
- จอนิ โอโดเชา ปราชญ์นักสู้แห่งภูเขา
- ดอกไม้ในสายธาร (สารคดีอิงธรรมะ)
- บ้านหนังสือในหัวใจ
- ปากไก่ลายทอง
- แม่ลูกปลูกต้นไม้
บทกวี
- นิทานอีสปคำกลอน ชุดความดี ความงาม และความรัก
- ใบไม้แห่งนาคร
- มิเหมือนแม้นอันใดเลย
- หนูน้อยตัวหนังสือ
- อรุณในราตรี
- แผ่นดินโดยใด
- ก้าวผ่านกาฬเวลา
บทวิจารณ์
- ปรากฏการณ์แห่งกวี
- ภูเขาวรรณกรรม ของนักเขียนมือทอง 'กฤษณา อโศกสิน'
- วรรณพินิจ กฤษณา อโศกสิน
- วิเคราะห์วรรณกรรมแนวประชาชน
รวมบทความ
- อยากจะเขียนแทบตาย (จริง ๆ นะ)