Loading AI tools
จุดผ่านแดนถาวรของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม[1] หรือ ช่องจอม[2] เป็นจุดผ่านแดนถาวรระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาภายในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติ[3] ตั้งอยู่ตรงข้ามกับบ้านโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา[4]
จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม | |
---|---|
จุดผ่านแดนถาวรช่องจอมมองจากฝั่งไทย | |
พื้นที่พรมแดนไทย (บน) และกัมพูชา (ล่าง) | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย, กัมพูชา |
ที่ตั้ง |
|
พิกัด | 14.4350°N 103.7001°E |
รายละเอียด | |
เปิดทำการ | พ.ศ. 2504 ด่านพรมแดนช่องจอม พ.ศ. 2542 จุดผ่อนปรนการค้า พ.ศ. 2545 จุดผ่านแดนถาวร |
ดำเนินการโดย | • กรมศุลกากร • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง |
ประเภท | จุดผ่านแดนถาวร |
จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม แต่เดิมเป็นช่องทางธรรมชาติที่มีถนนเชื่อมต่อกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา เนื่องจากภูมิประเทศที่เอื้ออำนวย คือแนวช่องเขาของเทือกเขาพนมดงรัก สามารถเดินทางไปยังบ้านโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัย และต่อไปยังเมืองเสียมราฐได้[4] ทำให้มีการใช้บริเวณดังกล่าวในการลักลอบขนส่งสินค้าเข้าออกอย่างผิดกฎหมาย รวมถึงมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าด่านในอรัญญประเทศ กรมศุลกากรจึงได้ประกาศกฎกระทรวง เพื่อตั้งด่านพรมแดนช่องจอม[5] และด่านศุลกากรช่องจอม[5] เพื่อดำเนินการควบคุมการนำเข้าและส่งออกสินค้าในช่องทางดังกล่าวอย่างถูกกฎหมายในปี พ.ศ. 2504 ณ บ้านด่าน ตำบลด่าน อำเภอสังขะ (ขณะนั้นอำเภอกาบเชิงยังเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอสังขะ) จังหวัดสุรินทร์[4]
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการประกาศปิดด่านพรมแดนช่องจอม เนื่องจากสงครามภายในประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดการสู้รบและการปะทะกันภายในประเทศกัมพูชารวมไปถึงตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา และย้ายที่ทำการด่านศุลกากรไปอยู่ในตัวจังหวัดสุรินทร์ชั่วคราว ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ จนกระทั่งการสู้รบดังกล่าวสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2535 เจ้าหน้าที่จึงกลับไปทำงาน ณ ที่ตั้งเดิม[4]
ในระหว่างนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวหลายครั้ง เพื่อนำเข้าสินค้าและผลผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นจากด่านพรมแดนต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา โดยไม่เกี่ยวกับการสัญจรของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นให้ปิดจุดผ่านแดน อาทิ
จากนั้นประเทศกัมพูชากลับเข้าสู่สภาวะไม่สงบจากการรัฐประหารอีกครั้ง ทำให้ต้องปิดด่านพรมแดนช่องจอมเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2540[8] ภายหลังสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศกัมพูชา ทั้งทางการไทยและกัมพูชาต้องการที่จะกระตุ้นให้การค้าขายและเศรษฐกิจตามแนวชายแดนกลับมาอีกครั้ง และเปิดจุดผ่อนปรนในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2542 เปิดทำการในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ระหว่างเวลา 08.00–16.00 น. และข้ามจากแนวเขตแดนได้ไม่เกิน 1,500 เมตร (1.5 กิโลเมตร) ในพื้นที่ของทั้งสองฝ่าย[8]
และในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ยกฐานะจากจุดผ่อนปรนการค้าช่องจอม เป็นจุดผ่านแดนถาวร และขยายเวลาเปิดทำการเป็น 07.00 - 20.00 น.[9][8] ต่อมาตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 ได้ขยายเวลาทำการเป็น 06.00 - 22.00 น. ของทุกวัน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และรองรับการค้าที่เติบโตมากยิ่งขึ้น[10]
จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม เปิดทำการตั้งแต่เวลา 06.00 - 22.00 น.[11] สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางผ่านแดนนั้นจะต้องมีเอกสารประจำตัว อย่างใดอย่างหนึ่ง คือหนังสือเดินทาง (Passport) หรือบัตรผ่านแดน (Border Pass)[12][13]
จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม มีตลาดการค้าชายแดนช่องจอม สินค้าที่แลกเปลี่ยนและวางจำหน่ายในตลาดชายแดนประกอบไปด้วย สินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เครื่องนุ่งห่ม ของป่า ไม้แปรรูป เครื่องจักสาน เครื่องโลหะ เครื่องทองเหลือง ภาชนะต่าง ๆ รวมถึงสินค้ามือสองต่าง ๆ เช่นเสื้อกันหนาว[14] ในบางช่วงวันหยุดยาวมีเงินสะพัดกว่า 10 ล้านบาท[15]
นอกจากนี้ในฝั่งกัมพูชาตรงข้ามกับจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม มีโรงแรมที่พักและบ่อนคาซิโนเปิดให้บริการอยู่[16] และสามารถเดินทางเข้าไปยังเมืองเมืองสำโรงและเสียมเรียบได้ ผ่านขนส่งมวลชนสาธารณะ ทั้งรถโดยสารประจำทาง[17] และรถแท็กซี่[16]
ด่านชายแดนช่องจอม อยู่ในความดูแลของด่านศุลกากรช่องจอม ตั้งอยู่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากที่ทำการด่านศุลกากรช่องจอมประมาณ 3 กิโลเมตร เปิดทำการระหว่างเวลา 06.00–22.00 น.[11]
สำหรับที่ทำการ ด่านศุลกากรช่องจอม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 111 หมู่ 14 ทางหลวงหมายเลข 214 (ถนนสุรินทร์-ช่องจอม) ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์[18]
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม[19]
สถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม[20] ประกอบไปด้วย
จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม สามารถเดินทางมาได้ทั้งด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล และระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อเยี่ยมชมตลาดการค้าชายแดน และข้ามไปยังฝั่งกัมพูชา[21]
จากจังหวัดสุรินทร์ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 (ช่วงสุรินทร์ - ช่องจอม) ไปทางทิศใต้ มุ่งหน้าอำเภอปราสาท และอำเภอกาบเชิงตามลำดับ เส้นทางจะสิ้นสุดบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม
ระบบขนส่งสาธารณะสำหรับเดินทางมายังจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม ประกอบไปด้วย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.