Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรจีนตัวย่อ (จีนตัวย่อ: 简体字/简化字; จีนตัวเต็ม: 簡體字/簡化字; พินอิน: jiǎntǐzì/jiǎnhuàzì เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ)[1] เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อักษรจีนตัวย่อ | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | ตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่ 20 |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ภาษาจีน ใช้เป็นอักษรทางการใน |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | อักษรจีนตัวเต็ม
|
ระบบพี่น้อง | |
อักษรจีนตัวย่ออาจถูกเรียกโดยชื่ออย่างเป็นทางการว่า (简体字; ) หมายถึงการทำให้เข้าใจง่ายของตัวอักษร "โครงสร้าง" หรือ "รูปร่าง" เนื่องจากอักษรจีนตัวเต็มมีรูปแบบตัวอักษรแบบดั้งเดิมและโบราณ ที่มีอยู่เป็นนับพันปีมีความยุ่งยากและซับซ้อนในการเขียนมาก ในทางตรงกันข้ามอักษรจีนตัวย่อชื่ออย่างเป็นทางการหมายถึง ชุดอักขระที่เรียบง่ายทันสมัยอย่างเป็นระบบซึ่ง (ตามที่ระบุไว้โดยประธานเหมา เจ๋อตงในปี ค.ศ. 1952) ไม่เพียงแต่รวมถึงการลดความซับซ้อนของโครงสร้าง แต่ยังลดจำนวนตัวอักษรจีนให้ได้มาตรฐานอีกด้วย[2]
ในปัจจุบันอักษรจีนตัวเต็มได้ใช้อย่างเป็นทางการในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ที่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบการเขียนดั้งเดิมของอักษรจีนตัวเต็มไว้เป็นอักษรทางการ นอกจากนี้อักษรจีนตัวเต็มยังใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย
ส่วนอักษรจีนตัวย่อใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย
อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้เริ่มใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างจริงจังใน พ.ศ. 2492 แต่อักษรจีนตัวย่อก็ปรากฏก่อนหน้านั้นมานานแล้ว โดยเฉพาะการเขียนแบบหวัด และในสมัยราชวงศ์จิ๋น (พ.ศ. 322 - 337) ได้นำมาใช้ในการพิมพ์ ในสมัยที่พรรคก๊กมินตั๋งปกครองประเทศจีนอยู่นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและนักเขียนก็ได้เสนอความคิดว่า การใช้อักษรจีนตัวย่อจะช่วยเพิ่มอัตราการอ่านออกเขียนได้ของชาวจีนมากขึ้น สาเหตุที่สมัยก่อน มีประชาชนรู้หนังสือน้อยก็เพราะว่าภาษาจีน ใช้ระบบตัวอักษรรูปภาพ หนึ่งตัวแทนหนึ่งเสียง-หนึ่งคำ ดังนั้นจึงมีตัวอักษรจำนวนมหาศาล ต่างกับหลายภาษาทั่วโลก ที่ใช้ระบบอักษรผสมตัวอักษรสะกดแทนเสียง
ในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการออกประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งแรก 2 ฉบับ คือใน พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2507 ในระหว่างที่พึ่งมีการประกาศใช้นั้น เกิดความสับสนในการใช้ตัวอักษรจีนอย่างมาก ตัวอักษรที่ใช้ในครั้งนั้นเป็นตัวอักษรย่อบางส่วนผสมกับตัวอักษรดั้งเดิม และได้มีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 2 หรือที่เรียกว่า 二简 เอ้อร์เจี่ยน ในพ.ศ. 2520 ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม โดยฝ่ายซ้ายจัดในประเทศจีน แต่ในการประกาศใช้ครั้งที่ 2 นี้ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร จนถึง พ.ศ. 2529 ได้ยกเลิกการประกาศครั้งที่ 2 นี้ไป ในขณะเดียวกัน ก็มีการแก้ไขการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อครั้งที่ 1 ถึง 6 ครั้ง (รวมถึงการนำตัวอักษรดั้งเดิม 3 ตัวมาใช้แทนตัวอักษรที่ย่อไปแล้วในประกาศครั้งที่ 1 ได้แก่ 叠, 覆, 像) อย่างไรก็ตาม แม้อักษรจีนตัวย่อตามประกาศใช้ครั้งที่ 2 จะถูกยกเลิกไป แต่ระหว่างนั้นก็ได้มีการสอนในโรงเรียนไปแล้ว และยังใช้ในการเขียนพู่กันด้วย
นอกจากนี้ การใช้อักษรจีนตัวย่อในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นจุดเริ่มต้นของการยกเลิกอักษรเขียนแทนเสียงแบบเก่า และจุดกำเนิดของการเขียนแทนเสียงแบบพินอิน หรือ ฮั่นอวี่พินอิน (Hanyu Pinyin) อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปตัวอักษรจีนไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนอย่างที่ฝ่ายซ้ายจัดคาดไว้แต่แรก หลังจากการยกเลิกประกาศครั้งที่ 2 ไปแล้ว ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งมั่นว่าจะรักษาระบบอักษรจีนให้คงที่ และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือนำตัวอักษรจีนตัวเต็ม กลับมาใช้อีกในอนาคต
พรรคคอมมิวนิสต์กลัวว่าประชาชนจะสับสนเกี่ยวความแตกต่างระหว่างอักษรจีนตัวเต็มและอักษรจีนตัวย่อ จึงอ้างเหตุนี้ในการห้ามใช้อักษรจีนตัวเต็มในสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าสิ่งพิมพ์ในประเทศยังมีการใช้อักษรจีนตัวเต็มอยู่ จึงได้ออกกฎหมายภาษาและตัวอักษรแห่งชาติขึ้น อธิบายไว้ว่า ในทั่วทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ อักษรจีนตัวเต็มมิได้ถูกห้ามใช้ ส่วนใหญ่จะใช้อักษรจีนตัวเต็มในงานเฉลิมฉลอง การตกแต่งการใช้งานตามประเพณีดั้งเดิม เช่น การเขียนพู่กัน การใช้เพื่อการค้า เช่น ป้ายหน้าร้านและการโฆษณาซึ่งต่อมาส่วนมากใช้อักษรจีนตัวย่อกัน
สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะทำสื่อที่เผยแพร่ใน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า และต่างประเทศ โดยใช้อักษรจีนตัวเต็ม ตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่ที่มีทั้งรูปแบบอักษรจีนตัวเต็มและตัวย่อ เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่และสำนักข่าวซินหัวที่ให้เลือกอ่านเป็นอักษรจีนตัวเต็ม โดยใช้รหัสอักษร Big5 ตัวอย่างอื่น เช่น นมที่ผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่และส่งไปขายในฮ่องกง ก็พิมพ์ฉลากโดยใช้อักษรจีนตัวเต็ม และการปกครองแบบหนึ่งประเทศสองระบบ ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ไม่อยากเปลี่ยนให้ฮ่องกงและมาเก๊ามาใช้อักษรจีนตัวย่อ
สิงคโปร์ มีการรับอักษรจีนตัวย่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาใช้ 3 ครั้ง
มาเลเซีย มีการประกาศใช้อักษรจีนตัวย่อตามสาธารณรัฐประชาชนจีน ทุกประการ ในพ.ศ. 2524
อักษรจีนตัวย่อได้รับการต่อต้านและถูกแบนโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่ตั้งอยู่บนเกาะไต้หวัน นำโดยพรรคก๊กมินตั๋ง เนื่องจากเห็นว่าตัวอักษรแบบย่อนั้นเป็นผลผลิตของคอมมิวนิสต์ ที่ทำลายวัฒนธรรมและคุณค่าโบราณนับพันปีของจีน ในปัจจุบันนั้นในไต้หวันยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นตัวเขียนอย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้คนในไต้หวันสามารถอ่านตำราเก่าที่ใช้อักษรจีนโบราณอย่างง่ายดาย
พรรคคอมมิวนิสต์จีนในจีนแผ่นดินใหญ่กลับโต้แย้งว่าพวกเขามีมาตรการบังคับใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อส่งเสริมให้มีการเพิ่มของอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากร เนื่องจากอักษรจีนตัวเต็มนั้นซับซ้อน จดจำยาก ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการประเมินพบว่า ในจีนแผ่นดินใหญ่มีเพียงร้อยละ 3.6 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถอ่านออกและเขียนได้ ส่วนในไต้หวันตัวเลขมีเพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้น อย่างไรก็ตามในไต้หวันยังคงมีการต่อต้านอักษรแบบย่อของจีนแผ่นดินใหญ่จนถึงปัจจุบัน
ตัวอักษรทั้งหมดที่ทำให้แบบนี้ง่ายขึ้นมีการแจกแจงในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ใน Jiǎnhuà zì zǒng biǎo (简化字总表), "รายการตัวอักษรตัวย่อที่ถูกต้อง" ประกาศในปี พ.ศ. 2529
แสดงรายการตัวอักษรทั้งหมด 350 ตัวที่ใช้ด้วยตนเองและไม่สามารถทำหน้าที่เป็น "ส่วนประกอบของอักษรแบบย่อที่ทำให้เข้าใจง่าย"
แสดงรายการอักษร 132 ตัวที่ใช้ด้วยตนเองรวมถึงใช้เป็นส่วนประกอบของอักษรที่ทำให้เข้าใจง่ายเพื่อให้ได้อักษรที่ง่ายขึ้นอื่น ๆ ตารางที่ 2 ยังแสดงรายการ 14 "องค์ประกอบ" หรือ "ตัวรากศัพท์อักษร" ที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตัวเอง แต่สามารถวางนัยสำหรับการสร้างคำที่มีตัวอักษรที่ซับซ้อนมากขึ้น
แสดงรายการตัวอักษร 1,753 ตัวที่เป็นตัวย่อยึดตามหลักหลักการย่อตัวอักษร ใช้สำหรับ"องค์ประกอบ" และ "ตัวรากศัพท์อักษร" ในตารางที่ 2
ตัวอักษรทั้งหมดที่ทำให้เป็นตัวย่อจะมีการแจกแจงในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ใน รายการตัวอักษรตัวย่อที่ถูกต้อง ตัวอักษรในตารางทั้งสองมีโครงสร้างที่เรียบง่ายขึ้นอยู่กับชุดของหลักการที่คล้ายกัน ตัวอักษรจะถูกแยกออกเป็นสองตารางเพื่อทำเครื่องหมายอย่างชัดเจนในตารางที่ 2 ว่า 'ใช้งานได้เป็นส่วนประกอบตัวอักษรแบบย่อ' โดยอิงจากตารางที่ 3 ที่ได้รับมา[3]
การแทนที่ตัวอักษรเดิมด้วยตัวอักษรอื่นที่มีอยู่ซึ่งฟังเหมือนกันหรือคล้ายกัน:
ใช้รูปแบบของตัวอักษรโค้ง (草書楷化):
過 → 过; 報 → 报; 爾 → 尔; 盡 → 尽; 學 → 学; เป็นต้น
การเปลี่ยนส่วนประกอบของตัวอักษรด้วยสัญลักษณ์อย่างง่าย เช่นตัว (又) และ ตัว (乂):
การละเว้นองค์ประกอบของตัวอักษรตัวเต็ม:
เพิ่มเติมตัวอักษรหลังจากละเว้นส่วนประกอบบางอย่าง:
การกำจัดตัวรากศัพท์อักษรออกจากตัวอักษรตัวเต็ม
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.