คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

จีนี่ เรคคอร์ด

ค่ายเพลงไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

จีนี่ เรคคอร์ด (อังกฤษ: Genie Records) เป็นค่ายเพลงไทยภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (ต่อมาถูกโอนมาขึ้นกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) ตามการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงในปี พ.ศ. 2566) ที่เน้นการผลิตผลงานเพลงแนวร็อกเป็นหลัก[2] โดยมีวิเชียร ฤกษ์ไพศาล เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการคนแรกเป็นระยะเวลา 21 ปี โดยในปัจจุบันมีอ๊อฟ - พูนศักดิ์ จตุระบุล มือกีตาร์วงบิ๊กแอส เป็นผู้บริหารในตำแหน่ง Label Director[1][3] ศิลปินของค่ายในปัจจุบัน เช่น พาราด็อกซ์บิ๊กแอสบอดี้สแลม, โปเตโต้, ลาบานูน เป็นต้น[4]

ข้อมูลเบื้องต้น จีนี่ เรคคอร์ด, บริษัทแม่ ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

จีนี่ เรคคอร์ด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งให้วิเชียร ฤกษ์ไพศาล เป็นกรรมการผู้จัดการคนแรก ในช่วงแรก โดยค่ายผลิตศิลปินออกมาหลากหลายแนว ศิลปินเบอร์แรกของค่ายคือสุเมธแอนด์เดอะปั๋ง ซึ่งเป็นวงดนตรีดูโอที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อัลบั้มแรกของพวกเขา และยังได้แนะนำศิลปินหน้าใหม่เข้าสู่วงการบันเทิงซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ผลิตเพลงฮิตออกมา อาทิ ไท ธนาวุฒิ ชวธนาวรกุล (ไท ธนาวุฒิ), พลพล พลกองเส็ง, ณพสิน แสงสุวรรณ (หนุ่ม กะลา), บูโดกัน, วีนัส และดาจิม ในช่วงเวลานั้น พวกเขาต้องแข่งขันกับค่ายมอร์ มิวสิค ที่มีศิลปินร็อกที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นเป็นจำนวนมาก เช่น อัสนี-วสันต์, โลโซ, นูโว, แบล็กเฮด, ซิลลี่ฟูลส์ และซีล[5]

บิ๊กแอสซึ่งก่อนหน้านั้นอยู่กับค่ายมิวสิค บั๊กส์ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของค่ายจีนี่ เรคคอร์ดในปี พ.ศ. 2547 ตามมาด้วยบอดี้สแลมที่ย้ายมาจากค่ายเดียวกัน ต่อมาทั้งสองวงได้ออกอัลบั้มที่ทำให้พวกเขากลายเป็นวงดนตรีร็อคชื่อดัง ได้แก่ "Seven" ของบิ๊กแอส และ "Believe" ของบอดี้สแลม ที่ขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตเพลงในขณะนั้น นอกจากนี้ทางค่ายยังนำเสนอวงดนตรีใต้ดินให้ผู้ฟังเพลงกระแสหลักได้รู้จักด้วยการนำเสนอวงอย่างอีโบลา, สวีตมัลเล็ต และเรโทรสเปกต์[5]

ประมาณปี พ.ศ. 2555 ทางค่ายได้ทำการรีแบรนด์ตัวเองเป็น “จีนี่ ร็อค” เพื่อมุ่งเน้นไปที่การผลิตเพลงแนวร็อคเป็นหลัก หลังจากศิลปินแนวอื่น ๆ ในค่ายทยอยหมดสัญญาไป อย่างไรก็ตาม ยังมีศิลปินที่เข้ามาเซ็นสัญญาในค่ายจีนี่ เรคคอร์ด เพิ่มอีกหลายราย เช่น ลาบานูน, เดอะเยอร์ส, ปาล์มมี่, ทเวนตีไฟฟ์อาเวอส์, เปเปอร์เพลนส์ และโปเตโต้ ซึ่งกลับมาที่จีนี่ เรคคอร์ดหลังจากอยู่กับวีเรคคอร์ดสและเวิร์คแก๊งค์ได้ไม่นาน[5]

พวกเขาได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกในชื่อ "Genie Fest 16 ปีแห่งความร็อก" เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ที่ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 16 ปีการก่อตั้งจีนี่ เรคคอร์ด[6][7][8] และต่อด้วยงาน “จีนี่เฟสต์ 19 ปีกว่าจะร็อกเท่าวันนี้” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน[9]

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 วิเชียรได้ระบุว่าตนหมดสัญญากับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่เปลี่ยนชื่อมาจากแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้พ้นจากการเป็นผู้บริหารค่ายเพลงจีนี่ เรคคอร์ด ที่ตนก่อตั้งไปโดยปริยาย หลังจากดำรงตำแหน่งมาเป็นระยะเวลา 21 ปี 6 เดือน โดยมีอ๊อฟ - พูนศักดิ์ จตุระบุล มือกีตาร์วงบิ๊กแอส ขึ้นมาบริหารค่ายเพลงนี้ต่อ[3] โดยวิเชียรยังคงฝึกสอนวิชาการบริหารให้กับนักดนตรี 2 คน คืออ๊อฟ บิ๊กแอส และ โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้บริหารค่ายเพลงยีนแล็บและ 19 ที่อยู่ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่นเดียวกัน เนื่องจากวิเชียรเห็นว่าทั้งอ๊อฟและโอมเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถเพียงพอในการเป็นผู้บริหารในอนาคต[10]

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง โดยโอนธุรกิจเพลงทั้งหมดให้แก่บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้จีนี่ เรคคอร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในค่ายเพลงในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถูกโอนย้ายไปเป็นค่ายเพลงในเครือจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ไปโดยปริยาย และมีภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค เป็นผู้มีอำนาจควบคุมทางอ้อม[11]

Remove ads

ศิลปิน

สรุป
มุมมอง

ปัจจุบัน

ศิลปินเดี่ยว
ข้อมูลเพิ่มเติม ศิลปินเดี่ยว, เปิดตัว ...
วงดนตรี
ข้อมูลเพิ่มเติม ศิลปินกลุ่ม, เปิดตัว ...

อดีต

ระยะเวลา

ข้อมูลเพิ่มเติม สมาชิก, ระยะเวลา ...
Remove ads

โปรเจ็กต์พิเศษ

  • อัลบั้ม Intro 2000 (2542)
  • อัลบั้ม Meeting (2544)
  • เพลงประกอบละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย (2546)
  • อัลบั้ม Meeting 2 Meeting Again (2547)
  • อัลบั้ม Showroom Vol.1 (2547)
  • อัลบั้ม Showroom Vol.2 (2548)
  • อัลบั้ม วันฟ้าใหม่ (2548)
  • อัลบั้ม Play (2552)
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ SuckSeed ห่วยขั้นเทพ (2554)
  • อัลบั้ม Genie Fest 16 ปีแห่งความร็อก (2557)
  • อัลบั้ม Showroom Vol.3 (2559) ++ ผลงานออกบางส่วน
  • อัลบั้ม Genie Fest 19 ปีกว่าจะร็อกเท่าวันนี้ (2561)
  • อัลบั้ม Play 2 (2561)

คอนเสิร์ตรวมศิลปิน

ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อคอนเสิร์ต, วันที่แสดง ...

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads