Loading AI tools
นโยบายอาณานิคมภายใต้ราชอาณาจักรอิตาลี (ค.ศ. 1882-1946) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิอิตาลี (อังกฤษ: Italian Empire) ก่อตั้งขึ้นโดยราชอาณาจักรอิตาลี (อิตาลีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมชาติอิตาลี (Italian unification) ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1861) โดยอิตาลีได้ร่วมมือกับมหาอำนาจอื่นๆ ในยุโรปใน “การล่าอาณานิคมในแอฟริกา” ในช่วงนี้จักรวรรดิโปรตุเกส, สเปน, เนเธอร์แลนด์, อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ต่างก็เป็นเจ้าของอาณานิคมกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ดินแดนสุดท้ายที่ยังคงเหลือสำหรับยึดเป็นอาณานิคมคือทวีปแอฟริกาเท่านั้น
จักรวรรดิอิตาลี Impero coloniale italiano | |
---|---|
1882–1960 | |
ราชอาณาจักรอิตาลี อาณานิคมของอิตาลี
ดินแดนที่ครอบครองในสงครามโลกครั้งที่สอง | |
สถานะ | จักรวรรดิ |
เมืองหลวง | โรม |
ประวัติศาสตร์ | |
• การซื้อของอัซซับ | 1869 |
• เอริเทรียของอิตาลี | 1882 |
• สงครามเอริเทรีย | 1887–1889 |
• โซมาเลียของอิตาลี | 1889 |
1900 | |
• สงครามอิตาลี-ตุรกี | 1911–1912 |
• รัฐในอารักขาแอลบาเนีย | 1917–1920 |
• กระบวนการสันติภาพของลิเบีย | 1923–1932 |
• สงครามอิตาลี–อะบิสซิเนียครั้งที่สอง | 1935–1936 |
1939–1943 | |
1940–1941 | |
1940–1943 | |
1947 | |
1950–1960 | |
พื้นที่ | |
1938[1] | 3,798,000 ตารางกิโลเมตร (1,466,000 ตารางไมล์) |
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1914 อิตาลีก็ผนวกเอริเทรีย และ โซมาเลีย และพยายามควบคุมบางส่วนของจักรวรรดิออตโตมัน รวมทั้งลิเบีย แต่ต้องพ่ายแพ้เมื่อพยายามยึดเอธิโอเปีย รัฐบาลฟาสซิสต์ภายใต้การนำของผู้เผด็จการเบนิโต มุสโสลินีพยายามขยายเขตแดนของจักรวรรดิเพิ่มขึ้น ทั้งโดยการใช้กำลังและโดยการขู่ว่าจะใช้กำลัง และในที่สุดก็ยึดเอธิโอเปียได้เมื่อสี่สิบปีให้หลังจากการพยายามครั้งแรก
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองอิตาลีได้เข้าข้างฝ่ายนาซีเยอรมนี แต่ในที่สุดกองกำลังฝ่ายพันธมิตรก็ยึดดินแดนโพ้นทะเลของอิตาลีได้ และเมื่ออิตาลีถูกรุกรานในปี ค.ศ. 1943 จักรวรรดิอาณานิคมอิตาลีก็สลายตัวลงไปจนหมดสิ้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.