Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีราชวิทยาลัย - วชิราวธวิทยาลัย เป็นการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีและการแปรอักษรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[1][2] ระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ 2 สถาบันของประเทศไทย ได้แก่ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ หรือ สนามกีฬากองทัพบก เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์ นักเรียนทั้งฝ่ายนักกีฬาและฝ่ายกองเชียร์ และยังรวมไปถึงกลุ่มนักเรียนเก่าทั้งสองสถาบัน ให้มีความ Esprit de Corp ( มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า จิตวิณญาณของคณะ ) และความสามัคคีระหว่างพี่น้องทั้งสองสถาบัน โดยเงินรายได้ที่ได้จากการแข่งขันจะสมทบทุนการกุศลหมด[3]
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ชื่อในภาษาแม่ | รักบี้ประเพณี |
---|---|
กีฬา | รักบี้ฟุตบอล |
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ทีม | 2 |
พบกันครั้งแรก | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 |
พบกันครั้งล่าสุด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 |
พบกันครั้งต่อไป | - |
รางวัล | ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
สถิติ | |
การพบกันทั้งหมด | 30 |
ชนะสูงสุด | ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย |
ชนะต่อเนื่องยาวนานที่สุด | ภ.ป.ร ราชวิทยาลัย [ 6 ครั้ง ] [ พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน ] |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2526 |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
จำนวนทีม | 2 |
ถ้วยระดับประเทศ | ถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ( ครั้งที่ 30 ) |
ชนะเลิศมากที่สุด | ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย (20 ครั้ง) |
เดิมแต่แรกนั้น ในสมัยที่ ยังเป็น โรงเรียนราชวิทยาลัย ได้มีการจัดกีฬาหน้าพระที่นั่ง กับโรงเรียนในสังกัดกรมมหาดเล็ก(เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2459 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 1109) ทุกๆ ปีจะมีการแข่งกีฬาหน้าพระที่นั่ง ในวันแข่งขันกีฬาประจำปีนั้นทั้งครูและนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกคนจะต้องไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพร้อมกัน ณ สนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ( วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน ) เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นยุคสมัยที่การเงินของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน เศรษฐกิจตกต่ำ จึงได้ทรงตัดทอนรายจ่ายในพระราชสำนัก และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนราชวิทยาลัยไปรวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ให้เป็น โรงเรียนเดียวกัน ซึ่งโปรดพระราชทานนามนามให้ใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2469 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบไป
ล่วงมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัย ขึ้นมาใหม่ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประกอบกับในนามโรงเรียน และให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ใช้นามว่า โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีพระราชประสงค์ให้ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับ วชิราวุธวิทยาลัย เป็นโรงเรียนดังพี่น้อง ซึ้งเป็นผลสืบเนื่องตามพระราชประสงค์ทั้งสิ้น จึงจัดการแข่งขันกีฬารักบี้ประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งแรกในปี 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
การแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2526 โดยลำดับการแข่งขันและการเป็นเจ้าภาพ ดังนี้
|
|
สรุปผลการแข่งขัน
ทีม ภปร.ราชวิทยาลัย ชนะ 20 ครั้ง
ทีม วชิราวุธวิทยาลัย ชนะ 8 ครั้ง
เสมอ 2 ครั้ง
ครั้งที่ | วันที่ | ผลการแข่งขัน | คะแนน |
---|---|---|---|
1 | 11 พฤศจิกายน 2526 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 7 - 0 |
2 | 16 พฤศจิกายน 2527 | เสมอ | 12 - 12 |
3 | 15 พฤศจิกายน 2528 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 7 - 0 |
4 | 14 ธันวาคม 2529 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 7 - 6 |
5 | 18 ธันวาคม 2530 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 17 - 14 |
6 | 25 ธันวาคม 2531 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 18 - 16 |
7 | 22 ธันวาคม 2532 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 4 - 3 |
8 | 22 ธันวาคม 2533 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 14 - 11 |
9 | 17 ธันวาคม 2536 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 21 - 8 |
10 | 20 ธันวาคม 2538 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 26 - 3 |
11 | 16 ธันวาคม 2543 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 19 - 17 |
12 | 23 พฤศจิกายน 2544 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 22 - 18 |
13 | 7 พฤศจิกายน 2545 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 26 -16 |
14 | 20 ธันวาคม 2546 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 35 - 18 |
15 | 14 กุมภาพันธ์ 2548 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 29 - 21 |
16 | 11 พฤศจิกายน 2548 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 14 - 6 |
17 | 20 ธันวาคม 2549 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 11 - 10 |
18 | 21 ธันวาคม 2550 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 8 - 5 |
19 | 23 พฤศจิกายน 2551 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 23 - 22 |
20 | 21 พฤศจิกายน 2552 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 13 - 12 |
21 | 17 ธันวาคม 2553 | เสมอ | 16 - 16 |
22 | 1 ธันวาคม 2555 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 34 - 25 |
23 | 7 ธันวาคม 2556 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 27 - 22 |
24 | 20 ธันวาคม 2557 | วชิราวุธ ชนะ ราชวิทย์ | 15 - 10 |
25 | 28 พฤศจิกายน 2558 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 12 - 10 |
26 | 19 ธันวาคม 2561 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 23 - 10 |
27 | 25 ธันวาคม 2562 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 25 - 24 |
28 | 17 ธันวาคม 2565 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 42 - 15 |
29 | 23 ธันวาคม 2566 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 30 - 7 |
30 | 30 พฤศจิกายน 2567 | ราชวิทย์ ชนะ วชิราวุธ | 19 - 10 |
31 | |||
32 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.