ค่ายมรณะแตรบลิงกา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายมรณะแตรบลิงกา (อังกฤษ: Treblinka extermination camp) เป็นค่ายมรณะ[lower-alpha 2] ที่สร้างขึ้นและดำเนินการโดยนาซีเยอรมนีในเขตการยึดครองโปแลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[2] ตั้งอยู่ในป่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงวอร์ซอ ห่างจากสถานีรถไฟแตรบลิงกาไปทางทิศใต้เพียง 4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) ในเขตจังหวัดมาซอฟแชปัจจุบัน ค่ายแห่งนี้ได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 ถึง 19 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ในฐานะส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไรน์ฮาร์ท ช่วงที่เลวร้ายที่สุดของการแก้ปัญหาสุดท้าย (Final Solution)[6] คาดกันว่าในช่วงเวลานั้น ชาวยิวจำนวนประมาณ 700,000–900,000 คนถูกสังหารในห้องรมแก๊ส[7][8] ร่วมกับชาวโรมานีกว่า 2,000 คน[9] มีชาวยิวถูกสังหารในแตรบลิงกามากกว่าในค่ายมรณะของนาซีอื่น ๆ นอกเหนือจากค่ายกักกันเอาช์วิทซ์
แตรบลิงกา | |
---|---|
ค่ายมรณะ | |
บล็อกคอนกรีตเป็นสัญลักษณ์เส้นทางรถไฟย่อยที่แตรบลิงกา | |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 52°37′51.85″N 22°3′11.01″E |
เป็นที่รู้จักจาก | พันธุฆาตระหว่างฮอโลคอสต์ |
ที่ตั้ง | ใกล้กับแตรบลิงกา เขตปกครองสามัญ (โปแลนด์ส่วนที่ถูกเยอรมนียึดครอง) |
สร้างโดย | |
ดำเนินการโดย | SS-Totenkopfverbände |
ผู้บังคับบัญชา |
|
การใช้งานสถานที่ก่อนหน้า | ค่ายมรณะ |
สร้าง | เมษายน–กรกฎาคม 1942 |
เปิดใช้งาน | 23 กรกฎาคม 1942 – ค.ศ. ตุลาคม 1943[3] |
จำนวนห้องรมแก๊ส | 6 |
ผู้ถูกกักกัน | ยิว ส่วนใหญ่มีเชื้อสายโปแลนด์ |
จำนวนผู้ถูกกักกัน | ประมาณ 1,000 |
เสียชีวิต | ประมาณ 700,000–900,000 |
ปลดปล่อยโดย | ปิดในปลายปี 1943 |
ผู้ถูกกักกันที่มีชื่อเสียง |
|
ค่ายแตรบลิงกาได้รับการบริหารจัดการโดยหน่วยเอ็สเอ็สและทหารตรัฟนีกี (Trawniki) (ถูกเกณฑ์ด้วยความสมัครใจจากหมู่เชลยศึกชาวโซเวียตเพื่อร่วมรบกับชาวเยอรมัน) ประกอบไปด้วยหน่วยสองหน่วยแยกจากกัน[10] แตรบลิงกาที่ 1 เป็นค่ายบังคับแรงงาน (Arbeitslager) นักโทษในค่ายจะทำงานในเหมืองกรวดทรายหรือพื้นที่ชลประทาน และในป่าที่พวกเขาจะเข้าไปตัดไม้เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพ[11] ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1941–1944 จำนวนกว่าครึ่งของนักโทษ 20,000 คนได้เสียชีวิตจากการประหารชีวิตอย่างรวบรัด ความหิวโหย โรคภัย และการปฏิบัติที่ไม่ดี[12][13]
หน่วยที่สอง แตรบลิงกาที่ 2 เป็นค่ายมรณะ (Vernichtungslager) ซึ่งถูกนาซีเรียกอย่างสวยหรูว่า SS-Sonderkommando Treblinka ชายชาวยิวจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ถูกสังหารทันทีที่เดินทางมาถึงก็จะกลายเป็นหน่วยแรงงานทาสที่ถูกเรียกว่า ซ็อนเดอร์ค็อมมันโด (Sonderkommando; "หน่วยพิเศษ")[14] ซึ่งจะถูกบังคับให้ฝังศพเหยื่อไว้ในหลุมศพ ศพเหล่านี้ถูกขุดขึ้นในปี ค.ศ. 1943 และนำไปเผาในกองไฟกลางแจ้งขนาดใหญ่พร้อมกับศพเหยื่อรายใหม่[15] ปฏิบัติการการรมแก๊สสิ้นสุดลงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 หลังจาก ซ็อนเดอร์ค็อมมันโด ก่อการจลาจลในต้นเดือนสิงหาคม ทหารตรัฟนีกีหลายนายถูกสังหารและนักโทษ 200 คนได้หลบหนีออกจากค่าย;[16][17] มีจำนวนเกือบร้อยคนที่รอดชีวิตจากการถูกไล่ล่า[18][19] ค่ายแห่งนี้ได้ถูกรื้อถอนออกก่อนที่การรุกของกองทัพโซเวียตจะมาถึง โรงนาสำหรับยามเฝ้าสังเกตการณ์ได้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่และพื้นดินได้ถูกไถ่ปราบให้เรียบเพื่อซ่อนหลักฐานของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[20]
ในโปแลนด์หลังสงคราม รัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินส่วนใหญ่ที่ค่ายนั้นเคยตั้งอยู่ และสร้างอนุสรณ์สถานศิลาขนาดใหญ่ ณ ที่แห่งนั้นระหว่าง ค.ศ. 1959–1962 ใน ค.ศ. 1964 แตรบลิงกาได้รับการประกาศให้เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติของมรณสักขีชาวยิวในพิธีการที่จัดขึ้นบริเวณอดีตห้องรมแก๊ส[21] ในปีเดียวกัน ได้มีการพิจารณาคดีเยอรมันครั้งที่หนึ่งว่าด้วยอาชญากรรมสงครามที่อดีตสมาชิกหน่วยเอ็สเอ็สก่อขึ้นที่แตรบลิงกา ภายหลังการสิ้นสุดของระบอบคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1989 จำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมแตรบลิงกาจากต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ่น ศูนย์นิทรรศการที่ค่ายได้เปิดทำการใน ค.ศ. 2006 ต่อมาได้ขยายและกลายเป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ภูมิภาคแชดล์แซ (Siedlce)[22][23]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.