Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Social Administration, Thammasat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 5 ของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2497 เปิดสอนในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคณะแรกในประเทศไทยที่มีการเริ่มสอนวิชาสังคมสงเคราะห์แก่ประชาชน
บทความเรื่อง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิสถานศึกษา โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้ |
Faculty of Social Administration, Thammasat University | |
คติพจน์ | เธอคือความหวัง เธอคือพลัง เธอคือศรัทธา |
---|---|
สถาปนา | 25 มกราคม พ.ศ. 2497 |
คณบดี | ศาสตราจารย์ระพีพรรณ คำหอม |
ที่อยู่ | ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ศูนย์รังสิต 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ศูนย์ลำปาง 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 |
เพลง | สังคมสงเคราะห์ |
สี | สีเลือดหมู |
เว็บไซต์ |
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2497 และได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2497 โดยมีหลักการและเหตุผลว่า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐอันเกี่ยวกับการประชาสงเคราะห์และการประกัน สังคม และเพื่อส่งเสริมมาตรฐานการศึกษาในด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ การประกันสังคม และการประชาสัมพันธ์ อันเป็นวิทยาศาสตร์ทางสังคม ให้เทียบเท่ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ดังนั้น คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จึงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันสถาปนาคณะนับจากวันนั้นเป็นต้นมา
ระยะแรก การศึกษาของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แผนกวิชาคือ แผนกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และแผนกวารสารศาสตร์ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัด ตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2508 เพิ่มแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ขึ้นมาอีกแผนกหนึ่ง เมื่อระยะเวลาผ่านไป การศึกษาแต่ละแผนกวิชา ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับ แผนกวารสารศาสตร์ จึงได้แยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เมื่อ พ.ศ. 2513 และยกฐานะเป็นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เมื่อ พ.ศ. 2522 ส่วนแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ได้แยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2520 และยกฐานะเป็นคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เมื่อ พ.ศ. 2527 แม้ว่าแผนกวารสารศาสตร์ และแผนกสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จะแยกไปตั้งเป็นแผนกอิสระและยกฐานะเป็นคณะแล้วก็ตาม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ก็ยังพัฒนางานทางด้านบริการการศึกษา บริการทางวิชาการและบริการสังคมด้วยดีมาเป็นลำดับ และใน พ.ศ. 2537 ได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 5) ให้แบ่งส่วนราชการในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ออกเป็น 3 ส่วน คือ สำนักงานเลขานุการ ภาควิชาการพัฒนาชุมชน และภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2561 ภาควิชาการพัฒนาชุมชนได้เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชานโยบายสังคม พัฒนาสังคมและการพัฒนาชุมชน ตามประกาศราชกิจจานุเบษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 144 ง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561
การดำเนินงานของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 ส่วน คือ ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ภาควิชาการพัฒนาชุมชน และสำนักงานเลขานุการ ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แบ่งการบริหารวิชาการออกเป็นอีก 2 กลุ่มชำนาญการ คือ 1.) กลุ่มชำนาญการตามกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 5 กลุ่ม คือ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ สังคมสงเคราะห์ทางการศึกษา สังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม และพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ 2.) กลุ่มชำนาญการด้านวิธีการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ การปฏิบัติงานตรง (Direct Practice) วิจัย (Research) นโยบายสวัสดิการสังคม (Social Welfare Policy) และการบริหารงาน สวัสดิการสังคม (Social Welfare Administration), ภาควิชาการพัฒนาชุมชน ไม่มีการแบ่งเป็นสาขา/กลุ่มชำนาญการ ส่วนสำนักงานเลขานุการ แบ่งออกเป็น 4 งาน คือ งานบริหารและธุรการ งานการคลังและพัสดุ งานบริการการศึกษา และงานบริการวิชาการ
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ได้เปิดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในระดับปริญญาตรี ได้เปิดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง ในระดับปริญญาโท ได้เปิดการศึกษาทั้งในภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยเปิดการเรียนการสอนที่ท่าพระจันทร์ และศูนย์พัทยา สำหรับหลักสูตรและการจัดการศึกษามีดังนี้
การศึกษาภาคปฏิบัติ การศึกษาในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษา ถึงพร้อมด้วยความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และทักษะ (Skill) ทางสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งคุณธรรม และจริยธรรมทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการฝึกภาคปฏิบัตินั้น จะช่วยให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงาน และช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สังคม สงเคราะห์ภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อจบการศึกษาแล้ว รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีของการเป็นนักสังคมสงเคราะห์ วิชาชีพต่อไปในอนาคต การฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต มีจำนวน 2 วิชา คือ 1. สค.202 การฝึกภาคปฏิบัติ 1 : ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย กลุ่มไปใช้ในการปฏิบัติงานขององค์การ ฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎี หลักการ ทักษะทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการนำวิธีการสังคมสงเคราะห์แบบ ผสมผสานไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานที่ให้บริการ ฝึกให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ เชื่อมโยงการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน การนำเสนอแนวคิดเพื่อปรับปรุงทั้งวิธีการให้บริการและการพัฒนาระบบสวัสดิการ สังคมใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยในระดับต่าง ๆ (ฝึกภาคสนาม 270 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)
2. สค.301 การฝึกภาคปฏิบัติ 2 : ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานกับชุมชน เมืองหรือชนบท ฝึกให้นักศึกษาสามารถศึกษาชุมชน วิเคราะห์ชุมชน การวางแผนดำเนินโครงการ การปฏิบัติการตามแผนงานการประเมินผลการดำเนินงาน โดยนำแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสานไปใช้ในการศึกษา ฝึกให้นักศึกษาเกิดทักษะการทำงานกับชุมชน การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการปฏิบัติงานชุมชนทุกขั้นตอน การเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ในการทำงานกับชุมชน (ฝึกภาคสนาม 270 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)
คุณค่า : กิจกรรมนักศึกษา
กิจกรรมนักศึกษา คือ งานที่นักศึกษาจัดขึ้นนอกเวลาเรียน ทั้งภายในและนอกสถาบัน อาจเกี่ยวข้องกับการเรียนในหลักสูตรโดยตรง ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวไม่มีการบังคับให้เข้าร่วม เกิดจากความเต็มใจ และสมัครใจของนักศึกษา กิจกรรมของนักศึกษาจัดขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ และเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อความรู้ ตอบสนองความต้องการและความสนใจของนักศึกษาเอง คือ เกิดความสนุกสนาน รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมนักศึกษานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เนื่องจาก ปัจจุบันสังคมไม่ต้องการคนเก่งทางวิชาการเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการ คนที่มีความสมบูรณ์ทั้งความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ ประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้นักศึกษาเปิดมุมมองของตนเองให้กว้างขึ้น จัดการและบริหารเวลาได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีบุคลิกภาพที่ดี รู้จักบทบาทผู้นำและผู้ตาม
การเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา ไม่เพียงทำให้นักศึกษาใช้เวลาว่างและเกิดประโยชน์ แต่ยังส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน นักศึกษาที่สนใจกิจกรรม ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม หรือต้องการเป็นสมาชิกชมรม ชุมนุมต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายการนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือที่ คณะกรรมการนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ โทร. 0–2696–5504
ผู้บริหารคณะ : คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ หัวหน้าภาควิชาสังคมสงเคราะห์ รองศาสตราจารย์ ระพีพรรณ คำหอม หัวหน้าภาควิชาพัฒนาชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง
งิ้วล้อการเมือง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่รู้จักกันในชื่องิ้วธรรมศาสตร์ เป็นการแสดงล้อเลียนเสียดสีสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ที่นำเอาอุปรากรจีนหรืองิ้วมาดัดแปลง เริ่มมีตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ที่ชุมนุมนาฏศิลป์ ส่วนใหญ่มักใช้เรื่องสามก๊กผสานกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ๆ เป็นสำคัญ การแสดงงิ้วธรรมศาสตร์หยุดไปช่วงหนึ่งหลังเหตุการณ์ 6 ตุลามหาวิปโยค และกลับมาอีกครั้งเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 จากนั้นก็หยุดไป และมาเริ่มอีกครั้งในการขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันงิ้วธรรมศาสตร์ที่เล่นอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จริง ๆ กับงิ้วที่เล่นในการชุมนุมเรียกร้อง ขับไล่นายกทักษิณนั้นเป็นคนละงิ้วกัน แต่มีที่มาเดียวกัน กล่าวคือเป็นงิ้วที่เริ่มจากคณะนิติศาสตร์ และต่อมาคณะนิติศาสตร์ไม่มีคนสืบงานต่อ งิ้วล้อการเมืองธรรมศาสตร์ปัจจุบันจึงตกสืบเนื่องมาเป็นงิ้วของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นชมรมปิด รับเฉพาะนักศึกษาสังคมสงเคราะห์เท่านั้น เรียกได้ว่า งิ้วล้อการเมืองคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เล่นโดยนักศึกษาจริง ๆ ซึ่งการเล่นนั้นจะเล่นบทให้เข้ากับสถานณ์บ้านเมืองและใช้เหตุและผล ความคิดของนักศึกษาอย่างแท้จริง ส่วนงิ้วที่เล่น ณ เวทีพันธมิตร เป็น แค่ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่สนับสนุนฝ่ายพันธมิตรและเคยเล่นงิ้วมาก่อน และใช้ชื่อว่า งิ้วธรรมศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่งิ้วธรรมศาสตร์ที่แท้จริงและเล่นโดยนักศึกษาธรรมศาสตร์นั้นคือ งิ้วล้อการเมือง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยงานประจำที่งิ้วล้อการเมืองเล่นทุกปี คือ งานรับเพื่อนใหม่ งานวันครบรอบการสถาปณาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และงานเปิดโลกกิจกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันคณะงิ้วล้อการเมืองเปิดรับงานแสดงทั้งในและนอกสถานที่ตลอดทั้งปีอีกด้วย
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ปีที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1. | ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์ | พ.ศ. 2497 |
2. | ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ธรรมวิทย์ | พ.ศ. 2504 |
3. | ศาสตราจารย์ พลตรี บัญชา มินทรขินทร์ | พ.ศ. 2504 – 2508 |
4. | ศาสตราจารย์ ปกรณ์ อังศุสิงห์ | พ.ศ. 2508 – 2512 |
5. | ศาสตราจารย์ คุณนวลนาฏ อมาตยกุล | พ.ศ. 2512 – 2515 |
6. | ศาสตราจารย์ วารุณี บิณฑสันต์ | พ.ศ. 2516 – 2517 |
7. | ศาสตราจารย์ เทวี รัชตานนท์ | พ.ศ. 2518 – 2522 |
8. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐไชย ตันติสุข | พ.ศ. 2523 – 2525 |
9. | รองศาสตราจารย์ นันทนีย์ ไชยสุต | พ.ศ. 2526 – 2527 |
10. | รองศาสตราจารย์ วิจิตร ระวิวงศ์ | พ.ศ. 2528 – 2529 |
11. | รองศาสตราจารย์ วิจิตร ระวิวงศ์ | พ.ศ. 2530 – 2531 |
12. | รองศาสตราจารย์ นิภา ส.ตุมรสุนทร | พ.ศ. 2531 – 2533 |
13. | รองศาสตราจารย์ นิภา ส.ตุมรสุนทร | พ.ศ. 2534 – 2536 |
14. | อาจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ | พ.ศ. 2537 – 2540 |
15. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ | พ.ศ. 2541 – 2543 |
16. | รองศาสตราจารย์ นงลักษณ์ เอมประดิษฐ์ | พ.ศ. 2543 – 2546 |
17. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิญญา เวชยชัย | พ.ศ. 2546 – 2549 |
18. | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา | พ.ศ. 2549 – 2552 |
19. | รองศาสตราจารย์ ดร. เดชา สังขวรรณ | พ.ศ. 2552 – 2555 |
20. | รองศาสตราจารย์ ดร. เดชา สังขวรรณ | พ.ศ. 2555 – 2558 |
21 | ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม | พ.ศ. 2559 – 2562 |
22 | ศาสตราจารย์ระพีพรรณ คำหอม | พ.ศ. 2562 – 2565 |
23 | รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ชลายนนาวิน | พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.