Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มีผู้เสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บอีก 5 คน จากการโจมตีจุดตรวจรักษาความปลอดภัย ที่จังหวัดยะลา ประเทศไทย[10] ในบรรดาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บคือเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครป้องกันหมู่บ้านจำนวนมาก[11] โดยผู้เสียชีวิตเป็นชาย 10 ราย และหญิง 5 ราย นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่สุดของกองกำลังภาคประชาชนในเหตุการณ์ไฟใต้[12]
การโจมตียะลา พ.ศ. 2562 | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย | |
แผนที่จังหวัดยะลาจุดเกิดเหตุอำเภอเมืองยะลา | |
สถานที่ | ป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา[1] |
วันที่ | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ประมาณ 22:20 น.[2][3] (UTC+07:00) |
เป้าหมาย | เป้าหมายอ่อนแอ[4] |
ประเภท | การสังหารหมู่[5] |
อาวุธ | ฝ่ายบีอาร์เอ็น: • อาก้า[3] • เอ็ม 16[3] • ปืนลูกซอง[3] • ระเบิดขว้าง[6] • เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79[6] ฝ่าย ชรบ.: • เอ็ม 16[7] • ปืนลูกซอง[7] • ปืนพก[7] |
ตาย | ฝ่าย ชรบ.: 15 ราย (พุทธ 13 ราย, มุสลิม 2 ราย)[6] |
เจ็บ | ฝ่ายบีอาร์เอ็น: เชื่อว่าสาหัส 1–2 ราย[2][4][8] ฝ่าย ชรบ.: 5 ราย (สาหัส 3 ราย, เล็กน้อย 2 ราย)[9] |
ผู้ก่อเหตุ | บีอาร์เอ็น[5] |
ผู้ต่อต้าน | ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) |
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ก่อเหตุได้ปล้นปืนของผู้เสียชีวิตไปด้วย 8 กระบอก ได้แก่ เอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก, ปืนลูกซอง 2 กระบอก และปืนพก 5 กระบอก[7] รวมถึงมีการโปรยตะปูเรือใบ, ตัดต้นไม้ขวางทาง และเผายางรถยนต์กลางถนน เพื่อสกัดกั้นการติดตามของเจ้าหน้าที่[13][14]
หลังเกิดเหตุการณ์ไม่นาน พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เร่งเดินทางมายังพื้นที่ เพื่อตรวจจุดก่อเหตุการสังหารหมู่ด้วยตนเอง พร้อมสั่งให้ตำรวจชุดพิสูจน์หลักฐาน รวบรวมพยานหลักฐานในจุดเกิดเหตุให้ครอบคลุมทั้งหมด รวมถึงให้ติดตามผู้ก่อเหตุอย่างเร่งด่วน[15][16]
จากหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ได้พบรอยเลือดและดีเอ็นเอของผู้ก่อเหตุ โดยมีการออกหมายจับและสอบปากคำผู้ต้องสงสัย[17][18][19]
เนื่องด้วยความแตกต่างด้านอาวุธ ที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) มีเพียงปืนลูกซองที่บรรจุกระสุนได้เพียง 6 นัด และปืนพกที่บรรจุกระสุนได้อย่างจำกัด อีกทั้งไม่มีเสื้อเกราะกันกระสุน ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามมีทั้งอาก้า, เอ็ม 16, ระเบิดขว้าง และอาวุธสงครามครบมือ ญาติของผู้เสียชีวิตจึงได้ขอความช่วยเหลือจากทางการ ในการจัดหาเสื้อเกราะและอาวุธสงครามประจำกายแก่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน[20]
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางกระทรวงกลาโหมได้เน้นงานด้านการข่าวเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชน รวมถึงให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพกล้องวงจรปิดที่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ (ระบบเอไอ) เสริมการทำงาน ส่วนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในเบื้องต้นได้มอบเงินรายละ 500,000 บาทแก่ผู้เสียชีวิต และทางรัฐบาลไทยได้ให้การดูแลทายาทหรือบุตรของผู้สูญเสีย ให้ได้รับการศึกษาจนสำเร็จปริญญาตรี หรือจนถึงอายุ 25 ปี[21]
สำหรับวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา, ชาวบ้าน และอาสารักษาหมู่บ้าน ได้ร่วมทำการรื้อป้อมดังกล่าว เพื่อไม่ให้ชาวบ้าน, ญาติพี่น้องในชุมชนลำพะยารู้สึกสลดใจ เมื่อผ่านมาเห็นป้อมดังกล่าว รวมถึงมีการหารือกับชุมชน เพื่อสร้างป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านแห่งใหม่ให้แก่ชุมชน[22]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.