Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสด็จออกมหาสมาคม เป็นพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกที่ประชุมใหญ่เพื่อการสำคัญ โดยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีการเสด็จออกมหาสมาคม ทั้งเป็นพระราชพิธีประจำปี และพระราชพิธีในโอกาสพิเศษ แต่ละครั้งมีขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ อาทิ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณมหินทรพิมาน, สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท มุขเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระที่นั่งองค์พิเศษ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทั้งนี้ เพื่อพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา คณะทูตานุทูต ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ตลอดจนพสกนิกรทุกหมู่เหล่า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีหมายกำหนดการเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 5 ธันวาคม เวลาเช้า 10.30 นาฬิกา โดยพระองค์ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ พร้อมเครื่องแบบเต็มยศ ประทับพระราชบัลลังก์ บนพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ เหนือพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน และอยู่เบื้องหลังพระวิสูตร (ม่าน) พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท (อยู่เบื้องหลังพระวิสูตร) และคณะบุคคลต่าง ๆ (อยู่เบื้องหน้าพระวิสูตร) เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล
อนึ่ง การนี้จะมีขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 โดยหากเป็นปีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบการพระราชพิธีอย่างพิเศษในวโรกาสสำคัญ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นในสถานที่สำคัญอื่น
ในปี พ.ศ. 2503 มิได้มีหมายกำหนดการเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องจากอยู่ในระหว่างการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ[1][2]
ในปี พ.ศ. 2516 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องจากเสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดเทวสังฆาราม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี[3][4]
ปี พ.ศ. 2517 เสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[5]
ปี พ.ศ. 2522 มิได้มีหมายกำหนดการเสด็จออกมหาสมาคม[6][7]
ปี พ.ศ. 2527 มิได้เสด็จออกมหาสมาคม[8]
ปี พ.ศ. 2551 ได้งดพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องจากพระพลามัยไม่พร้อม
โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทหารรักษาพระองค์เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นกรณีพิเศษในการนี้ด้วย
และในปี พ.ศ. 2556 สำนักพระราชวังย้ายสถานที่เสด็จออกมหาสมาคม ไปยังท้องพระโรง ศาลาราชประชาสมาคม (อาคารเอนกประสงค์เดิม) วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับเป็นการเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา นอกเขตกรุงเทพมหานครครั้งแรกในราชวงศ์จักรี[ต้องการอ้างอิง] รวมถึงเป็นการเสด็จออกมหาสมาคมนอกเขตกรุงเทพมหานครครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นการเสด็จออกมหาสมาคมครั้งสุดท้ายของรัชกาลที่ 9
ในปี พ.ศ. 2557 มีแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังระบุว่า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระพลานามัยไม่พร้อม ที่จะเสด็จออกมหาสมาคม คณะแพทย์จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้งดพระราชกิจสักระยะหนึ่ง จึงทำให้ปี พ.ศ. 2557 งดการพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม
ส่วนในปี พ.ศ. 2558 มิได้มีหมายกำหนดการเสด็จออกมหาสมาคม[9]
และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ได้สิ้นสุดการเสด็จออกมหาสมาคมในสมัยรัชกาลที่ 9 เนื่องจากพระองค์เสด็จสวรรคต
ภาพ | โอกาส | วัน/เวลา | สถานที่ | คณะบุคคลที่เฝ้าฯ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา | 5 ธันวาคม ของทุกปี | พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง |
|
ทรงฉลองพระองค์ครุย พร้อมเครื่องแบบจอมทัพประทับพระราชบัลลังก์ บนพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ เหนือพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน เบื้องหลังพระวิสูตร (ม่าน) | |
ภาพ | โอกาส | วัน/เวลา | สถานที่ | คณะบุคคลที่เฝ้าฯ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส[10] | 28 เมษายน พ.ศ. 2493 เวลา 16.00 น. |
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง |
| ||
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก[11] | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เวลา 14.00 น. |
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง |
|
ทรงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ พร้อมเครื่องแบบเต็มยศ ประทับพระราชบัลลังก์ บนพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ เหนือพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร ซึ่งตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน เบื้องหลังพระวิสูตร (ม่าน) | |
ไฟล์:Bhumibol Adulyadej and Sirikit audience 7 May 1950.jpg | พระราชพิธีบรมราชาภิเษก[12] | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เวลา 17.00 น. |
พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท พระบรมมหาราชวัง |
|
|
ทรงแจ้งพระราชดำริในการเสด็จออกบรรพชาอุปสมบท[13] | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2499 | พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท พระบรมมหาราชวัง |
|
| |
งานสมโภชเนื่องในการเสด็จนิวัติพระนคร หลังจากทรงเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรป[14] | 19 มกราคม พ.ศ. 2504 | พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต |
|
| |
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ[15] | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2506 | พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง |
|
| |
พระราชพิธีรัชดาภิเษก[16] | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2514 เวลา 10.00 น. |
พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง |
|
| |
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ[17] | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เวลา 10.30 น. |
พระที่นั่งชัยมังคลาภิเษก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง |
|
จิตใจให้แน่วแน่หนักแน่น ที่จะร่วมกันบำเพ็ญกรณียกิจของตน ๆ ให้ประสานและเกื้อกูลส่งเสริมกันอย่างสอดคล้อง ด้วยความสุจริต แข็งขัน และจริงใจ เพื่อให้ผลสำเร็จทั้งหลาย ที่แต่ละฝ่ายแต่ละคนกระทำ ประมวลกันเป็นความเจริญมั่นคง ความวัฒนาผาสุก และความรุ่งเรืองไพบูลย์ ของประเทศชาติไทยของเรา” | |
พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539[18] | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เวลา 10.30 น. |
พระที่นั่งกาญจนาภิเษก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง |
|
พร้อมกับพัฒนาให้เจริญรุดหน้าไปได้ดังปรารถนา” | |
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ[19] | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เวลา 10.30 น. |
พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต |
|
| |
พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี[20] | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เวลา 11.30 น. |
พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต |
|
| |
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา[21] | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 10.30 น. |
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง |
|
| |
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ[22] | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 10.30 น. |
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง |
|
| |
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา พุทธศักราช 2555[23] |
5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10.30 น. |
พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต |
|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.