Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จสวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.20 น. บนชั้นสอง พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง สภาพพระบรมศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระบรมศพมีปืนพกโคลต์ตกอยู่ชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ในช่วงแรกมีการรบกวนพระบรมศพทำให้การพิสูจน์เกิดปัญหา ความเห็นของแพทย์ผู้ชันสูตรเกือบสามในสี่ลงมติเป็นการลอบปลงพระชนม์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พ.ศ. 2493 | |
วันที่ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 |
---|---|
เวลา | 09.20 น. (UTC+7) |
สถานที่ | พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ที่ตั้ง | จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ประเภท | เหตุยิง |
สาเหตุ | สันนิษฐานว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ |
เป้าหมาย | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร |
ผู้รายงานคนแรก | ชิต สิงหเสนี |
ผล |
|
ไต่สวน | "ศาลกลางเมือง" |
จนท. ชันสูตร | คณะแพทย์ 20 คน |
ต้องสงสัย | ดูในบทความ |
พิพากษาลงโทษ | คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497 |
จำนวนถูกพิพากษาลงโทษ | ประหารชีวิตมหาดเล็ก 3 คนฐานประทุษร้ายพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล |
ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวน และรัฐสภาลงมติถวายราชสมบัติให้แก่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ข่าวลือแพร่สะพัดไปว่าพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลถูกลอบปลงพระชนม์ และศัตรูการเมืองของปรีดีซึ่งประกอบด้วยทหารสายจอมพล ป. พิบูลสงครามและพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยข่าวลือว่าปรีดีเป็นผู้บงการ เมื่อไขคดีไม่ได้และรัฐบาลสั่งปิดหนังสือพิมพ์ที่โจมตีรัฐบาลนานเข้า ปรีดีจึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อแทน แต่สุดท้ายเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดยอ้างสาเหตุหนึ่งว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขคดีสวรรคตได้ ทำให้ปรีดีและพันธมิตรหมดอำนาจทางการเมือง ทั้งนี้ ส. ศิวรักษ์เขียนว่า ปรีดี พนมยงค์มีบทบาทช่วยปกป้องเชื้อพระวงศ์ที่กระทำผิดในเหตุการณ์ และไม่ได้บอกให้อธิบดีตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชันสูตรพระบรมศพแต่แรก และจับกุมผู้ทำลายหลักฐานเพื่อปิดบังพิรุธ[1]: 5–6
คณะกรรมการสืบสวนคดีสวรรคตที่มีพระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) เป็นประธาน อันตั้งขึ้นหลังรัฐประหารนั้นพยายามสรุปคดีในดูเหมือนปรีดีเป็นผู้บงการ[2]: 138–42 แม้มีหลักฐานเท็จ แต่การสอบสวนดำเนินต่อ จนศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิตมหาดเล็ก 3 คนในเดือนตุลาคม 2497[2]: 146 เนื่องจาก "มีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแก่พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลถึงแก่การสวรรคต" ในปี 2498 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามพยายามฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยกฎีกา
ประมวลจากหนังสือ กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 และ คดีประวัติศาสตร์ลอบปลงพระชนม์ ร.8[3]
ขณะนั้นมีคนอยู่บริเวณพระที่นั่งชั้นบน 8 ด้วยกันคือ
ขณะที่เสียงปืนดังขึ้น ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน นั่งอยู่ที่พื้นระเบียงหน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์เป็นทางเดียวจะเข้าสู่ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันมหิดล[5]
ประเด็นสวรรคตมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น โดยนายปรีดีเป็นผู้ต้องสงสัยในฐานะผู้บงการให้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ เพื่อให้ตนรอดพ้นจากข้อกล่าวหา นายปรีดีจึงสั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น ซึ่งถูกเรียกสั้น ๆ ว่า ศาลกลางเมือง เพื่อทำการสืบสวนกรณีสวรรคต[8]
ช่วงแรก รัฐบาลในขณะนั้นไม่ได้มีความคิดชันสูตรพระบรมศพ และกรมขุนชัยนาทฯ เองก็ได้ห้ามปรามไว้[9] ต่อมารัฐบาลฯ ได้ออกประกาศในขณะนั้นสันนิษฐานว่าเป็นอุปัทวเหตุ (โดยพระองค์เอง)[10] และได้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์[11] ไม่กี่วันต่อมาฝ่ายปฏิปักษ์ของปรีดีฯ นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มนิยมเจ้าได้นำมาเป็นประเด็นทางการเมือง โดยกล่าวหาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ และมีปรีดีเป็นผู้บงการ เนื่องจากปรีดีเคยมีพฤติการณ์ในอดีตที่ทำให้มองว่าเป็นปรปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์[12] เพื่อสยบข่าวลือและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ปรีดีจึงประกาศจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนขึ้น[13] การชันสูตรพระบรมศพเริ่มวันที่ 26 มิถุนายน 2489[14]
เมื่อตำรวจไปถึงได้มีการเคลื่อนย้ายและขยับพระบรมศพและวัตถุในที่เกิดเหตุไปจากเดิมแล้ว[15] ทำให้แพทย์ต้องอาศัยจากคำให้การบุคคลที่เข้าไปพบพระบรมศพกลุ่มแรกในการวิเคราะห์[16] ทั้งนี้ ในการสอบสวนของศาลกลางเมืองบันทึกว่า สมเด็จพระบรมราชชนนีมีรับสั่งให้แพทย์ทำความสะอาดศพโดยไม่ระบุเหตุผล ซึ่งมองได้ว่าเป็นสิ่งผิดปกติหรือพยายามปกปิดหลักฐาน[17]: 146
สภาพพระบรมศพทรงบรรทมหงายพิงพระเขนย (หมอน) คล้ายคนนอนหลับอย่างปกติ มีผ้าคลุมตั้งแต่พระอุระ (อก) ตลอดจนถึงข้อพระบาท (ข้อเท้า) มีพระโลหิต (เลือด) ไหลโทรมพระพักตร์ (หน้า) ลงมาที่พระเขนยและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียร (ศีรษะ) ตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย บริเวณกึ่งกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงตรงเหนือพระขนง (คิ้ว) ซ้าย มีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ 4 ซม. พระเนตร (ตา) ทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ฉลองพระเนตร (แว่นตา) พระเกศา (ผม) แสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ (ปาก) ปิด พระกร (แขน) ทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 ซม. มีปืนของกลางขนาดลำกล้อง 11 มม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนานและห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก)
อ้างอิง: [18]
การชันสูตรพระบรมศพเริ่มในวันที่ 26 มิถุนายน 2489 โดยมี นพ.สุด แสงวิเชียร และ นพ.สงกรานต์ นิยมเสน เป็นผู้ลงมือผ่าตัดพระบรมศพด้วยกัน และมี นพ.สงัด เปล่งวานิช เป็นผู้คอยจดบันทึกผล[19]
หลังชันสูตรพระบรมศพ คณะแพทย์ได้ลงความเห็นว่า ลอบปลงพระชนม์ 16 เสียง ปลงพระชนม์เอง 4 เสียง อุบัติเหตุ 2 เสียง ทั้งนี้ คณะแพทย์ 20 คน เป็นแพทย์ไทย 16 คน แพทย์ต่างชาติ 4 คน (อเมริกัน 1 คน, แพทย์จากกองทัพบริติชและบริติชอินเดีย 3 คน)[25] และใน 16 คนแรกที่เพิ่งกล่าวถึง 8 คนบอกตัด “อุบัติเหตุ” ออกไปเลยว่าเป็นไปไม่ได้ (หนึ่งในนั้น นพ.ชุบ โชติกเสถียร ตัดการยิงพระองค์เองออกหมดคือ ตัด “ปลงพระชนม์เอง” ด้วย) ที่เหลือเกือบทุกคนใส่ “อุบัติเหตุ” ไว้หลังสุด (คือเรียงลำดับความเป็นไปได้ว่า “ถูกปลงพระชนม์, ปลงพระชนม์เอง หรือ อุบัติเหตุ”)[26] นอกจากนี้แพทย์บางคนที่ไม่เจาะจงตัดอุบัติเหตุทิ้ง ยังให้เหตุผลว่าแม้จะมีความเป็นไปได้ แต่ก็น้อยมากไม่ถึง 1 ในล้าน เช่น นพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเพท และ นพ.ใช้ ยูนิพันธ์[27] โดยการนับของแพทย์ นับจากใครเห็นว่าเหตุใดมีน้ำหนักมากสุด ให้นับอย่างนั้นเป็น 1 อย่างอื่นไม่นับ[28]
สถานที่เกิดเหตุคือในห้องบรรทมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) จากการสอบสวนพบว่า ไม่พบร่องรอยการปีนป่ายจากภายนอก และทางเข้าออกห้องบรรทมมีแค่ทางเดียวในขณะนั้น ด้านเหนือ ทางห้องทรงพระอักษร ถูกลงกลอนจากภายในตลอด ด้านตะวันตกติดกับห้องทรงพระสำราญ มีประตู 3 บาน แต่ถูกปิดตายทั้งหมด โดยลงกลอนจากฝั่งห้องบรรทม และฝั่งห้องทรงพระสำราญมีตู้โต๊ะเก้าอี้วางกั้นอยู่ เป็นอันว่า ด้านกลางนี้ไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าออก คงเหลือแค่เพียงทางเดียว คือ ด้านใต้ ตรงส่วนห้องแต่งพระองค์ ซึ่งมีนายชิต นายบุศย์ นั่งเฝ้าอยู่ตลอดเวลา[29]
มีบันได 3 ทางที่เชื่อมชั้นล่างกับชั้น 2 คือ
ขณะเกิดเหตุมีมหาดเล็กยืนยามอยู่ ดังที่เห็นในภาพคือ มุมหน้าพระที่นั่ง 2 คน ที่บันไดหลังข้างอ่างน้ำพุ 2 คน กับบันไดขึ้นชานชาลาสุดพระที่นั่งด้านตะวันตก 1 คน และมีชาวที่อยู่เวรที่บันไดระหว่างห้องภูษากับห้องเครื่องเล่นอีก[34]
โดยพระแท่นบรรทมจะมีพระวิสูตร (มุ้ง) คลุมรอบด้าน และมีเหล็กทับกดอยู่ การเข้าออกต้องแหวกพระวิสูตรเข้าไป และพระวิสูตรไม่มีรอยทะลุ หัวกระสุนพุ่งลงทะลุผ่านพระเศียร และพระเขนย (หมอน) ไปฝังในฟูกที่นอนข้างใต้[42]
ส. ศิวรักษ์เขียนว่า ปรีดี พนมยงค์มีบทบาทช่วยปกป้องเชื้อพระวงศ์ที่กระทำผิดในเหตุการณ์ และไม่ได้บอกให้อธิบดีตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชันสูตรพระบรมศพแต่แรก และจับกุมผู้ทำลายหลักฐานเพื่อปิดบังพิรุธ[1]: 5–6 รัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์เองก็ตัดสินใจไม่ประกาศผลการสอบสวนออกไปเพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนพระองค์พระมหากษัตริย์[43]: 57 จอมพล ผิน ชุณหะวัณ แกนนำรัฐประหารปี 2490 อ้างว่า สาเหตุหนึ่งที่ต้องก่อการเพราะปรีดีเตรียมประกาศชื่อผู้ลอบปลงพระชนม์ และตั้งสาธารณรัฐ[43]: 65
การถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นจุดด่างพร้อยในชีวประวัติของปรีดี และศัตรูเขานำมาใช้โจมตีแม้หลังสิ้นชีวิตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในคดีหมิ่นประมาทที่ปรีดีเป็นโจทก์ฟ้องนั้น ศาลยุติธรรมให้เขาชนะทุกคดี[44][a]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คดีระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ กับเฉลียว ปทุมรส ที่ 1 ชิต สิงหเสนี ที่ 2 และบุศย์ ปัทมศริน ที่ 3 จำเลย | |
---|---|
(คดีสวรรคต ร.8) | |
สาระแห่งคดี | |
คำฟ้อง | บังอาจสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 8 |
คำขอ | ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 98, 154, 63, 64, 70 และ 71 |
คู่ความ | |
โจทก์ | พนักงานอัยการ |
จำเลย | |
ศาล | |
ศาล | ศาลฎีกา |
ผู้พิพากษา |
|
คำพิพากษา | |
คำพิพากษา | คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497 |
พิพากษา | |
" ประหารชีวิต " | |
ลงวันที่ | 12 ตุลาคม 2497 |
กฎหมาย | กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 |
ภายหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลใหม่ซึ่งมีควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดใหม่โดยมีพลตำรวจตรี พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) เป็นประธาน ซึ่งเขาเป็นพี่เขยของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ มีการจับกุมเฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2490 หรือ 12 วันหลังรัฐประหาร ทั้งนี้ พระยาพินิจคดีไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันระยะเวลา 90 วันตามที่กฎหมายกำหนด รัฐบาลก็เสนอกฎหมายให้ขยายระยะเวลาสอบสวนผู้ต้องหาคดีสวรรคตได้กรณีพิเศษในเดือนมกราคม 2491 รวมไม่เกิน 180 วัน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง การสวรรคตเพราะอุบัติเหตุโดยการกระทำของผู้อื่น ในข้อสรุปรายงานของคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์สวรรคต ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2489 ก็ได้สรุปไปในทำนองเดียวกับศาล คือ "อุบัติเหตุเกิดจากการกระทำของผู้อื่นนั้นไม่มีเค้ามูลอันจำต้องพิจารณาถึง"[57]
ในปี 2498 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามพยายามฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยกฎีกา รัฐบาลยังพยายามรื้อฟื้นการพิจารณาคดีจำเลยทั้งสามใหม่ด้วย แต่ไม่ทันถูกรัฐประหารเสียก่อน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ทำความเห็นแย้งไว้ในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า คดีนี้ควรพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสาม[58] นอกจากนี้ หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ยังให้ความเห็นว่าอาจเป็นอุบัติเหตุโดยพระองค์เอง ดังที่กล่าวไว้ในในเอกสารความเห็นแย้ง[59] และกล่าวย้ำอีกครั้งในบทสัมภาษณ์ในอีกหลายปีให้หลัง[60]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ในเวลานั้น ได้แก่
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 8 มักจะเขียนสาเหตุของการสวรรคตไว้แต่เพียงสั้น ๆ ทำนองว่า "เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" หลายฉบับอาจระบุสาเหตุเพิ่มเติมด้วย ทำนองว่า "เป็นเพราะพระแสงปืนลั่นระหว่างทรงทำความสะอาดพระแสงปืน" เข้าใจว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการโต้เถียงกรณีสวรรคต
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีสวรรคตนี้แม้ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัดเจน จึงทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ซึ่งพยายามจะอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลักก็คือกรณีสวรรคตนี้ เป็นการปลงพระชนม์โดยบุคคลอื่น หรือรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำการอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง
สำหรับทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ก็จะต้องอธิบายประเด็นสำคัญให้ได้คือ ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต และประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ จำเลยที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่ากระทำความผิดนั้น แท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่
"ความจริงนั้น ผู้ที่ปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ไม่ใช่ปรีดี พนมยงค์ คน ๆ นั้นก็ยังมีชีวิตอยู่ แม้จะไม่ได้ตั้งใจปลงพระชนม์ก็ตาม" |
—สุลักษณ์ ศิวรักษ์, 2558[68] |
คำถามว่าใครเป็นผู้ปลงพระชนม์นั้นดูเหมือนจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ปรีดีและถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์พยายามปกปิดผลการสอบสวน แต่ถวัลย์เคยกล่าวกับเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย เอ็ดวิน เอฟ. สแตนตัน ว่า หลักฐานที่รวบรวมได้ระหว่างการสอบสวนนั้นบ่งชี้ไปที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช[69]
หลังรัฐประหารปี 2490 กลุ่มนิยมเจ้าเองยังต้องการหาประโยชน์จากกรณีดังกล่าวด้วย คือ ควง อภัยวงศ์, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชและหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเองก็คิดประกาศผลการสอบสวนเพื่อกำหนดทิศทางการเมืองในราชสำนักไทย ด้วยแผนยกพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตเป็นพระมหากษัตริย์แทนราชสกุลมหิดล[43]: 74
เดือนมิถุนายน 2499 สง่า เนื่องนิยมพูดไฮปาร์คที่สนามหลวง[70] มีคนตะโกนถามดาราที่แสดงอยู่ว่า ใครฆ่าในหลวงรัชกาลที่ 8 แล้วดาราผู้นั้นไม่ตอบ แต่ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งบอกใบ้แทน ต่อมาดาราผู้นั้นถูกจับกุม และพลตำรวจเอกเผ่าหนุนจนมีข่าวในหนังสือพิมพ์[1]: 62–3 เดือนพฤษภาคม 2500 ทูตสหราชอาณาจักรประจำสิงคโปร์ รายงานกลับประเทศว่า ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Observer ว่า "หากนักข่าวต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน [พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]"[71]
ในหนังสือ The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน ซึ่งเป็นแขกที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในช่วงระยะหนึ่ง ได้เขียนไว้ว่า สายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ (Tsuji Masanobu) ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง น่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ แต่ปัจจุบันมีหลักฐานที่ไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่า นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กับกรุงเทพเลย[72][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] ในขณะที่ในหลวงอานันทมหิดลได้ถูกปลงพระชนม์ ข้อสันนิษฐานนี้จึงตกไป
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
ข้อสังเกตคือ ระหว่างที่การสืบสวนโดยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กำลังคืบหน้านั้น คณะทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ก่อรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งให้ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง พล.ต.ต. พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) (พี่เขยของหม่อมราชวงศ์เสนีย์และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พรรคประชาธิปัตย์) อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ารับราชการ เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ นำไปสู่การจับกุมจำเลยทั้งสามในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพียง 12 วันหลังรัฐประหาร และหลังจากการจับกุมนั้น พระพินิจชนคดีก็ยังไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันในระยะเวลาสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดคือ 90 วัน รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจึงได้เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ขยายกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีสวรรคตได้เป็นพิเศษ ให้ศาลอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาได้หลายครั้ง รวมเวลาไม่เกิน 180 วัน[73]
แม้สังคมบางส่วนจะว่าปรีดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต แต่กรณีคดีของจำเลยทั้งสามที่ถูกประหารชีวิตไปก็ไม่เคยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่เลย ทั้งในกระบวนการยุติธรรมหรือการศึกษาหาความจริงใหม่ ทั้งที่ข้อกล่าวหาของจำเลยทั้งสามและปรีดีนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด (ข้อกล่าวหาคือ "ปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของจำเลยทั้งสาม")[74] และมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าอย่างน้อยหนึ่งในสามจำเลยน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์[73]
ทฤษฎีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงทำอัตวินิบาตกรรมนี้อธิบายประเด็นความขัดแย้งในราชสำนัก และมูลเหตุที่ทำให้ทรงตัดสินใจเช่นนั้น มีเอกสารสำคัญเสนออยู่คือ The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam โดย เรนย์ ครูเกอร์ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2507 หนังสือเล่มนี้มีการแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า กงจักรปีศาจ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) เคยเขียนวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ลงใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด รวมถึงวิจารณ์ปรีดีและผู้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากสุลักษณ์ยังเชื่อว่าปรีดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลงพระชนม์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในภายหลัง สุลักษณ์สารภาพว่า เขียนวิจารณ์ในครั้งนั้นเป็นเพราะเขาหลงเชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่อ และต่อมาเขาจึงไถ่บาปด้วยการเขียนหนังสือเกี่ยวกับปรีดี และต่อมามีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Powers That Be: Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy[75][74]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.