Remove ads
การพิชิตทางทหารของโปรตุเกส จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การพิชิตมะละกา (โปรตุเกส: conquista de Malaca; มลายู: Penaklukan Melaka) เกิดขึ้นเมื่ออาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ ผู้ว่าการอินเดียของโปรตุเกส พิชิตเมืองมะละกาใน ค.ศ. 1511
การพิชิตมะละกา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การล่าอาณานิคมของโปรตุเกสในนูซันตารา | |||||||
ภาพวาดมะละกาโดยชาวโปรตุเกสใน ค.ศ. 1511 หลังการพิชิตเพียงไม่นาน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
จักรวรรดิโปรตุเกส | รัฐสุลต่านมะละกา | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ | มะห์มุด ชาห์ | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหารโปรตุเกส 700 นาย[3] เรือใบคาราเวล 3 ลำ เรือแจวโบราณ 2 ลำ[4] |
ชาย 20,000 คน[5] ทหารปืนใหญ่ 2,000 หรือ 3,000 นาย[5] ช้างศึก 20 เชือก | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 28 นาย[6] | ไม่ทราบ |
เมืองท่ามะละกาควบคุมบริเวณช่องแคบมะละกาที่ซึ่งการค้าขายทางทะเลระหว่างประเทศจีนกับอินเดียกระจุกตัวหนาแน่น[7] การยึดครองมะละกาเป็นผลจากแผนของพระเจ้ามานูแวลที่ 1 แห่งโปรตุเกสซึ่งทรงหมายมั่นจะเอาชนะชาวกัสติยาในตะวันออกไกลมาตั้งแต่ ค.ศ. 1505 และโครงการวางรากฐานที่มั่นคงในอินเดียของโปรตุเกสร่วมกับฮอร์มุซ, กัว และเอเดนของอัลบูแกร์กึเอง เพื่อควบคุมการค้าขายและขัดขวางการขนส่งของมุสลิมในมหาสมุทรอินเดีย[8]
หลังออกเรือจากโคชินในเดือนเมษายน ค.ศ. 1511 แล้ว กองเรือโปรตุเกสจะไม่สามารถหันเรือกลับได้อีกเนื่องจากลมมรสุมพัดไปทางตรงข้าม หากภารกิจล้มเหลว ลูกเรือโปรตุเกสก็หมดหวังที่จะได้กำลังเสริมและจะไม่สามารถกลับไปยังฐานที่มั่นในอินเดียได้ นี่จึงเป็นการพิชิตดินแดนที่ไกลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติจนถึงสมัยนั้น[9]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.